Drug name: glipizide

Description:

Glipizide (ไกลพิไซด์)

Glipizide (ไกลพิไซด์)

Share:

Glipizide (ไกลพิไซด์) คือ ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ใช้ในการรักษาอาการผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดนี้ที่ 2 โดยกลไกในการทำงานคือช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดทำให้ตับอ่อนสามารถสร้างอินซูลินได้มากขึ้น ซึ่งยาชนิดนี้แพทย์จะต้องเป็นผู้สั่งใช้เท่านั้น เนื่องจากเป็นยาที่ใช้รักษาเฉพาะโรค

เกี่ยวกับยา Glipizide

กลุ่มยา ยารักษาโรคเบาหวาน
ประเภทยา ยาตามใบสั่งแพทย์ 
สรรพคุณ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2
กลุ่มผู้ป่วย ผู้ใหญ่
รูปแบบของยา ยาเม็ด

คำเตือนเกี่ยวกับการใช้ยา Glipizide

  • ผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยา หรือผู้ที่มีภาวะกรดในเลือดสูง (Diabetic Ketoacidosis) ห้ามใช้ยาดังกล่าว
  • ผู้ที่มีโรคอื่น ๆ เช่น โรคตับ โรคไต มีประวัติโรคหัวใจ หรือเป็นโรคพร่องเอ็นไซม์จีซิกซ์พีดี (Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase Deficiency: G6PD) ควรแจ้งแพทย์ก่อนใช้ยานี้
  • ผู้ที่มีความผิดปกติของต่อมใต้สมอง และหรือต่อมหมวกไตควรปรึกษาแพทย์ก่อนได้รับยานี้
  • ผู้ที่มีภาวะขาดสารอาหารไม่ควรใช้ยานี้
  • ยา Glipizide อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงโรคหัวใจได้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยานี้ถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจได้รับหากรับประทานยาดังกล่าวในระยะยาว
  • สตรีมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรไม่ควรใช้ยาดังกล่าว เพราะอาจตัวยาอาจส่งผลต่อทารกหากจำเป็นต้องใช้ควรปรึกษาแพทย์ก่อน

ปริมาณการใช้ยา Glipizide

  • เบื้องต้นรับประทานวันละ 2.5-5 มิลลิกรัมต่อวัน 1 ครั้ง สามารปรับเพิ่มขนาดของยาได้ตามปริมาณน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย โดยในช่วงเวลาที่ปรับยาควรปรับเพิ่มขึ้นวันละ 2.5-5 มิลลิกรัมเท่านั้น หากปริมาณยาต่อวันมากกว่า 15 มิลลิกรัม ควรแบ่งการรับประทานเป็น 2 ครั้ง ผู้ป่วยไม่ควรรับประทานเกินวันละ 40 มิลลิกรัม

การใช้ยา Glipizide

ยา Glipizide เป็นยาที่ใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และต้องใช้ตามใบสั่งแพทย์เท่านั้น โดยในการใช้ยาแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาปริมาณของยาเพื่อให้เหมาะสมกับการรักษามากที่สุด ผู้ป่วยห้ามเพิ่มหรือลดปริมาณยาด้วยตัวเองเด็ดขาด

ในการรับประทานยาดังกล่าว ผู้ป่วยควรรับประทานยาก่อนรับประทานอาหาร 30 นาที แต่หากรับประทานยาแค่เพียงวันละ 1 ครั้ง ผู้ป่วยควรรับประทานยาก่อนอาหารเช้า 30 นาที และหากเป็นยาชนิดออกฤทธิ์เร็ว ห้ามหัก กัด หรือแบ่งยาโดยเด็ดขาดเพราะจะทำให้ประสิทธิภาพของยาเสื่อมลง

