Drug name: ยาขับปัสสาวะ
Description: ยาขับปัสสาวะ (Diuretics Drugs) คือ ยาที่ใช้ช่วยกระตุ้นการปัสสาวะ มีฤทธิ์ในการระบายของเหลวและโซเดียมส่วนเกินออกจากร่างกาย โดยตัวยาจะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของไตให้ขับโซเดียม ร่วมกับน้ำในร่างกายออกมาทางปัสสาวะ ทั้งนี้ ยาขับปัสสาวะมักใช้เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง แต่แพทย์อาจสั่งใช้กับผู้ป่วยโรคอื่น ๆ ด้วยในกรณีที่จำเป็น เช่น ภาวะบวมน้ำ หัวใจวาย ในบางกรณียาขับปัสสาวะยังนำไปใช้ในการป้องกัน หรือบรรเทาอาการอื่น ๆ ด้วย เช่น ตับวาย โรคไต นิ่วในไต เป็นต้น ยาขับปัสสาวะ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ เกี่ยวกับยาขับปัสสาวะ คำเตือนการใช้ยาขับปัสสาวะ ปริมาณการใช้ยาขับปัสสาวะ ปริมาณการใช้ยาขับปัสสาวะแต่ละกลุ่มจะค่อนข้างแตกต่างกันไปตามชนิดของยา และจุดประสงค์ในการรักษา รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ เช่น สภาพร่างกายของผู้ป่วย และอายุของผู้ป่วย เป็นต้น ซึ่งในการใช้ยาผู้ป่วยจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือตามที่ระบุไว้บนฉลากอย่างเคร่งครัด เนื่องจากในบางกรณีการใช้ยาดังกล่าวอาจต้องใช้ร่วมกับยาอื่น ๆ เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย หากใช้ยามากหรือน้อยกว่าปริมาณที่แพทย์กำหนดอาจส่งผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ต่อผู้ป่วยได้ การใช้ยาขับปัสสาวะ ยาขับปัสสาวะเป็นยาที่ควรใช้ภายใต้คำสั่งของแพทย์เท่านั้น เนื่องจากยาชนิดนี้เป็นยาที่ส่งผลต่อสุขภาพค่อนข้างมาก ดังนั้น ก่อนเริ่มใช้ยาขับปัสสาวะ ผู้ป่วยจะต้องแจ้งแพทย์ถึงยาที่ผู้ป่วยใช้ ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์หรือยาที่ขายทั่วไป อาหารเสริม หรือสมุนไพร และหากมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบเพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ในระหว่างการใช้ยา แพทย์อาจมีการสั่งตรวจวัดระดับความดันโลหิต ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เพื่อวัดระดับแร่ธาตุในร่างกาย และการทำงานของไตอยู่อย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีโซเดียมต่ำ และลดปริมาณการบริโภคเกลือลงควบคู่กันไปด้วยเพื่อให้อาการดีขึ้น ขณะที่ยาขับปัสสาวะบางกลุ่ม อย่างเช่นยาขับปัสสาวะกลุ่มไธอะไซด์ไดยูเรติก และยาขับปัสสาวะกลุ่มลูปไดยูเรติก อาจส่งผลให้ระดับโพแทสเซียมในร่างกายลดลง ดังนั้นแพทย์อาจมีการแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่โพแทสเซียม หรืออาหารเสริมโพแทสเซียมเพื่อให้ร่างกายมีแร่ธาตุดังกล่าวในระดับที่ปกติ ส่วนผู้ป่วยที่ใช้ยาขับปัสสาวะในกลุ่มโพแทสเซียม-สแปริ่งไดยูเรติก ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับโพแทสเซียมมากจนเกินไป สำหรับการรับประทานยา หากผู้ป่วยต้องรับประทานเพียงวันละ 1 ครั้ง ก็ควรรับประทานยาในช่วงเช้า เพราะหากรับประทานในเวลากลางคืน หรือก่อนนอน ฤทธิ์ของยาอาจส่งผลให้ผู้ป่วยตื่นขึ้นมาปัสสาวะกลางดึกบ่อย ๆ และส่งผลถึงการนอนหลับได้ และควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือยาที่ช่วยในการนอนหลับ เพราะอาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึ่งประสงค์ได้ หากการใช้ยาขับปัสสาวะในการลดระดับความดันโลหิตแล้วยังได้ผลที่ไม่น่าพึงพอใจ อาจมีการใช้ยาอื่น ๆ รวมด้วย เช่นยาในกลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ (Calcium channel blockers) ยากลุ่มเอซีอีอินฮิบิเตอร์ (ACE inhibitors) ยาแองกิโอเทนซินรีเซพเตอร์บล็อกเกอร์ (Angiotensin Receptor Blockers - ARB) หรือยาเบตาบล็อกเกอร์ (Beta Blocker) เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง ผลข้างเคียงจากการใช้ยา ยาขับปัสสาวะเป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัยหากใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตาม ยาดังกล่าวอาจมีผลข้างเคียง ซึ่งได้แก่ ในบางรายอาจพบผลข้างเคียงที่รุนแรงและเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ ตัวอย่างเช่น เกิดอาการแพ้ยา ไตวาย หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งอาจนำมาสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงขึ้น ต้องรีบรักษาเป็นการด่วนเพื่อความปลอดภัย ดังนั้น หากพบอาการที่ผิดปกติในระหว่างการรักษาด้วยยาขับปัสสาวะ ผู้ป่วยควรรีบแจงแพทย์ทันที แพทย์จะได้พิจารณาเรื่องการใช้ และอาจมีการเปลี่ยนยา หรือเพิ่มยาเพื่อบรรเทาอาการผลข้างเคียงจากยา ทั้งนี้ ผู้ป่วยไม่ควรหยุดยาด้วยตัวเองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากแพทย์แม้ว่าจะมีผลข้างเคียงใด ๆ เกิดขึ้นกับร่างกาย เพราะอาจทำให้การรักษาไม่ต่อเนื่องและทรุดลงมากกว่าเดิมได้ ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับ :ยาขับปัสสาวะ
กลุ่มยา
ยาขับปัสสาวะ
ประเภทยา
ยาตามใบสั่งแพทย์
สรรพคุณ
ขับของเหลวและโซเดียมส่วนเกินออกจากร่างกาย
กลุ่มผู้ป่วย
เด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
รูปแบบของยา
ยาเม็ด ยาน้ำ ยาฉีด