Drug name: ramucirumab-รามูซิรูแมบ
Description: Ramucirumab (รามูซิรูแมบ) เป็นยารักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ และมะเร็งเซลล์ตับที่ลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ซึ่งตัวยาจะออกฤทธิ์ชะลอหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งภายในร่างกาย แพทย์มักใช้ยานี้ในกรณีที่รักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล โดยสามารถใช้เป็นยาเดี่ยวหรือใช้ร่วมกับยารักษามะเร็งชนิดอื่น และอาจนำมาใช้รักษาอาการอื่น ๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยา ผู้ป่วยควรระมัดระวังและปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ ปริมาณและระยะเวลาในการใช้ยาอาจแตกต่างกันไปตามโรคของผู้ป่วย โดยมีตัวอย่างการใช้ยา ดังนี้ ตัวอย่างการใช้ยา Ramucirumab เพื่อรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ผู้ใหญ่ ฉีดยาทางหลอดเลือดดำเพียงตัวเดียวหรือใช้ร่วมกับยาแพคลิแทกเซลเป็นรายสัปดาห์ในปริมาณ 8 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยค่อย ๆ ฉีดยาเข้าสู่หลอดเลือดดำนาน 60 นาทีขึ้นไป ทุก 2 สัปดาห์ จนกว่าจะพบการเปลี่ยนแปลงของโรคหรือหยุดใช้ยาเมื่อพบผลข้างเคียงที่รุนแรง ตัวอย่างการใช้ยา Ramucirumab เพื่อรักษาโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ผู้ใหญ่ ฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดดำปริมาณ 10 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยค่อย ๆ ฉีดยาเข้าสู่หลอดเลือดดำนาน 60 นาทีขึ้นไป ในวันที่ 1 ของรอบเคมีบำบัด 21 วัน แล้วจึงฉีดยาโดซีแทคเซลตามหลัง จนกว่าจะพบการเปลี่ยนแปลงของโรคหรือหยุดใช้ยาเมื่อพบผลข้างเคียงที่รุนแรง ตัวอย่างการใช้ยา Ramucirumab เพื่อรักษาโรคมะเร็งลำไส้ ผู้ใหญ่ ฉีดยาทางหลอดเลือดดำในปริมาณ 8 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยค่อย ๆ ฉีดยาเข้าสู่หลอดเลือดดำนาน 60 นาทีขึ้นไป ทุก 2 สัปดาห์ จนกว่าจะพบการเปลี่ยนแปลงของโรคหรือหยุดใช้ยาเมื่อพบผลข้างเคียงที่รุนแรง ตัวอย่างการใช้ยา Ramucirumab เพื่อรักษาโรคมะเร็งเซลล์ตับ ผู้ใหญ่ ฉีดยาทางหลอดเลือดดำในปริมาณ 8 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยค่อย ๆ ฉีดยาเข้าสู่หลอดเลือดดำนาน 60 นาทีขึ้นไป ทุก 2 สัปดาห์ จนกว่าจะพบการเปลี่ยนแปลงของโรคหรือหยุดใช้ยาเมื่อพบผลข้างเคียงที่รุนแรง วิธีการใช้ยาเพื่อความปลอดภัย มีดังนี้ ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Ramucirumab โดยทั่วไป ยารามูซิรูแมบอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น มีแผลหรือจุดสีขาวในปาก เหงือกบวมแดง มีปัญหาในการกลืนหรือการพูดคุย ปากแห้ง มีกลิ่นปาก รู้สึกเหนื่อยล้าหรืออ่อนแรง ท้องเสีย ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร เลือดกำเดาไหล ระดับเซลล์เม็ดเลือดขาวต่ำ ความดันโลหิตสูง เป็นต้น หากมีอาการแย่ลง ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันทีหากในระหว่างการฉีดยามีผลข้างเคียงเกิดขึ้น เช่น เวียนศีรษะคล้ายจะหมดสติ สั่น มีเหงื่อออก เจ็บหรือแน่นหน้าอก ปวดหลัง มีปัญหาในการหายใจ ชาหรือรู้สึกเหมือนมีของแหลมทิ่มแทง เป็นต้น ในกรณีที่มีอาการสั่น ปวดหลัง ปวดเกร็งหน้าท้อง แน่นหน้าอก หน้าแดง หัวใจเต้นเร็ว เวียนศีรษะ รู้สึกเหมือนมีเข็มทิ่มที่ผิวหนัง หรือผิวหนังหลังการฉีดยา ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเช่นกัน ทั้งนี้ ควรไปปรึกษาแพทย์ทันทีหากผู้ป่วยเกิดอาการรุนแรงหลังการฉีดยา ดังนี้ อย่างไรก็ตาม บางรายอาจไม่พบผลข้างเคียงหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย หากผู้ป่วยมีความกังวลใจ รวมทั้งพบผลข้างเคียงหรือความผิดปกติอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบด้วย ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับ :Ramucirumab (รามูซิรูแมบ)
เกี่ยวกับยา Ramucirumab
กลุ่มยา
ยาเคมีบำบัด
ประเภทยา
ยาตามใบสั่งแพทย์
สรรพคุณ
รักษามะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งเซลล์ตับ
กลุ่มผู้ป่วย
ผู้ใหญ่
รูปแบบของยา
ยาใช้ภายนอก ยาฉีดทางหลอดเลือดดำ
การใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์
Category D จากการศึกษาในมนุษย์ พบความเสี่ยงทำให้เกิดความผิดปกติ
ต่อทารกในครรภ์จะใช้ก็ต่อเมื่อพิจารณาแล้วว่าก่อให้เกิดประโยชน์ต่อ
มารดาและยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดต่อทารกในครรภ์ โดยมากมักใช้ใน
กรณีที่จำเป็นในการช่วยชีวิตหรือใช้รักษาโรคร้ายแรงของมารดา ซึ่งไม่
สามารถใช้ยาอื่น ๆ ทดแทนได้ และไม่ควรให้นมบุตรในขณะที่ใช้ยานี้คำเตือนในการใช้ยา Ramucirumab
ปริมาณการใช้ยา Ramucirumab
รักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
รักษาโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก
รักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
รักษาโรคมะเร็งเซลล์ตับ
การใช้ยา Ramucirumab