Drug name: แคลเซียม
Description: แคลเซียม (Calcium) เป็นแร่ธาตุสำคัญในการสร้างความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน จำเป็นต่อการทำงานของหัวใจ กล้ามเนื้อ และระบบประสาท หากร่างกายไม่ได้รับแคลเซียมเพียงพอ แคลเซียมในกระดูกจะถูกดึงมาใช้แทน ส่งผลให้กระดูกเปราะบางและอ่อนแอลง เกิดเป็นโรคกระดูกพรุนได้ แคลเซียมเสริมจำเป็นสำหรับหญิงตั้งครรภ์ แม่ที่ต้องให้นมลูก เด็ก วัยรุ่น และหญิงใกล้หมดประจำเดือนเพื่อป้องกันการขาดแคลเซียม นอกจากนี้ ผู้ที่ได้รับแคลเซียมจากอาหารในแต่ละวันไม่เพียงพอเป็นเวลานานหลายปีหรือเป็นโรคกระดูกพรุนและโรคกระดูกอื่น ๆ ก็สามารถรักษาได้ด้วยการให้รับประทานแคลเซียมเสริม ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้แคลเซียม เพื่อรับคำแนะนำการรับประทานที่ปลอดภัยและถูกต้อง โดยเฉพาะโรคต่าง ๆ ต่อไปนี้ ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวันเพื่อป้องกันการขาดแคลเซียมมีดังนี้ แพทย์จะสั่งจ่ายยาตามความรุนแรงในการขาดแคลเซียมของผู้ป่วย ซึ่งแคลเซียมแต่ละชนิดและแต่ละปริมาณประกอบด้วยสารแคลเซียมในปริมาณต่างกันไปดังนี้ การคำนวณปริมาณแคลเซียมที่ได้รับต่อวันทั้งหมดมาจากปริมาณแคลเซียมในอาหารทั้งหมดรวมกับปริมาณแคลเซียมที่ได้รับจากยา โดยแต่ละช่วงอายุไม่ควรได้รับแคลเซียมเกินกว่าปริมาณสูงสุด ดังนี้ การรับประทานแคลเซียมในรูปอาหารเสริมควรคำนึงถึงปริมาณและชนิดของแคลเซียมในผลิตภัณฑ์ เช่น แคลเซียมคาร์บอเนตประกอบด้วยแคลเซียม 40% ดังนั้น แคลเซียมคาร์บอเนต 1,250 มิลลิกรัม จึงประกอบด้วยธาตุแคลเซียม 500 มิลลิกรัม และอาหารเสริมแคลเซียมทุกชนิดจะดูดซึมได้ดีกว่าเมื่อรับประทานในปริมาณน้อยกว่า 500 มิลลิกรัมในช่วงระหว่างมื้ออาหาร นอกจากนี้ อาหารเสริมแคลเซียมมักมีส่วนประกอบของวิตามินหรือแร่ธาตุชนิดอื่น เช่น วิตามินดี และแมกนีเซียม ก่อนรับประทานอาหารเสริมแคลเซียมควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเสมอ และอ่านส่วนประกอบที่ระบุไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์ให้ละเอียดก่อนรับประทาน แคลเซียมอาจทำปฏิกิริยากับยาชนิดอื่นที่ใช้อยู่ เช่น ยารักษาความดันโลหิต ยาฮอร์โมนไทรอยด์สังเคราะห์ ยาบิสฟอสโฟเนต (Bisphosphonates) ยาปฏิชีวนะ และยาต้านแคลเซียม (Calcium Channel Blockers) ผู้ที่ใช้แคลเซียมควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นจากการรับประทานแคลเซียม โดยแพทย์อาจให้รับประทานแคลเซียมพร้อมกับมื้ออาหารหรือระหว่างมื้ออาหารขึ้นอยู่กับยาที่ใช้อยู่ ผู้ที่รับประทานแคลเซียมบางราย โดยเฉพาะผู้ที่รับประทานแคลเซียมคาร์บอเนต อาจมีอาการคลื่นไส้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก รวมทั้งอาจรบกวนการดูดซึมของแร่ธาตุบางชนิด เช่น ธาตุเหล็ก และสังกะสี นอกจากนี้ การรับประทานแคลเซียมอย่างต่อเนื่องในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้ปริมาณแคลเซียมในปัสสาวะสูงขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดโรคนิ่วในไตตามมาแคลเซียม (Calcium)
เกี่ยวกับแคลเซียม
กลุ่มยา
แร่ธาตุ
ประเภทยา
ยาตามใบสั่งแพทย์ ยาหาซื้อได้เอง
สรรพคุณ
ใช้ทดแทนการขาดแคลเซียม และรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่มีภาวะฟอสเฟตในเลือดสูง
กลุ่มผู้ป่วย
เด็กและผู้ใหญ่
การใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์และผู้ให้นมบุตร
ขึ้นอยู่กับชนิดของแคลเซียม เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต จัดอยู่ใน Category C จากการศึกษาในสัตว์พบว่า ทำให้เกิดความผิดปกติต่อตัวอ่อนในครรภ์สัตว์ แต่ไม่มีการศึกษาในมนุษย์ หรือไม่มีข้อมูลเพียงพอในการศึกษาทดลองในมนุษย์และสัตว์ ควรใช้ยาเมื่อพิจารณาแล้วว่า มีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อทารกในครรภ์ สตรีมีครรภ์และผู้ที่ให้นมบุตรควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยา และไม่รับประทานปริมาณมากเกินกว่าที่แพทย์สั่ง
รูปแบบของยา
ยาเม็ด ยาน้ำเชื่อม
คำเตือนการใช้แคลเซียม
ปริมาณการใช้แคลเซียม
แคลเซียมคาร์บอเนต
มีแคลเซียม 40%
แคลเซียมแลคเตท
มีแคลเซียม 13%
แคลเซียมกลูโคเนท
มีแคลเซียม 9%
แคลเซียมแลคเตท กลูโคเนท
มีแคลเซียม 13.2%
การใช้แคลเซียม
ปฏิกิริยาระหว่างแคลเซียมกับยาอื่น
ผลข้างเคียงจากการใช้แคลเซียม