Illness name: binge eating disorder
Description: Binge Eating Disorder (BED) หรือโรคกินไม่หยุด เป็นชื่อที่ใช้เรียกโรคที่มีอาการรับประทานอาหารปริมาณมากผิดปกติโดยที่ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ผู้ที่เป็นโรคนี้จะรับประทานอาหารในปริมาณมากแม้ไม่รู้สึกหิว โดยจะรับประทานจนอิ่มแน่นท้องและไม่สามารถรับประทานอาหารต่อได้ แต่ผู้ป่วยจะเกิดความรู้สึกรังเกียจหรือโกรธต่อตนเองที่รับประทานอาหารมากเกินไปหลังรับประทานอาหารเสร็จ ในปัจจุบันยังไม่ทราบเหตุที่แน่ชัดของโรคนี้ แต่คาดว่าอาจเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย โดยโรคนี้สามารถเกิดได้กับคนทุกช่วงวัย ซึ่งช่วงอายุที่พบได้บ่อยที่สุด คือ ช่วงวัยรุ่นตอนปลายหรือช่วงอายุ 20 ตอนต้น สำหรับการรักษาและการบำบัดจะแตกต่างกันไปตามปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคขึ้น ทั้งนี้ การรับประทานอาหารปริมาณมากเกินความพอดีอยู่บ่อยครั้งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพผู้ป่วยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว อาการและสัญญาณของโรค BED อาจสังเกตได้จากพฤติกรรมการรับประทานและภาวะอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนี้ ผู้ที่เป็นโรคนี้มักรับประทานอาหารในปริมาณมากกว่าปกติ และไม่สามารถควบคุมตนเองให้หยุดรับประทานได้แม้จะอิ่มแล้วหรือไม่รู้สึกหิวก็ตาม แต่จะหยุดก็ต่อเมื่อรู้สึกอิ่มจนไม่สบายตัวหรือไม่สามารถรับประทานอาหารต่อไปได้ อีกทั้งยังสามารถรับประทานอาหารปริมาณมาก ๆ อย่างรวดเร็วในระยะเวลาไม่นาน นอกจากนี้ ข้อสังเกตอีกอย่าง คือ ผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมที่จะลดความอ้วน ออกกำลังกายอย่างหนัก ใช้ยาระบาย หรือล้วงคออ้วก ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้มักเป็นอาการของโรคคลั่งผอม (Anorexia) และโรคล้วงคอ (Bulimia) รวมไปถึงผู้ป่วยอาจจะมีพฤติกรรมที่กักตุนอาหารไว้ในที่ต่าง ๆ ใกล้ตัว ความถี่ของอาการกินไม่หยุดอาจเป็นตัวที่ช่วยบ่งชี้ความรุนแรงของโรค โดยผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงอาจมีอาการตั้งแต่ 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์ บางรายที่อาการรุนแรงอาจพบพฤติกรรมดังกล่าวประมาณ 14 ครั้งขึ้นไปต่อสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม หากมีพฤติกรรมดังกล่าวเพียง 1 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่เป็นอย่างต่อเนื่องกัน 3 เดือน แพทย์ก็อาจวินิจฉัยว่าเป็นโรคกินไม่หยุดเช่นกัน นอกเหนือจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ปกติ ผู้ป่วยมักจะมีความผิดปกติทางอารมณ์เกิดขึ้นร่วมด้วย โดยผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะรับประทานอาหารคนเดียว เพราะรู้สึกอับอายเวลารับประทานอาหารปริมาณมากต่อหน้าบุคคลอื่น และภายหลังจากรับประทานไปแล้วมักรู้สึกผิด เศร้า โกรธ ละอายใจ รังเกียจ หรือโทษตนเองที่รับประทานมากเกินไป ทั้งนี้ การรับประทานอาหารปริมาณมากกว่ามื้อปกติที่เคยรับประทานเป็นครั้งคราวนั้นยังถือเป็นเรื่องปกติ เช่น การรับประทานอาหารในงานเลี้ยงสังสรรค์หรือรับประทานอาหารบุฟเฟ่ต์ จึงไม่ควรวิตกกังวลจนเกินไป หากมีความกังวลหรือพบสัญญาณของโรคก็สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินอาการได้ เพราะโรคนี้อาจส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังหรือภาวะร้ายแรงอื่น ๆ ตามมาเมื่อไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ในปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่แท้จริงของโรคนี้ แต่คาดว่ามีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดโรคกินไม่หยุด เช่น สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการรับประทานอาหารมากผิดปกติ เชื่อกันว่าเกิดจากภาวะไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง อย่างเลปติน (Leptin) และเกรลิน (Ghrelin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความหิวที่หลั่งออกมามากผิดปกติ จนส่งผลให้ร่างกายมีความอยากอาหาร นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่พบว่าความรู้สึกเครียด โกรธ เศร้า เบื่อหน่าย หรือความรู้สึกด้านลบก็สามารถกระตุ้นการหลั่งของสารเหล่านี้ได้ แพทย์จะเริ่มต้นด้วยการสอบถามพฤติกรรมการรับประทาน