Illness name: ลำไส้แปรปรวน
Description: ลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome) หรือโรคไอบีเอส คือ โรคลำไส้ที่ทำให้เกิดอาการปวดท้อง แน่นท้อง ไม่สบายท้อง มีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่าย ท้องผูก ท้องเสีย ท้องผูกสลับกับท้องเสีย หรืออั้นอุจจาระไม่อยู่ เป็นต้น เป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ความเครียด การรับประทานอาหาร ในครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นโรคลำไส้แปรปรวน จะมีแนวโน้มในการเกิดโรคนี้ได้มากกว่า มักพบมากในช่วงวัยรุ่นตอนปลายถึงช่วงประมาณอายุ 40 ปี โดยเฉพาะในผู้ป่วยเพศหญิง อาจไม่ทำให้เกิดอันตราย แต่จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วยได้ อาการของลำไส้แปรปรวน ในผู้ที่ป่วยลำไส้แปรปรวนจะมีอาการไม่สบายท้อง แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีแก๊สในท้องมาก ปวดท้องมากหลังรับประทานอาหาร และอาการจะดีขึ้นหลังการขับถ่าย ท้องผูก ท้องเสีย ท้องผูกสลับกับท้องเสีย อุจจาระแข็งหรือนิ่มกว่าปกติ อุจจาระไม่สุด อุจจาระมีเมือกใสหรือสีขาวปนออกมา อั้นอุจจาระไม่อยู่ หรืออาจพบอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น หมดแรง ปวดหลัง กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรืออาจรู้สึกเจ็บที่อวัยวะเพศขณะมีเพศสัมพันธ์ในผู้ป่วยที่เป็นเพศหญิง เป็นต้น ความเครียด รวมถึงอาหารและเครื่องดื่มที่รับประทานเข้าไปอาจเป็นตัวการหนึ่งที่ทำให้อาการแย่ลงลำไส้แปรปรวนแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ ควรไปพบแพทย์หากพบว่ามีอาการของลำไส้แปรปรวน ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา อาการอาจแย่ลงได้ หรือพบว่ามีอาการอุจจาระเป็นเลือด น้ำหนักลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ มีอาการบวมที่ท้อง รวมถึงอาการของโรคโลหิตจาง เช่น รู้สึกเหนื่อย หมดแรง หายใจถี่ หัวใจเต้นแรง ผิวซีด ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน สาเหตุของลำไส้แปรปรวน ยังบอกไม่ได้ว่าลำไส้แปรปรวนเกิดจากสาเหตุใด มีหลายปัจจัยที่เป็นตัวการหรือตัวกระตุ้นทำให้ลำไส้เกิดอาการแปรปรวนได้ รวมถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ การวินิจฉัยลำไส้แปรปรวน แพทย์จะตรวจอาการของโรคโดยทั่วไปว่าในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ผู้ป่วยมีอาการของโรคลำไส้แปรปรวนหรือไม่ เช่น รู้สึกเครียดหรือรู้สึกรีบในขณะถ่ายอุจจาระ รู้สึกว่าอุจจาระไม่สุด มีเมือกปนออกมาจากอุจจาระ ท้องอืด แน่นท้อง ไม่สบายท้อง อาการปวดท้องแย่ลงหลังรับประทานอาหาร ใช้ยาความดันโลหิตสูง ธาตุเหล็ก ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร การแพ้อาหาร การติดเชื้อ การย่อยอาหาร โรคลำไส้อักเสบ รวมถึงเคยมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งลำไส้ หรือมะเร็งรังไข่หรือไม่และอย่างไร โดยแพทย์จะหาสาเหตุจากโรคอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการคล้ายกันก่อน หากตรวจไม่พบความผิดปกติจากโรคอื่นๆ แพทย์จึงวินิจฉัยว่าเกิดจากโรคลำไส้แปรปรวน และอาจมีการวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วยแนวทางดังต่อไปนี้ การรักษาลำไส้แปรปรวน ในการรักษาทำได้โดยบรรเทาอาการของโรคลำไส้แปรปรวน เพื่อให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้ตามปกติ มากที่สุด ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงรักษาได้โดยจัดการกับปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค เช่น ความเครียด การรับประทานอาหาร การใช้ชีวิต หรือต้องใช้ยาในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง โดยมีแนวทางในการปฏิบัติดังต่อไปนี้ ภาวะแทรกซ้อนของลำไส้แปรปรวน คุณภาพชีวิตโดยรวมที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลหรือเกิดขึ้นกับผู้ป่วยลำไส้แปรปรวนมากที่สุด หรืออาจนำไปสู้ความรู้สึกท้อแท้หรือภาวะซึมเศร้า รวมถึงผู้ป่วยลำไส้แปรปรวนที่เป็นริดสีดวงทวาร จะทำให้ริดสีดวงทวารมีอาการที่รุนแรงขึ้นได้ การป้องกันลำไส้แปรปรวน โรคลำไส้แปรปรวนเป็นโรคที่ยังไม่ทราบถึงสาเหตุของการเกิดโรค แต่ปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่ออาการและความรุนแรงของโรคลำไส้แปรปรวน คือความเครียด ในผู้ป่วยที่มีความเครียดมีแนวโน้มจะทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสียบ่อยครั้ง หรือทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้ การจัดการกับความเครียดเป็นวิธีหนึ่งในการป้องกันหรือบรรเทาอาการได้ ปฏิบัติได้ด้วยการฝึกลมหายใจโดยใช้กระบังลม หายใจเข้าและออกลึก ๆ หรือการนั่งสมาธิ รวมถึงการทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลายอย่างน้อยละวันละ 20 นาที เช่น ฟังเพลง อ่านหนังสือ เล่นเกม หรือการแช่ตัวในน้ำอุ่น ๆ เป็นต้นความหมาย ลำไส้แปรปรวน