Illness name: โรคกลัวการเข้าสังคม
Description: โรคกลัวการเข้าสังคม (Social Anxiety Disorder หรือ Social Phobia) เป็นความผิดปกติทางจิตใจรูปแบบหนึ่งที่ส่งผลให้รู้สึกวิตกกังวลหรือกลัวหากต้องเข้าสังคมหรือต้องพบปะผู้คนที่ไม่คุ้นเคย ผู้ป่วยจึงพยายามหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและกระทบต่อความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ โรคกลัวการเข้าสังคมจัดเป็นหนึ่งในกลุ่มโรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) และมักพบในวัยรุ่น ซึ่งผู้ที่มีอาการกลัวการเข้าสังคมจะรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงเมื่อเข้าเรียน ทำงาน หรือทำความรู้จักคนใหม่ ๆ โดยอาการจะเป็นต่อเนื่องในระยะยาว ผู้ป่วยบางรายอาการอาจค่อย ๆ ดีขึ้นได้เองเมื่อเวลาผ่านไป แต่ส่วนมากมักต้องเข้ารับการรักษาเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ตามปกติ ความกังวลในบางสถานการณ์เป็นความรู้สึกโดยธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน อย่างความรู้สึกตื่นเต้นหรือประหม่าเมื่อต้องนำเสนองานหน้าชั้นเรียนหรือในที่ประชุม แต่โรคกลัวการเข้าสังคมจะแตกต่างจากความกังวลหรือความอายทั่วไป เนื่องจากผู้ป่วยจะรู้สึกกลัวหรือกังวลทุกครั้งที่ต้องทำกิจกรรมหรือเข้าสังคมพบปะผู้อื่น ทำให้ความวิตกกังวลเกิดขึ้นในระยะยาวจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและความสัมพันธ์กับผู้อื่น ผู้ป่วยโรคกลัวการเข้าสังคมแต่ละคนอาจมีอาการแตกต่างกัน โดยสามารถแบ่งอาการได้เป็นสองกลุ่ม ดังนี้ สัญญาณหรืออาการที่แสดงออกทางร่างกายของผู้ที่มีอาการกลัวการเข้าสังคม ได้แก่ ผู้ที่มีโรคกลัวการเข้าสังคมอาจมีอาการทางจิตใจ ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมที่แสดงออก ดังนี้ เมื่อเวลาผ่านไป อาการของโรคกลัวสังคมอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอด แต่หากไม่ได้รับการรักษา อาจส่งผลเสียในระยะยาว และอาจมีอาการรุนแรงขึ้นเมื่อต้องเผชิญหน้ากับสภาวะกดดันหรือสถานการณ์ที่ทำให้วิตกกังวล อย่างไรก็ตาม การหลีกหนีจากสถานการณ์ทางสังคมอาจเป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น หากผู้ป่วยมีอาการหวาดกลัว วิตกกังวล และหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมในสังคมร่วมกับผู้อื่น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา โรคกลัวสังคมอาจคล้ายกับภาวะความผิดปกติทางจิตใจอื่น ๆ โดยสาเหตุเกิดจากปัจจัยภายในของแต่ละบุคคลรวมกับปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ดังนี้ นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจกระตุ้นให้เกิดโรคกลัวสังคม ได้แก่ ความกดดันจากการทำงานหรือการเข้าสังคมใหม่ เด็กที่มีลักษณะนิสัยขี้อาย เก็บตัวหรือแยกตัวออกจากผู้อื่น รวมถึงความผิดปกติทางร่างกาย เช่น พูดติดอ่าง มีอาการสั่นจากโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) หรือใบหน้าเสียโฉม อาจเกิดความรู้สึกกังวลและกลัวที่จะเข้าสังคมได้ การวินิจฉัยโรคกลัวสังคม แพทย์จะสอบถามลักษณะอาการ ความถี่ในการเกิดอาการ โดยอาจพูดถึงสถานการณ์ทางสังคมที่มักทำให้เกิดความกลัวและสังเกตปฏิกิริยาของผู้ป่วย หรือให้ผู้ป่วยเล่าเหตุการณ์ที่รู้สึกกังวลหรือหวาดกลัวด้วยตนเอง นอกจากนี้ แพทย์อาจสอบถามประวัติสุขภาพและการใช้ยาของผู้ป่วย ประวัติสุขภาพหรือพฤติกรรมของคนในครอบครัว และตรวจร่างกายเบื้องต้น เพื่อวินิจฉัยว่าโรคกลัวการเข้าสังคมเกิดจากสาเหตุทางร่างกายหรือจิตใจ ทั้งนี้ แพทย์จะใช้เกณฑ์ตามคู่มือการวินิจฉัยและสถิติของความผิดปกติทางจิต