Illness name: ถ่ายเป็นเลือด
Description: ถ่ายเป็นเลือด (Rectal Bleeding หรือ Hematochezia) เป็นลักษณะอาการที่ผู้ป่วยมีเลือดสีแดงสดไหลออกมาจากทวารหนัก ถ่ายอุจจาระแล้วมีเลือดหรือลิ่มเลือดปนอยู่ หรือถ่ายอุจจาระเป็นสีแดงเข้ม สาเหตุหลักที่มักทำให้ถ่ายเป็นเลือด คือการบาดเจ็บที่อวัยวะในระบบย่อยอาหารอย่างลำไส้ใหญ่ ไส้ตรง และทวารหนัก โดยการถ่ายเป็นเลือดอาจเป็นการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยไปจนถึงสัญญาณอันตรายของปัญหาสุขภาพที่สำคัญ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ปริมาณของเลือดที่ถ่ายออกมา และระยะเวลาที่มีอาการถ่ายเป็นเลือด โดยปกติแล้ว คนเรามักถ่ายอุจจาระออกมาเป็นสีน้ำตาล ซึ่งเป็นผลจากน้ำดีในตับที่ช่วยในกระบวนการย่อยอาหาร ในบางครั้ง อาจพบว่าอุจจาระมีสีที่ต่างไปจากปกติ เช่น เขียว สีเหลือง สีซีด ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีภายในร่างกายในระบบย่อยอาหาร การทำปฏิกิริยาของแบคทีเรียและเอนไซม์ในลำไส้ หรือการรับประทานอาหารบางชนิดที่อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสีอุจจาระ การเปลี่ยนแปลงของสีอุจจาระเพียงเล็กน้อยอาจมีนัยสำคัญบ่งชี้โรคน้อยมากด้วยเช่นกัน แต่หากพบว่าสีของอุจจาระเปลี่ยนไปติดต่อกันเป็นเวลานาน และมีอุจจาระสีดังกล่าวในหลาย ๆ ครั้งที่ขับถ่าย อาจต้องสังเกตอาการแสดงอื่น ๆ ที่ปรากฏทางร่างกายร่วมด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากถ่ายอุจจาระเป็นสีดำเข้ม สีแดงอ่อน มีเลือดปน มีลิ่มเลือด หรือถ่ายเป็นเลือด ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาต่อไป อาการถ่ายเป็นเลือด นอกเหนือจากอาการที่มีเลือดสีแดงสดไหลออกมาจากทวารหนัก ถ่ายอุจจาระแล้วมีเลือดหรือลิ่มเลือดปนอยู่ หรือถ่ายอุจจาระออกมาเป็นสีแดงเข้มแล้ว อาจพบอาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับโรคและการเจ็บป่วยที่เป็นสาเหตุของอาการถ่ายเป็นเลือดด้วย โดยอาการที่อาจพบร่วมกับการถ่ายเป็นเลือด หรืออาจเกิดขึ้นหลังจากถ่ายเป็นเลือด ได้แก่ สาเหตุของอาการถ่ายเป็นเลือด การขับถ่ายออกมาเป็นเลือดเป็นผลมาจากอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบขับถ่ายได้รับความเสียหาย จึงเกิดภาวะเลือดออก โดยสาเหตุที่มักเป็นที่มาของอาการถ่ายเป็นเลือด ได้แก่ นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุของการถ่ายเป็นเลือดอื่น ๆ ที่พบได้ไม่มากนัก เช่น การวินิจฉัยอาการถ่ายเป็นเลือด เมื่อผู้ป่วยไปพบแพทย์ ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยด้วยการสอบถามลักษณะและความรุนแรงของอาการ ปริมาณเลือดที่พบ ความบ่อยของการถ่ายเป็นเลือด อาการข้างเคียงที่มี และประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย จากนั้น แพทย์จะทำการตรวจร่างกายโดยเฉพาะระบบทางเดินอาหารและลำไส้ รวมถึงบริเวณทวารหนักหรืออาจตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ การรักษาอาการถ่ายเป็นเลือด หากเป็นอาการถ่ายเป็นเลือด หรือมีเลือดปนเพียงเล็กน้อย อาจเป็นปัญหาสุขภาพที่ไม่รุนแรง เช่น อาการท้องผูก ผู้ป่วยสามารถดูแลรักษาอาการได้ เช่น รับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง ดื่มน้ำมาก ๆ ฝึกสุขนิสัยการขับถ่าย และปฏิบัติตามแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันอาการท้องผูก แต่หากถ่ายเป็นเลือดปริมาณมาก หรือถ่ายเป็นเลือดบ่อย ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา โดยแพทย์จะทำการรักษาตามอาการที่ผู้ป่วยเผชิญอยู่ ดังนี้ การเสียเลือดมาก สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการค่อนข้างรุนแรง มีเลือดออกมาก ความดันโลหิตต่ำ เวียนศีรษะ เป็นลม หรืออาจช็อค แพทย์อาจต้องให้เลือดหรือน้ำเกลือเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยเพื่อทดแทนเลือดที่เสียไป และอาจพิจารณาจ่ายยารักษาให้เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วย การรักษาที่สาเหตุ แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงแล้วจึงวางแผนการรักษา ซึ่งวิธีการรักษาย่อมขึ้นอยู่กับการเจ็บป่วยที่เป็นต้นเหตุ ความรุนแรงของอาการ และสภาพร่างกายของผู้ป่วยด้วย ตัวอย่างการรักษาอาการถ่ายเป็นเลือดตามโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น การป้องกันอาการถ่ายเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือดอาจป้องกันได้ด้วยการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคและการเจ็บป่วยที่อวัยวะภายในระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาการถ่ายเป็นเลือดได้โดยความหมาย ถ่ายเป็นเลือด