Drug name: ยาแก้ไอ
Description: ยาแก้ไอ เป็นกลุ่มยาที่ใช้รักษาและระงับอาการไอ ซึ่งเป็นอาการที่ร่างกายตอบสนองต่อสิ่งที่ก่อให้เกิดความระคายเคืองภายในระบบทางเดินหายใจ ยาแก้ไอแบ่งตามการรักษา ได้แก่ กลุ่มยารักษาอาการไอแบบแห้ง ๆ ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายได้รับสารหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไป เช่น ฝุ่น ควัน สารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ และกลุ่มยารักษาอาการไอแบบมีเสมหะ ซึ่งเกิดจากภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ จนก่อให้เกิดเสมหะเหนียวข้นขึ้นภายใน โดยทั่วไป ยาแก้ไอแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ กลุ่มยาระงับอาการไอ หรือ ยากดอาการไอ (Antitussives หรือ Cough Suppressants) คาดว่ายาชนิดนี้อาจทำงานโดยการยับยั้งการทำงานของสมองส่วนที่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นจนทำให้เกิดการไอ แต่กลไกที่แท้จริงในการออกฤทธิ์ของยากลุ่มนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัด โดยยาจะมีผลรักษาอาการไอแห้ง ๆ ไม่ควรใช้ในอาการไอแบบมีเสมหะ เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้ ตัวอย่างยาที่ใช้ในกลุ่มนี้ ได้แก่ เด็กซ์โทรเมทอร์แฟน และโคเดอีน กลุ่มยาขับเสมหะ หรือ ยาละลายเสมหะ (Expectorants) ตัวยาจะเพิ่มสารคัดหลั่งที่ช่วยหล่อลื่นเสมหะข้นเหนียวให้เบาบางลง จนผู้ป่วยสามารถขับเสมหะออกไปจากร่างกายได้ด้วยการไอ มักใช้รักษาผู้ป่วยไข้หวัด หลอดลมอักเสบ หรืออาการป่วยในระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างยาที่ใช้ในกลุ่มนี้ เช่น ไกวอะเฟนิซิน และบรอมเฮกซีน เป็นต้น ส่วนกลุ่มยาอื่น ๆ ที่อาจถูกนำมาใช้เพื่อรักษาอาการไอด้วย คือ กลุ่มยาต้านฮิสตามีน (Antihistamines) เมื่อมีสารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกาย จะเกิดการหลั่งฮิสตามีนที่ทำให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่าง ๆ ยากลุ่มนี้จะยับยั้งการหลั่งสารฮิสตามีน ซึ่งช่วยระงับและบรรเทาการเกิดอาการแพ้ต่าง ๆ รวมถึงอาการไอเนื่องจากการระคายเคืองในลำคอ ตัวอย่างยาที่ใช้ในกลุ่มนี้ เช่น ไดเฟนไฮดรามีน บรอมเฟนิรามีน โพรเมทาซีน คลอเฟนิรามีน เป็นต้น กลุ่มยาแก้คัดจมูก (Decongestants) ช่วยลดอาการอักเสบบวมภายในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการไอได้ มักใช้ในผู้ที่ป่วยเป็นไข้หวัด เยื่อจมูกอักเสบ ไซนัสอักเสบ หรือมีอาการภูมิแพ้ต่าง ๆ ตัวอย่างยาที่ใช้ในกลุ่มนี้ เช่น เอฟีดรีน ซูโดอีเฟดรีน อ๊อกซิเมตาโซลีน ไซโลเมตาโซลีน เป็นต้น นอกจากนี้ อาจมีการใช้ยาแก้ไอบางชนิดที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ หรืออาจใช้สารชนิดอื่น ๆ เพื่อช่วยหล่อลื่นภายในลำคอ และอาจช่วยลดการไอได้ ซึ่งผู้ป่วยหาซื้อเพื่อใช้รักษาและบรรเทาอาการเองได้ที่บ้านภายใต้คำแนะนำของเภสัชกร เช่น ยาที่มีส่วนประกอบของน้ำผึ้ง มะนาว และสารกลีเซอริน คำเตือน และ ข้อควรระวังในการใช้ยา ยาแต่ละชนิดในกลุ่มยาแต่ละประเภท ล้วนมีข้อบ่งชี้ ข้อควรระวังในการใช้ยา และส่วนประกอบในยาที่แตกต่างกันไป ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงอาการป่วย ประวัติการใช้ยา และประวัติทางการแพทย์ รวมทั้งศึกษาวิธีการใช้ยาทุกชนิดจากแพทย์และเภสัชกรให้ดีก่อนการใช้ยาเสมอ ตัวอย่างข้อควรระวังในการใช้ยาแต่ละกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มยาระงับอาการไอ หรือ ยากดอาการไอ กลุ่มยาขับเสมหะ หรือ ยาละลายเสมหะ กลุ่มยาต้านฮิสตามีน กลุ่มยาแก้คัดจมูก ผลข้างเคียงจากการใช้ยา เนื่องจากยาแต่ละชนิดล้วนมีส่วนประกอบที่แตกต่างกัน จึงอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่แตกต่างกันไปด้วย ผู้ป่วยควรสังเกตอาการที่เกิดขึ้นหลังการใช้ยา ปรึกษาแพทย์เมื่อมีข้อสงสัย ไปพบแพทย์หากอาการป่วยไม่ทุเลาลง ยังคงเป็นอย่างต่อเนื่อง หรือมีอาการป่วยที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ โดยตัวอย่างผลข้างเคียงที่อาจพบได้จากการใช้ยาแต่ละกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มยาระงับอาการไอ หรือ ยากดอาการไอ กลุ่มยาขับเสมหะ หรือ ยาละลายเสมหะ กลุ่มยาต้านฮิสตามีน กลุ่มยาแก้คัดจมูก หรือ ยาหดหลอดเลือด ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับ :ยาแก้ไอ