Drug name: acetylcysteine
Description: Acetylcysteine (อะเซทิลซิสเทอีน) คือ ยาขับเสมหะ หรือยาละลายเสมหะ ใช้รักษาอาการป่วยจากการรับประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายที่ตับ และรักษาภาวะอาการที่เกิดมูกเหลวเหนียวข้นขึ้นจนเกิดปัญหาการหายใจ จากภาวะหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะในระบบทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบ ถุงลมโป่งพอง ปอดบวม ปอดอักเสบ เป็นต้น โดยยาจะช่วยสลายมูกเหนียวข้นให้เจือจางลง เพื่อให้ระบบทางเดินหายใจขับมูกเสมหะเหล่านั้นออกมาได้ และช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้นในที่สุด ตัวอย่างปริมาณการใช้ยา Acetylcysteine เพื่อรักษาอาการจากการรับประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด ผู้ใหญ่ และเด็ก ตัวอย่างปริมาณการใช้ยา Acetylcysteine เพื่อลดภาวะเสมหะเหนียวข้น ยารับประทาน ผู้ป่วยต้องรับประทานอย่างต่อเนื่อง 5-10 วัน หรือ ตามที่แพทย์กำหนด การใช้ยา Acetylcysteine เพื่อป้องกันอาการป่วย และความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับตับจากการใช้ยาพาราเซตามอลเกินขนาด หรือเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับไตจากการใช้สารทึบรังสีช่วยในขั้นตอนการฉายภาพเอกซเรย์ หรือ CT scan แพทย์อาจจ่ายยาในรูปแบบยารับประทานหรือยาฉีดในปริมาณที่เหมาะสม ดังนั้น ผู้ป่วยต้องใช้ยาตามปริมาณและวิธีการที่แพทย์กำหนดเท่านั้น เพื่อป้องกันการเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายจากการใช้ยา เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้ยา ต้องสอบถามแพทย์ผู้ดูแลให้เข้าใจถี่ถ้วนก่อนเสมอ หากผู้ป่วยลืมรับประทานยาในรอบเวลาหนึ่ง ให้รับประทานยาทันทีที่นึกขึ้นได้ แต่หากใกล้ถึงช่วงเวลาในการรับประทานยารอบถัดไป ให้ข้ามยารอบนี้แล้วรับประทานยาของรอบใหม่แทน โดยใช้ยาตามปริมาณปกติ ไม่เพิ่มปริมาณยา ไม่รับประทานยาเกินประมาณที่กำหนดในแต่ละครั้ง หลังใช้ยาไปแล้ว หากเป็นไปได้ ผู้ป่วยควรพยายามไอเพื่อขับเสมหะเหลวที่อ่อนตัวลงหลังการใช้ยาออกมาจากร่างกาย หากผู้ป่วยไม่สามารถขับเสมหะออกมาได้ด้วยตนเอง อาจต้องใช้วิธีทางการแพทย์เพื่อดูดมูกเสมหะเหล่านั้นออกมา เพื่อป้องกันไม่ให้เสมหะข้นเหนียวก่อตัวอยู่ในปอดแล้วก่อปัญหาในระบบทางเดินหายใจ ส่วนการเก็บรักษายา ต้องใช้ยาทันทีที่เปิดบรรจุภัณฑ์ ไม่เปิดฝาขวดยาทิ้งไว้ เก็บบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิทไว้ในตู้เย็น แต่ต้องไม่แช่ยาในช่องแช่แข็ง โดยต้องเก็บยาไว้ในตำแหน่งที่พ้นจากมือเด็ก และกำจัดยาทิ้งไปหากเปิดฝาขวดยาทิ้งไว้กว่า 4 วัน หากยาหมดอายุ หรือเมื่อไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยาแล้ว นอกจากนี้ ในระหว่างที่ใช้ยา Acetylcysteine แพทย์อาจต้องตรวจเช็คอาการและผลข้างเคียงต่าง ๆ ทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด ผู้ป่วยควรให้ความร่วมมือกับแพทย์อยู่เสมอ หรือมาพบแพทย์ตามนัดหมาย ผู้ป่วยจำนวนมากไม่ได้เผชิญกับผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายจากการใช้ Acetylcysteine แต่อย่างใด หรืออาจพบผลข้างเคียงจากการใช้ยาเพียงเล็กน้อย โดยอาการที่เป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยานี้ที่อาจพบ ได้แก่ แม้อาจพบผลข้างเคียงเป็นอาการป่วยเพียงเล็กน้อยข้างต้น แต่หากอาการดังกล่าวไม่ทุเลาลง ยังคงป่วยอย่างต่อเนื่องเรื้อรัง หรือมีอาการที่รุนแรงขึ้น ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาอาการต่อไป ส่วนผลข้างเคียงที่พบได้น้อยมาก แต่มีความรุนแรง และผู้ป่วยควรขอความช่วยเหลือจากแพทย์ทันที เมื่อพบอาการดังต่อไปนี้ ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับ :Acetylcysteine (อะเซทิลซิสเทอีน)
กลุ่มยา
ยาละลายเสมหะ
ประเภทยา
ยาตามคำสั่งแพทย์
สรรพคุณ
ละลายเสมหะ สลายมูกเหนียวข้นให้เบาบางลง
กลุ่มผู้ป่วย
เด็กและผู้ใหญ่
รูปแบบของยา
ยาฉีดเข้าเส้นเลือด ยารับประทาน
เกี่ยวกับ Acetylcysteine
ปริมาณการใช้ยา Acetylcysteine
การใช้ยา Acetylcysteine
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Acetylcysteine