Illness name: schizophrenia จิตเภท
Description: Schizophrenia หรือโรคจิตเภท เป็นโรคความผิดปกติทางจิตที่รุนแรงและเรื้อรัง ส่งผลต่อการพูด การคิด การรับรู้ ความรู้สึก และการแสดงออกของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการต่าง ๆ อย่างประสาทหลอน หลงผิด ปลีกตัวจากสังคม หรือไม่สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ตามปกติ ซึ่งปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคนี้ จึงยังไม่มีวิธีรักษาที่เฉพาะเจาะจง แต่ผู้ป่วยอาจบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นได้ โดยต้องเข้ารับการรักษาเพื่อควบคุมอาการไปตลอดชีวิต อาการของโรคจิตเภทอาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ อาการด้านบวก อาการด้านลบ และอาการด้านการรับรู้ ดังนี้ เป็นอาการทางจิตที่มักจะไม่เกิดขึ้นกับคนที่มีสุขภาพดีทั่ว ๆ ไป ซึ่งผู้ป่วยอาจสูญเสียความสามารถในการรับรู้ความเป็นจริงบางอย่าง โดยอาจมีอาการดังต่อไปนี้ ผู้ป่วยอาจมีปัญหาด้านการแสดงออกทางอารมณ์ พฤติกรรม และความสามารถ ดังนี้ เมื่อมีอาการจิตเภทประเภทนี้ ผู้ป่วยอาจหมดความสนใจในการทำสิ่งต่าง ๆ และจมอยู่กับความคิดของตัวเอง ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาในด้านการเรียนหรือการทำงาน และอาจกลายเป็นปัญหาในการใช้ชีวิตระยะยาวได้ โดยผู้ป่วยบางรายอาจมีปัญหาในการวางแผนและจดจำสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งอาจมีอาการย้ำคิดย้ำทำร่วมด้วย เป็นอาการที่อาจส่งผลต่อกระบวนการคิดและความทรงจำของผู้ป่วย โดยผู้ป่วยอาจมีปัญหาในการจดจ่อ การทำความเข้าใจข้อมูล การตัดสินใจ ความจำ และการจัดการสิ่งต่าง ๆ ทั้งนี้ อาการของโรคจิตเภทอาจเกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นและอยู่ในช่วงอายุ 20 ต้น ๆ โดยในระยะแรกผู้ป่วยอาจปลีกตัวจากสังคม เพื่อน หรือครอบครัว มีปัญหาในการนอนหลับ หงุดหงิดและว้าวุ่น ซึ่งอาการเหล่านี้คล้ายกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นได้กับวัยรุ่นทั่วไป จึงอาจทำให้สังเกตเห็นความผิดปกติได้ยากในช่วงวัยดังกล่าว ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดที่ทำให้เกิดโรค Schizophrenia ได้ แต่คาดว่าอาจมีปัจจัยเสี่ยงบางประการที่กระตุ้นให้เกิดโรคนี้ เช่น เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์อาจตรวจเบื้องต้นโดยสอบถามเกี่ยวกับอาการ ภาวะสุขภาพจิต โรคประจำตัว และประวัติสุขภาพของคนในครอบครัว รวมทั้งอาจตรวจร่างกายผู้ป่วยโดยละเอียด โดยตรวจระบบประสาทและสมอง ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI Scan) หรือตรวจเอกซเรย์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (CT Scan) เพื่อให้แน่ใจว่าความผิดปกติที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดอาการคล้ายกัน เช่น โรคบางอย่าง การใช้ยาบางชนิด การใช้สารเสพติด อาการป่วยทางจิตอื่น ๆ เป็นต้น จากนั้นแพทย์อาจตรวจสุขภาพจิตอย่างละเอียด เพื่อประเมินความคิด อารมณ์ จิตใจ อาการหลงผิด อาการประสาทหลอน แนวโน้มในการฆ่าตัวตาย หรือการใช้ความรุนแรงของผู้ป่วย ทั้งนี้ แพทย์อาจเฝ้าดูว่าผู้ป่วยยังคงมีอาการประสาทหลอน หลงผิด หรือมีการพูดที่ผิดปกติหรือไม่ หลังจากผู้ป่วยรับการตรวจวินิจฉัยผ่านไป 2-3 สัปดาห์ เพราะในบางกรณีอาการเหล่านี้อาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้ด้วย ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรค Schizophrenia แต่ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาดูแลอาการในระยะยาว เพื่อช่วยบรรเทาหรือลดความรุนแรงของอาการด้วยวิธีต่อไปนี้ หากผู้ป่วยไม่ได้เข้ารับการรักษา อาจส่งผลให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง และกระทบต่อการใช้ชีวิตในหลาย ๆ ด้าน ดังนี้ ปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันโรค Schizophrenia เนื่องจากยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยอาจป้องกันโรคในเบื้องต้นเพื่อไม่ให้เกิดอาการหรืออันตรายร้ายแรงต่อตนเองและผู้อื่น โดยควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและลักษณะอาการของโรค ซึ่งอาจช่วยให้สังเกตเห็นอาการผิดปกติและเข้ารับการตรวจรักษาโรคได้แต่เนิ่น ๆ ส่วนผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ก็อาจป้องกันอาการกำเริบหรือไม่ให้อาการแย่ลงกว่าเดิมโดยปฏิบัติตามแผนการรักษาและคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ บุคคลใกล้ชิดควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของผู้ป่วย และรีบพาผู้ป่วยมารับการตรวจรักษาหากสงสัยว่าอาจมีอาการทางจิตหรือป่วยเป็น Schizophreniaความหมาย จิตเภท (Schizophrenia)
อาการของจิตเภท
อาการด้านบวก
อาการด้านลบ
อาการด้านการรับรู้
สาเหตุของจิตเภท
การวินิจฉัยจิตเภท
การรักษาจิตเภท
ภาวะแทรกซ้อนของจิตเภท
การป้องกันจิตเภท