อย่างปริมาณอาหาร ความถี่ในการรับประทาน รวมทั้งโรคประจำตัว ซึ่งหากตรงตามเกณฑ์ของโรคหรือมีการรับประทานอาหารในปริมาณมากอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งต่อเนื่องกัน 3 เดือน แพทย์อาจวินิจฉัยว่าเป็น Binge Eating Disorder นอกจากนี้ แพทย์อาจทำการตรวจร่างกาย ตรวจเลือด และตรวจการนอนหลับ เพื่อหาโรคที่อาจเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคกินไม่หยุดและช่วยวางแผนการรักษา ภายหลังจากการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ ผู้ป่วยจะถูกส่งตัวต่อไปยังแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านโรค BED โดยเฉพาะ ซึ่งแพทย์อาจเลือกวิธีการรักษาที่สอดคล้องกับอาการและสาเหตุของโรคมากที่สุด ดังนี้ โรคกินไม่หยุดจัดว่าเป็นโรคทางจิตชนิดหนึ่ง ซึ่งแพทย์อาจสั่งจ่ายยาต้านเศร้าหรือยากันชักที่มักใช้รักษาโรคทางจิตชนิดอื่น ๆ เพื่อปรับสมดุลของสารเคมีในสมองและป้องกันอาการของโรค การใช้ยาเพื่อรักษาโรค BED นั้นค่อนข้างให้ผลรวดเร็วและได้ผลที่ชัดเจนกว่าการรักษาแบบอื่น แต่ค่อนข้างเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา ดังนั้น ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ถึงความเสี่ยงในการใช้ยา และหากจำเป็นต้องใช้ยา ควรใช้ยาตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด จิตบำบัดเป็นการสร้างการรับรู้และเข้าใจในอาการของโรค จุดประสงค์หลักเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมอารมณ์ด้านลบที่ส่งผลให้เกิดอาการของโรคได้ โดยจิตบำบัดที่ใช้รักษาโรคกินไม่หยุดแบ่งได้ 3 แบบ ดังนี้ กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคนี้มีโรคอ้วนเป็นโรคประจำตัว อีกทั้งจากการศึกษายังพบว่าผู้ที่เคยล้มเหลวในการลดความอ้วนมีความเสี่ยงที่เป็นโรคกินไม่หยุด ซึ่งแพทย์อาจแนะนำวิธีลดน้ำหนักภายหลังจากการรักษาโรค BED แล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยกลับไปมีอาการอีก โดยแพทย์และนักโภชนาการจะให้ความรู้เกี่ยวกับการลดน้ำหนักอย่างถูกต้อง ทั้งปริมาณ สารอาหาร และการออกกำลังกาย ซึ่งการลดน้ำหนักไม่เพียงแต่จะช่วยป้องกันกลับไปมีอาการของโรคซ้ำแล้ว ยังอาจช่วยให้คนไข้มีรูปร่างที่ดีขึ้นและมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองมากขึ้น นอกจากนี้ แพทย์อาจแนะนำให้ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์เพื่อส่งเสริมสุขภาพให้ดีขึ้น อย่างการนอนหลับให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังอย่างเหมาะสม และระบายความเครียดในรูปแบบต่าง ๆ อย่างถูกวิธี นอกจากนี้ การจดบันทึกสภาพจิตใจ อารมณ์ และอาหารที่รับประทานในแต่ละมือ อาจช่วยให้ผู้ป่วยสังเกตการเปลี่ยนแปลงของตนเองได้ดีขึ้น พฤติกรรมรับประทานอาหารทีละมาก ๆ โดยไม่สามารถควบคุมตนเองได้ อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในหลาย ๆ ด้าน เช่น ปัจจุบันทางการแพทย์ทราบเพียงปัจจัยที่อาจทำให้เกิดโรคนี้ จึงยังไม่มีวิธีป้องกันที่แน่นอน แต่สามารถลดความเสี่ยงของโรคด้วยการรักษาโรคที่อาจเป็นสาเหตุของ BED และปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ดังนี้ความหมาย Binge Eating Disorder
อาการของ ฺBinge Eating Disorder
พฤติกรรมการรับประทาน
ความถี่ของอาการ
ความผิดปกติทางอารมณ์
สาเหตุของ Binge Eating Disorder
การวินิจฉัย Binge Eating Disorder
การรักษา Binge Eating Disorder
การใช้ยา
การเข้ารับจิตบำบัด
การลดน้ำหนัก
ภาวะแทรกซ้อนจาก Binge Eating Disorder
ปัญหาสุขภาพกาย
การได้รับสารอาหารและพลังงานมากเกินความจำเป็นอาจเพิ่มความเสี่ยงปัญหาสุขภาพ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ โรคกรดไหลย้อน ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง เป็นต้นปัญหาสุขภาพจิต
ความรู้สึกด้านลบจากอาการของโรคอาจส่งผลให้เกิดความรู้สึกแปลกแยก ไม่อยากเข้าสังคม ซึ่งเมื่ออารมณ์เหล่านี้รุนแรงขึ้น อาจเพิ่มความเสี่ยงในการใช้สารเสพติดหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไปจนถึงภาวะทางจิตชนิดอื่น ๆ อย่างภาวะซึมเศร้า โรควิตกกังวล และโรคไบโพลาร์ปัญหาในชีวิตประจำวัน
การรับประทานอาหารทีละมาก ๆ อาจส่งผลต่อบุคลิกภาพ ความมั่นใจในตนเอง รวมไปถึงการมีปฏิสัมพันธ์กันคนรอบข้างการป้องกัน Binge Eating Disorder