ตีพิมพ์ครั้งที่ 5 (DSM-5) ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน ได้แก่ วิธีการรักษาอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยวิธีที่มักนำมาใช้รักษา ได้แก่ การดูแลตนเองด้วยการปรับพฤติกรรม จิตบำบัด (Psychotherapy) และการใช้ยารักษาโรค ซึ่งอาจใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีร่วมกัน แม้ว่าการรักษาโรคกลัวการเข้าสังคมอาจต้องเข้ารับการรักษาตัวโดยแพทย์หรือนักจิตบำบัด แต่ผู้ป่วยสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดอาการกลัวสังคมได้ดีขึ้นด้วยการดูแลตนเองตามวิธีต่อไปนี้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรฝึกการเข้าสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยอาจเริ่มจากคนที่รู้สึกคุ้นเคย เช่น ร่วมรับประอาหารกับญาติที่ใกล้ชิดหรือเพื่อนสนิทในร้านอาหาร สบตาและทำความรู้จักกับคนใหม่ ๆ รวมถึงแสดงความใส่ใจและชื่นชมในตัวผู้อื่นเมื่อพูดคุยกัน ทั้งนี้ ควรเตรียมความพร้อมเมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์ทางสังคม เช่น เตรียมหัวข้อที่สนใจเพื่อพูดคุยกับผู้อื่น ฝึกการผ่อนคลายร่างกายและจัดการกับความเครียด โดยไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อคลายความกังวล และระลึกไว้เสมอหากมีข้อผิดพลาดหรือเรื่องน่าอายเกิดขึ้น ผู้อื่นอาจไม่ทันได้สังเกตเห็นหรือไม่ได้ถือเป็นความผิดพลาดร้ายแรง ดังนั้น จึงไม่ควรเก็บมาคิดโทษตนเองหรือวิตกกังวลในภายหลัง จิตบำบัดเป็นวิธีที่นิยมนำมาใช้ในการรักษาโรคกลัวการเข้าสังคม ผู้ป่วยจะได้เรียนรู้วิธีการปรับมุมมองความคิดแง่ลบเกี่ยวกับตัวเอง และเสริมสร้างความมั่นใจเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ทางสังคม เช่น การรักษาโรคกลัวการเข้าสังคมอาจใช้ยาหลายชนิดในการรักษา แต่ยาที่นิยมนำมาใช้เป็นอันดับแรก คือ กลุ่มยาต้านเศร้าเอสเอสอาร์ไอ (SSRIs) อย่างยาพาร็อกซีทีน (Paroxetine) หรือยาเซอร์ทราลีน (Sertraline) หรือยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่มเอสเอ็นอาร์ไอ (SNRIs) อย่างยาเวนลาฟาซีน (Venlafaxine) อาจนำมาใช้ในการรักษาเช่นกัน ซึ่งแพทย์จะเริ่มจ่ายยาให้ผู้ป่วยในปริมาณน้อย แล้วค่อย ๆ ปรับเพิ่มขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงของผลข้างเคียงหลังได้รับยา นอกจากนี้ อาจใช้ยาอื่น ๆ ในการรักษา ดังนี้ ในบางกรณี โรคกลัวการเข้าสังคมอาจค่อย ๆ ดีขึ้นหลังได้รับการรักษา และผู้ป่วยอาจไม่ต้องรับประทานยาต่ออีก แต่บางรายอาจต้องได้รับยาและการบำบัดอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายปีเพื่อป้องกันการเกิดอาการซ้ำ ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ตามการนัดหมาย รับประทานยาให้ครบตามที่แพทย์สั่ง และตั้งเป้าหมายเพื่อก้าวข้ามความกลัวในการใช้ชีวิตในสังคม หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษา โรคกลัวการเข้าสังคมอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน การทำงาน ความสัมพันธ์ และความสุขในชีวิต โดยอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ดังนี้ โรคกลัวการเข้าสังคมอาจป้องกันได้ยาก เนื่องจากไม่สามารถคาดเดาสาเหตุของการเกิดโรคได้ แต่วิธีต่อไปนี้อาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคในผู้ที่มีความกังวลได้ความหมาย โรคกลัวการเข้าสังคม
อาการของโรคกลัวการเข้าสังคม
อาการทางร่างกาย
อาการทางจิตใจและพฤติกรรม
สาเหตุของโรคกลัวสังคม
การรักษาโรคกลัวการเข้าสังคม
การดูแลตนเอง
จิตบำบัด
การรักษาด้วยยา
ภาวะแทรกซ้อนของโรคกลัวการเข้าสังคม
การป้องกันโรคกลัวการเข้าสังคม