ผู้ป่วยที่ใช้ยาดังกล่าวควรสังเกตอาการของตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพราะผู้ป่วยอาจเกิดอาการน้ำตาลในเลือดต่ำได้ จึงควรพกของหวานเช่น ลูกอม น้ำผลไม้ ผลไม้อบแห้งติดตัวไว้เสมอ เพื่อเป็นตัวช่วยในการเพิ่มน้ำตาลหากเกิดอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โดยผู้ป่วยสามารถสังเกตได้ว่า ถ้าผู้ป่วยมีอาการ ปวดศีรษะ หิว เหงื่อออกมาก รู้สึกมึนงง หงุดหงิด เวียนศีรษะ หรือมีอาการตัวสั่น นั่นแปลว่าผู้ป่วยมีอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

ทว่าผู้ป่วยต้องระมัดระวังเกี่ยวกับภาวะน้ำตาลในเลือดสูงด้วยเช่นกัน โดยสามารถสังเกตได้จากอาการ กระหายน้ำผิดปกติ ปัสสาวะบ่อย หิว ปากแห้ง ลมหารใจมีกลิ่นเหมือนผลไม้ รู้สึกง่วง ผิวแห้ง มองไม่เห็น หรือน้ำหนักลด เป็นต้น

สำหรับสตรีมีครรภ์หรือวางแผนว่าจะตั้งครรภ์ ไม่ควรใช้ยาดังกล่าวโดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน เนื่องจากยาชนิดนี้อาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ ทำให้เกิดมามีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอย่างรุนแรงได้ดังนั้น หากจำเป็นต้องใช้ยาดังกล่าว ผู้ป่วยควรได้รับทราบถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่จะได้รับจาากการใช้ยาชนิดนี้อย่างเพียงพอเพื่อตัดสินใจร่วมกับแพทย์

สตรีที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาดังกล่าว เนื่องจากยาชนิดนี้อาจเจือปนไปในน้ำนมได้ แม้จะเป็นในปริมาณที่น้อย แต่หากต้องใช้ยาดังกล่าว มารดาควรดูแล และติดตามระดับน้ำตาลในเลือดของเด็กอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้ตัวยาที่อาจเจือปนไปทำให้ทารกเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

ผลข้างเคียงในการใช้ยา Glipizide

ยา Glipizide เป็นยาที่มีผลข้างเคียง โดยผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปในการใช้ยานี้ได้แก่ อาการคลื่นไส้เล็กน้อย ท้องเสีย ท้องผูก วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด มีผื่นแดงตามผิวหนัง เป็นต้น

ทว่าหากผู้ป่วยมีอาการแพ้ยาดังกล่าว ควรรีบแจ้งหน่วยแพทย์ฉุกเฉินทันทีเพื่อความปลอดภัย เนื่องจากหากปล่อยไว้อาจเป็นอันตรายได้ ทั้งนี้สัญญาณของการแพ้ยา Glipizide ได้แก่ มีผื่นลมพิษ หายใจลำบาก มีอาการบวมบริเวณใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้นและคอ นอกจากนี้ หากผู้ป่วยมีอาการอื่น ๆ เช่น

  • มีรอยฟกช้ำ เลือดออกง่าย มีอาการเหนื่อย หายใจสั้นและหัวใจเต้นเร็ว
  • คลื่นไส้ ปวดท้องส่วนบน มีอาการคัน ความอยากอาหารลดลง ปัสสาวะมีสีเข้ม อุจจาระมีสีโคลน และตัวเหลือง
  • ตัวซีด มีไข้ มีอาการมึนงง
  • ปวดศีรษะตุบๆ คลื่นไส้อย่างรุนแรง และอาเจียน หายใจเต้นแรงและเร็ว มีอาการเหงื่อออกและกระหายน้ำ หรือมีความรู้สึกเหมือนจะหมดสติ

หากมีอาการเหล่านี้ผู้ป่วยควรติดต่อหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน หรือไปยังสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับ :

  • Acanthosis Nigricans (รอยดำบริเวณข้อพับ)
  • Infective Endocarditis
  • PDA (Patent Ductus Arteriosus)