Drug name: โทบรามัยซิน
Description: Tobramycin (โทบรามัยซิน) เป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคซิสติกไฟโบรซิส ภาวะทางเดินปัสสาวะอักเสบ ภาวะติดเชื้อในดวงตา เป็นต้น โทบรามัยซินมีรูปแบบการใช้ที่หลากหลาย อย่างยาสูดพ่น ยาฉีด และยาหยอดตา ซึ่งการนำไปใช้ขึ้นอยู่กับโรคที่ต้องการรักษา อย่างไรก็ตาม การยาปฏิชีวนะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ผู้ป่วยจึงควรใช้ยาตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ แพทย์อาจใช้ยานี้ในการรักษาโรคอื่น ๆ ได้ตามดุลยพินิจของแพทย์ การใช้ยา Tobramycin มีข้อควรระวังที่ควรศึกษาก่อนการใช้ยา ดังนี้ รูปแบบและปริมาณของยาที่ใช้ในการรักษานั้นอาจมีความแตกต่างกันไปตามชนิดของโรคและดุลยพินิจของแพทย์ โดยยาโทบรามัยซินมีตัวอย่างการใช้ ดังนี้ ผู้ใหญ่ ใช้ยาโทบรามัยซินรูปแบบสูดพ่นผ่านเครื่องพ่นยา (Nebulizer) ปริมาณ 300 มิลลิกรัมทุก 12 ชั่วโมงต่อเนื่องกัน 28 วัน จากนั้นเว้นการใช้ยา 28 วัน โดยอาจกลับมาใช้ยาในรูปแบบเดิมอีกครั้งหากจำเป็น ตัวอย่างการใช้ยา Tobramycin เพื่อรักษาภาวะทางเดินปัสสาวะอักเสบระดับไม่รุนแรงจนถึงระดับกลาง มีดังนี้ ผู้ใหญ่ ใช้ยาโทบรามัยซิน ปริมาณ 2-3 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 1 ครั้ง ตัวอย่างการใช้ยา Tobramycin เพื่อรักษาการติดเชื้อของกระเพาะอาหาร กระดูกและข้อต่อ ผิวหนังและเนื้อเยื่ออ่อน ระบบประสาทส่วนกลาง และระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง มีดังนี้ ผู้ใหญ่ ให้ยาโทบรามัยซิน ปริมาณ 3-5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวผ่านการหยดยา (Infusion) เข้าสู่หลอดเลือดดำ โดยแบ่งการให้เป็น 3-4 ครั้งต่อวัน ครั้งละ 20-60 นาที ระยะเวลาการรักษาโดยทั่วไปอยู่ที่ 7-10 วัน เด็ก ให้ยาโทบรามัยซิน ปริมาณ 6-7.5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวผ่านการหยดยาเข้าสู่หลอดเลือดดำ โดยแบ่งการให้เป็น 3-4 ครั้งต่อวัน ระยะเวลาการรักษาโดยทั่วไปอยู่ที่ 7-10 วัน ในกรณีที่รักษาเด็กทารก ให้ยา Tobramycin ปริมาณ 4 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว และแบ่งการให้เป็น 2 ครั้งต่อวัน ตัวอย่างการใช้ยา Tobramycin เพื่อรักษาการติดเชื้อในดวงตา มีดังนี้ ผู้ใหญ่ ใช้ยาโทบรามัยซินรูปแบบยาหยอดตาความเข้มข้น 0.3 เปอร์เซ็นต์ 1 หยดหยอดลงในดวงตาที่มีการติดเชื้อ 2 ครั้งต่อวัน หากอาการติดเชื้อรุนแรง วันแรกของการใช้ให้เพิ่มจำนวนการหยอดเป็น 4 ครั้ง และปรับเหลือ 2 ครั้งต่อวันในวันถัด ๆ ไป หากใช้ยาโทบรามัยซินรูปแบบขี้ผึ้งความเข้มข้น 0.3 เปอร์เซ็นต์ บีบยาเป็นแนวยาวประมาณ 0.5 นิ้ว บริเวณด้านในหนังตาล่างของดวงตาข้างที่ติดเชื้อ 2-3 ครั้งต่อวัน หากการติดเชื้อรุนแรงอาจทายาดังกล่าวทุก 3-4 ชั่วโมง ยาโทบรามัยซินมีวิธีการใช้ ดังนี้ ยาโทบรามัยซินอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ โดยอาจแบ่งตามรูปแบบของยา ดังนี้ ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปจากการสูดพ่นยาโทบรามัยซิน เช่น เลือดกำเดาไหล เป็นไข้ หายใจลำบาก น้ำมูกเปลี่ยนสี เสียงเปลี่ยน จาม และคัดจมูก เป็นต้น นอกจากนี้ ยังอาจเกิดผลข้างเคียงอื่นซึ่งพบได้น้อย อย่างเจ็บหน้าอก สั่น มีปัญหาทางการได้ยิน มีเสียงในหู ต่อมน้ำเหลืองโต เจ็บคอ เหนื่อยล้า ไม่มีแรง แผลในปาก มีเลือดออกหรือรอยช้ำโดยไม่ทราบสาเหตุ ยาโทบรามัยซินรูปแบบฉีดอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง เบื่ออาหาร ปวดบริเวณที่ฉีดยา หากอาการเหล่านี้รุนแรงขึ้นหรือไม่หายควรแจ้งเภสัชกร แต่ถ้าเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เช่น รู้สึกชา เป็นเหน็บ กล้ามกระตุก กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือมีอาการชัก ควรพาผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที การใช้ยารูปแบบนี้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง อย่างระคายเคืองตา น้ำตาไหล ตาแดง คันเปลือกตา ซึ่งหากอาการเหล่านี้รุนแรงขึ้นหรือไม่หายควรไปพบแพทย์ นอกจากนี้ การใช้ยา Tobramycin หยอดตาเป็นเวลานานยังอาจทำให้เกิดเชื้อราในดวงตาได้ จึงไม่ควรใช้ยาเกินระยะเวลาที่แพทย์สั่ง อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของผลข้างเคียงของยา Tobramycin ดังนั้น หากมีอาการอื่น ๆ เกิดขึ้นหลังจากการใช้ยา ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบ นอกจากนี้ ยาโทบรามัยซินก็อาจทำให้เกิดอาการแพ้ยา อย่างผื่นแดงคัน อาการบวมตามใบหน้า ปาก ลำคอ เวียนศีรษะอย่างรุนแรง หรือหายใจลำบาก แม้ว่าอาการเหล่านี้อาจพบได้น้อย แต่หากเกิดขึ้นควรไปพบแพทย์ทันที ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับ :Tobramycin
เกี่ยวกับยา Tobramycin
กลุ่มยา
ยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycosides)
ประเภทยา
ยาตามใบสั่งแพทย์
สรรพคุณ
ใช้รักษาโรคซิสติกไฟโบรซิส ภาวะทางเดินปัสสาวะอักเสบ และโรคติดเชื้ออื่น ๆ
กลุ่มผู้ป่วย
เด็ก ผู้ใหญ่
รูปแบบของยา
ยาฉีดพ่น ยาฉีด ยาหยอดตา
การใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์
ยาพ่นและยาฉีด Category D จากการศึกษาในมนุษย์ พบความเสี่ยง
ทำให้เกิดความผิดปกติต่อทารกในครรภ์ จะใช้ก็ต่อเมื่อพิจารณาแล้วว่า
ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมารดาและยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดต่อทารก
ในครรภ์ โดยมากมักใช้ในกรณีที่จำเป็นในการช่วยชีวิต หรือใช้รักษา
โรคร้ายแรงของมารดา ซึ่งไม่สามารถใช้ยาอื่น ๆ ทดแทนได้ยาหยอดตา Category B จากการศึกษาในสัตว์ ไม่พบความเสี่ยงใน
การทำให้เกิดความผิดปกติของตัวอ่อนในครรภ์สัตว์ แต่ไม่มีการศึกษา
ในมนุษย์หรืออาจพบผลไม่พึงประสงค์ในสัตว์ และยังไม่พบความเสี่ยง
ในมนุษย์เมื่อใช้ในช่วงสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ รวมทั้งไม่มี
หลักฐานทางการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่ามีความเสี่ยงเมื่อใช้ในช่วงหลัง
เดือนที่สามเป็นต้นไปคำเตือนในการใช้ยา Tobramycin
ปริมาณการใช้ยา Tobramycin
โรคซิสติกไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis)
ตัวอย่างการใช้ยา Tobramycin เพื่อรักษาการติดเชื้อในปอดที่เกิดจากโรคซิสติกไฟโบรซิส มีดังนี้ภาวะทางเดินปัสสาวะอักเสบ
โรคติดเชื้ออื่น ๆ
การติดเชื้อในดวงตา
การใช้ยา Tobramycin
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Tobramycin
ยารูปแบบสูดพ่น
ยารูปแบบฉีด
บางกรณี ยาโทบรามัยซินอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ในช่วงหลังจากการใช้ยา และหากมีอาการปวดท้อง ท้องเสียต่อเนื่อง หรืออุจจาระปนเลือด ควรไปพบแพทย์ทันที นอกจากนี้ การใช้ยานี้ในระยะยาวอาจทำให้เกิดโรคเชื้อราในช่องปากได้ยารูปแบบยาหยอดตาและขี้ผึ้ง