Illness name: pneumococcal disease
Description: Pneumococcal Disease คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus Pneumoniae ผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการตั้งแต่ระดับไม่รุนแรงอย่างเป็นไข้ ไอ เจ็บหน้าอก ปอดบวม ไปจนถึงอาการรุนแรงมาก เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด หรือเสียชีวิต เป็นต้น โดยเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้แพร่กระจายผ่านทางน้ำลายหรือเสมหะจากการไอ จาม และการใช้ภาชนะร่วมกัน และเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย อาการของ Pneumococcal Disease ในเบื้องต้น ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายเป็นไข้ เช่น ปวดหัว ตัวร้อน ปวดเมื่อยตามร่างกาย รู้สึกหนาว เหงื่อออกง่าย เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ทันทีหากเกิดอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้สูงติดต่อกันเกิน 3 วัน ง่วงซึมหรือสับสน ปากซีด คอแข็ง เสมหะมีเลือดปน มือเท้าเย็นผิดปกติ หายใจหอบเหนื่อย หายใจถี่ ชัก เป็นต้น เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของ Pneumococcal Disease หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ส่วนอาการที่เกิดในเด็กอาจแตกต่างไปจากผู้ใหญ่ แต่หากเกิดอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์โดยด่วน สาเหตุของ Pneumococcal Disease Pneumococcal Disease เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus Pneumoniae ซึ่งมีมากกว่า 90 สายพันธุ์ โดยแบคทีเรียชนิดนี้มักอาศัยอยู่ในลำคอและโพรงจมูกของผู้ที่ติดเชื้อ และแพร่กระจายจากคนสู่คนจากน้ำลายหรือเสมหะผ่านการไอ จาม จูบ หรือการใช้หลอดดูดร่วมกัน นอกจากนี้ บุคคลบางกลุ่มอาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้เพิ่มขึ้น เช่น การวินิจฉัย Pneumococcal Disease เนื่องจากเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus Pneumoniae สามารถอยู่ได้หลายส่วนในร่างกาย ทำให้การตรวจวิเคราะห์เพื่อหาเชื้อทำได้หลายวิธี ในขั้นแรกแพทย์มักจะตรวจร่างกายเบื้องต้นโดยใช้หูฟังและสอบถามประวัติการรักษาโรคต่าง ๆ ของผู้ป่วย หลังจากนั้นอาจตรวจด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้ การรักษา Pneumococcal Disease การรักษา Pneumococcal Disease นั้นทำได้หลายวิธี เบื้องต้นแพทย์อาจประเมินความรุนแรงของอาการ เพื่อดูว่าสามารถให้ผู้ป่วยดูแลตัวเองได้ที่บ้าน หรือจำเป็นต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาล หากผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง แพทย์อาจให้พักดูแลอาการได้ที่บ้านด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอและดื่มน้ำมาก ๆ และแพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียโดยใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลา 7 วัน ซึ่งแม้อาการจะดีขึ้นหรือหายก่อนยาจะหมดก็ควรกินยาต่อไปให้ครบกำหนด เพราะอาจเสี่ยงกลับมาเป็นซ้ำอีกได้ กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมาก จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยแพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือดและเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิดเป็นเวลา 7-10 วัน และอาจใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมด้วยหากผู้ป่วยติดเชื้อที่ปอดอย่างรุนแรงจนทำให้ไม่สามารถหายใจได้เอง เมื่อการรักษาเสร็จสิ้น แพทย์อาจนัดมาดูอาการอย่างต่อเนื่องประมาณ 6 สัปดาห์หลังออกจากโรงพยาบาล เพื่อดูว่าเชื้อยังสร้างความเสียหายกับร่างกายหรืออวัยวะที่เสี่ยงต่อการติดเชื้ออย่างปอดหรือไม่ ภาวะแทรกซ้อนของ Pneumococcal Disease ปกติแล้วเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus Pneumoniae จะไม่ทำให้เกิดอาการรุนแรง แต่หากติดเชื้อบริเวณปอดหรือเยื่อหุ้มสมอง ก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงชีวิตได้ โดยเชื้อ Streptococcus Pneumoniae อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ดังต่อไปนี้ ไซนัสอักเสบและหูติดเชื้อ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย มีอาการไม่รุนแรงและอาจเกิดซ้ำได้ แต่ในกรณีที่เป็นซ้ำบ่อยครั้ง อาจต้องผ่าตัดเพื่อใส่ท่อขนาดเล็กที่แก้วหู เพื่อช่วยระบายอากาศและป้องกันการสะสมของเหลวในหูชั้นกลาง ปอดบวม ปอดบวมหรือปอดอักเสบสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น ติดเชื้อบริเวณเยื่อหุ้มปอด เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เป็นต้น ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ติดเชื้อในกระแสเลือด เชื้ออาจเข้าสู่กระแสเลือดจนทำให้เกิดอาการอักเสบ ลิ่มเลือดอุดตัน หรืออวัยวะทำงานล้มเหลว ซึ่งนับเป็นภาวะที่อันตรายมาก เพราะหากรักษาไม่ทันเวลา อาจทำให้ไตวายและเสียชีวิตได้ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและพบได้มากที่สุด ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายต่อร่างกายในระยะยาวได้ เช่น ทำให้เด็กมีพัฒนาการช้า หรือสูญเสียการได้ยิน เป็นต้น หากอาการรุนแรงมากก็อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ ผู้ที่ติดเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus Pneumoniae แบบไม่รุนแรงนั้น มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตเพียงประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ แต่จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหากผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุ การป้องกัน Pneumococcal Disease เนื่องจากเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus Pneumoniae มีมากกว่า 90 สายพันธุ์ จึงทำให้ยากที่จะป้องกันได้อย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม อาจป้องกันการติดเชื้อในเบื้องต้นได้ด้วยวิธีการ ดังนี้ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ในการทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอลง ซึ่งเป็นเหตุให้เชื้อแบคทีเรีย Streptococcus Pneumoniae เข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น จึงมีความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้มากขึ้นความหมาย Pneumococcal Disease