Drug name: gabapentin-กาบาเพนติน
Description: กาบาเพนติน (Gabapentin) เป็นยารักษาอาการชัก ปลายประสาทอักเสบจากโรคงูสวัด และกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless Legs Syndrome) โดยตัวยาจะเข้าไปจับกับตัวรับที่อยู่ในสารสื่อประสาท ทำให้อาการชักค่อย ๆ ทุเลาลง ซึ่งยานี้ต้องใช้ภายใต้คำสั่งและดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยา ผู้ป่วยควรระมัดระวังและปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ ปริมาณและระยะเวลาในการใช้ยาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา โดยมีตัวอย่างการใช้ยา ดังนี้ เด็กอายุ 12 ปี ขึ้นไปและผู้ใหญ่ สำหรับการรักษาเดี่ยวหรือการรักษาเสริม ให้เริ่มรับประทานยาความเข้มข้นตามที่แพทย์แนะนำ ในวันที่ 1 ปริมาณ 300 มิลลิกรัม 1 ครั้ง/วัน วันที่ 2 ปริมาณ 300 มิลลิกรัม 2 ครั้ง/วัน และวันที่ 3 ปริมาณ 300 มิลลิกรัม 3 ครั้ง/วัน หรือรับประทานยาในวันที่ 1 ปริมาณ 300 มิลลิกรัม 3 ครั้ง/วัน จากนั้นเพิ่มปริมาณยาอีก 300 มิลลิกรัม ทุก 2–3 วันตามการตอบสนองและความทนต่อยาของผู้ป่วย ปริมาณยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาหรือควบคุมอาการจะอยู่ที่วันละ 900–3,600 มิลลิกรัม โดยระยะห่างของการรับประทานยาแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 12 ชั่วโมง เด็กอายุ 3–11 ปี สำหรับการรักษาเสริม ให้เริ่มรับประทานยาในปริมาณ 10–15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน แบ่งรับประทาน 3 ครั้ง/วัน โดยปรับความเข้มข้นของยาประมาณ 3 วันจนได้ปริมาณยาที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม ปริมาณยาต่อเนื่องสำหรับเด็กอายุ 3–4 ปี จะอยู่ที่ 40 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน แบ่งรับประทาน 3 ครั้ง/วัน ส่วนเด็กอายุ 5–11 ปี จะอยู่ที่ 25–35 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน แบ่งรับประทาน 3 ครั้งต่อวัน ปริมาณยาสูงสุดไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน ผู้ใหญ่ เริ่มรับประทานยาความเข้มข้นตามที่แพทย์แนะนำ ในวันที่ 1 ปริมาณ 300 มิลลิกรัม 1 ครั้ง/วัน วันที่ 2 ปริมาณ 300 มิลลิกรัม 2 ครั้ง/วัน และวันที่ 3 ปริมาณ 300 มิลลิกรัม 3 ครั้ง/วัน หรืออาจเริ่มรับประทานยาในปริมาณ 900 มิลลิกรัม แบ่งรับประทาน 3 ครั้ง/วัน จากนั้นเพิ่มปริมาณยาอีก 300 มิลลิกรัม ทุก 2–3 วันตามการตอบสนองและความทนต่อยาของผู้ป่วย ปริมาณยาสูงสุดไม่เกิน 3,600 มิลลิกรัม/วัน ผู้ใหญ่ เริ่มรับประทานยาชนิดเพิ่มระยะเวลาคงอยู่ในกระเพาะอาหารความเข้มข้นตามที่แพทย์แนะนำ ในวันที่ 1 ปริมาณ 300 มิลลิกรัม 1 ครั้ง/วัน วันที่ 2 ปริมาณ 600 มิลลิกรัม 1 ครั้ง/วัน วันที่ 3–6 ปริมาณ 900 มิลลิกรัม 1 ครั้ง/วัน วันที่ 7–10 ปริมาณ 1,200 มิลลิกรัม 1 ครั้ง/วัน วันที่ 11–14 ปริมาณ 1,500 มิลลิกรัม 1 ครั้ง/วัน และวันที่ 15 ปริมาณ 1,800 มิลลิกรัม 1 ครั้ง/วัน ผู้ใหญ่ รับประทานยาในปริมาณ 600 มิลลิกรัม 1 ครั้ง/วัน ผู้ป่วยควรใช้ยา Gabapentin ภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่ปรับปริมาณยาหรือระยะเวลาในการใช้ยาด้วยตนเอง และในระหว่างการใช้จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ด้วย เนื่องจากยาดังกล่าวอาจส่งผลต่อสุขภาพจิต ทำให้อารมณ์เปลี่ยนแปลง หรือก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ ห้ามผู้ป่วยโรคลมชักหยุดยาโดยพลการ แม้ว่าอาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม เพราะการหยุดยาจะทำให้อาการชักเพิ่มขึ้น และควรพกเอกสารสำคัญเช่นบัตรประชาชนหรือเอกสารที่ระบุหมายเลขติดต่อฉุกเฉินเมื่ออาการกำเริบ ในกรณีที่อาการชักกำเริบ ผู้เข้าช่วยเหลือจะได้รับมืออย่างทันท่วงที หากผู้ป่วยลืมรับประทานยา ให้รับประทานทันทีที่นึกขึ้นได้ หากใกล้ถึงช่วงเวลาของยารอบถัดไป ให้ข้ามไปรับประทานยาตามเวลาปกติโดยไม่เพิ่มปริมาณยาเป็นสองเท่า และควรรีบไปพบแพทย์ทันทีหากใช้ยาเกินปริมาณที่กำหนดและเกิดอาการที่รุนแรงตามมา หากผู้ป่วยกำลังใช้ยาที่แพทย์สั่งจ่าย ยาหาซื้อได้เอง วิตามิน สมุนไพรบางชนิด และผลิตภัณฑ์ใด ๆ อยู่ ควรแจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบก่อนเสมอ เนื่องจากยา Gabapentin อาจทำปฏิกิริยากับยาหรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จนทำให้ยามีประสิทธิภาพลดลงหรือก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์อย่างง่วงซึม เวียนศีรษะ หรือหายใจช้ากว่าปกติ ยกตัวอย่างเช่น นอกจากนี้ควรรับประทานยาลดกรดก่อนยา Gabapentin อย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพราะยาลดกรดอาจขัดขวางการดูดซึมยานี้ ทำให้ดูดซึมยานี้เข้าสู่ร่างกายได้ลดลง ยา Gabapentin อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงค่อนข้างมาก ซึ่งผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยมักเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับพฤติกรรมและสุขภาพจิต เช่น มึนงง กรอกตาผิดปกติ ตาพร่ามัว มีพฤติกรรมก้าวร้าว วิตกกังวล ซึมเศร้า มีปัญหาเรื่องการควบคุมสมาธิ อารมณ์แปรปรวน ขาดความเชื่อมั่น ร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ หรือไม่อยากมีชีวิตอยู่ โดยอาการเหล่านี้เป็นอาการที่ญาติหรือผู้ดูแลควรสังเกตอย่างใกล้ชิด เพราะหากเกิดขึ้นติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจกลายเป็นปัญหาสุขภาพจิตระยะยาว อย่างไรก็ตาม หากเกิดอาการข้างเคียงที่พบได้ไม่บ่อยหลังการใช้ยา เช่น ไอ หนาวสั่น เจ็บหน้าอก เป็นไข้ แขนและขาบวม สับสน หายใจถี่ เจ็บคอ มีจ้ำเลือดผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ หรืออ่อนเพลียมากผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วนเพื่อไม่ให้อาการรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับ :กาบาเพนติน (Gabapentin)
เกี่ยวกับยา Gabapentin
กลุ่มยา
ยากันชัก (Anticonvulsant)
ประเภทยา
ยาตามใบสั่งแพทย์
สรรพคุณ
รักษาอาการชัก ปลายประสาทอักเสบจากงูสวัด และกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข
กลุ่มผู้ป่วย
เด็ก ผู้ใหญ่
การใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์และผู้ให้นมบุตร
ปัจจุบันยากาบาเพนตินยังไม่มีการระบุหมวดหมู่สำหรับการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์และผู้ให้นมบุตร เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลด้านความปลอดภัยและความเสี่ยงในระหว่างตั้งครรภ์ที่เพียงพอ ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์และผู้ให้นมบุตรควรปรึกษาแพทย์ถึงประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยา เพราะตัวยาอาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์และทารกหลังคลอดได้
รูปแบบของยา
ยาชนิดรับประทาน
คำเตือนของการใช้ยา Gabapentin
ปริมาณการใช้ยา Gabapentin
โรคลมชัก
ตัวอย่างการใช้ยา Gabapentin เพื่อรักษาโรคลมชัก อาการปวดปลายประสาท
ตัวอย่างการใช้ยา Gabapentin เพื่อรักษาอาการปวดปลายประสาทหลังจากโรคเบาหวาน โรคงูสวัด หรือโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า (Trigeminal Neuralgia)อาการปวดปลายประสาทจากโรคงูสวัด
ตัวอย่างการใช้ยา Gabapentin เพื่อรักษาอาการปวดปลายประสาทจากโรคงูสวัด กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข
ตัวอย่างการใช้ยา Gabapentin เพื่อรักษากลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขการใช้ยา Gabapentin
ปฏิกิริยาระหว่างยา Gabapentin กับยาอื่น
ผลข้างเคียงของยา Gabapentin