Drug name: ดูลากลูไทด์
Description: Dulaglutide (ดูลากลูไทด์) เป็นยารักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ออกฤทธิ์ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แพทย์มักให้ยานี้ในกรณีที่ยาชนิดอื่น ๆ ใช้ไม่ได้ผล ทั้งนี้ ไม่สามารถนำยาดูลากลูไทด์ มาใช้รักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ได้ อย่างไรก็ตาม แพทย์อาจใช้ยานี้ในการรักษาความผิดปกติอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ การใช้ยาดูลากลูไทด์มีข้อควรระวัง ดังนี้ ปริมาณการใช้ยาดูลากลูไทด์ อาจแตกต่างกันไปตามอาการของโรคและการใช้ชีวิตของผู้ป่วย ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้กำหนดปริมาณในการใช้ยา โดยมีตัวอย่างการใช้ยา ดังนี้ ตัวอย่างการใช้ยาดูลากลูไทด์ในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ผู้ใหญ่ ระยะแรกใช้ยาดูลากลูไทด์ ปริมาณ 0.75 มิลลิกรัมฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนึ่งครั้ง/สัปดาห์ หากค่าน้ำตาลในเลือดยังไม่ปกติ อาจเพิ่มปริมาณยาเป็น 1.5 มิลลิกรัม/สัปดาห์ ยาดูลากลูไทด์มีวิธีการใช้ ดังนี้ ยาดูลากลูไทด์อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ดังนี้ ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับ :Dulaglutide
เกี่ยวกับยา Dulaglutide
กลุ่มยา
ยาเบาหวาน (Antidiabetic Agents)
ประเภทยา
ยาตามใบสั่งแพทย์
สรรพคุณ
ใช้รักษาโรคเบาหวาน
กลุ่มผู้ป่วย
ผู้ใหญ่
รูปแบบของยา
ยาฉีด
การใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์
และผู้ให้นมบุตรCategory C จากการศึกษาในสัตว์พบว่า ทำให้เกิด
ความผิดปกติต่อตัวอ่อนในครรภ์สัตว์ แต่ไม่มีการศึกษาในมนุษย์
หรือไม่มีข้อมูลเพียงพอในการศึกษาทดลองในมนุษย์และสัตว์
ควรใช้ยาเมื่อพิจารณาแล้วว่า มีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อทารกในครรภ์ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่ายานี้สามารถส่งผ่านทางน้ำนมและเป็นอันตรายต่อทารกหรือไม่ดังนั้น ผู้ที่ตั้งครรภ์ กำลังวางแผนตั้งครรภ์ และผู้ที่กำลังให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยาคำเตือนในการใช้ยา Dulaglutide
ปริมาณการใช้ยา Dulaglutide
โรคเบาหวานชนิดที่ 2
การใช้ยา Dulaglutide
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Dulaglutide
ยานี้อาจมีผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า เบื่ออาหาร รู้สึกไม่สบาย ท้องเสีย อุจจาระบ่อย คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย อาหารขึ้นคอคล้ายอาเจียน ปวดท้อง หน้าท้องไวต่อสัมผัส เป็นต้น
ผลข้างเคียงจากยานี้ที่พบได้น้อย เช่น รู้สึกไม่สบายตัว ไม่มีแรง ปวดท้อง กรดในกระเพาะ กรดไหลย้อน อาหารไม่ย่อย แสบร้อนกลางอก เป็นต้น
ผลข้างเคียงที่พบได้ยากของยาดูลากลูไทด์ เช่น เลือดไหล เป็นแผล ผิวหนังเปลี่ยนสี ลมพิษ รู้สึกหนาว ติดเชื้อ อักเสบ ปวดตัว รู้สึกชา เป็นเหน็บ มีผื่น หรือรู้สึกอุ่นในผิวบริเวณที่ฉีด
อาการแพ้ยาจากยานี้ อาจพบได้ยาก แต่ถ้าหากเกิดอาการต่อไปนี้ให้นำตัวผู้ป่วยไปโรงพยาบาลทันที ได้แก่ อาการบวมบริเวณใบหน้า ริมฝีปาก ลำคอ ผื่นขึ้นตามร่างกาย ลมพิษ หายใจไม่ออก เป็นต้น
หากผู้ป่วยมีอาการปากแห้ง ปัสสาวะมากหรือน้อยผิดปกติ กระหายน้ำ เวียนศีรษะ หัวใจเต้นช้า เต้นเร็ว หรือเต้นผิดจังหวะ มีอาการของโรคไต อย่างปัสสาวะเปลี่ยนสีหรือปริมาณปัสสาวะที่มากหรือน้อยผิดปกติ อาเจียนหรือท้องเสียต่อเนื่อง ปวดท้องหรือปวดหลังอย่างรุนแรง สับสน ง่วงซึม ตัวแดง หายใจมีกลิ่นหวาน ให้นำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด