Illness name: angioedema แองจีโออีดีมา
Description: Angioedema (แองจีโออีดีมา) เป็นอาการบวมของเนื้อเยื่อใต้ชั้นผิวหนัง มักพบบ่อยบริเวณรอบดวงตา ริมฝีปาก มือ เท้า และอวัยวะเพศ อาจมีผื่นบวมนูนคล้ายลมพิษ แต่มีขนาดใหญ่และมีอาการรุนแรงกว่า เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายตอบสนองต่อตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการแพ้ เช่น ยา อาหาร หรือสารบางชนิด เป็นต้น ส่วนใหญ่ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย และอาการบวมมักหายไปได้เองโดยไม่ต้องรักษา โดยทั่วไป Angioedema มักทำให้เกิดอาการบวมใต้ชั้นผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณรอบดวงตา ริมฝีปาก มือ เท้า หรืออวัยวะเพศ มีโอกาสเกิดผื่นคันจากลมพิษด้วย รวมทั้งอาจมีอาการอื่น ๆ เช่น บวมภายในลำคอ หลอดลม ปอด ลิ้น และเยื่อบุตา รู้สึกแสบร้อนและเจ็บบริเวณที่บวม หายใจลำบาก วิงเวียนศีรษะ เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่มีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์อาจมีอาการปวดท้องจากกระเพาะอาหารและลำไส้บวม จนอาจคลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วงตามมา หรือกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะอาจบวมจนส่งผลให้มีปัญหาในการปัสสาวะได้ ทั้งนี้ อาการ Angioedema ที่รุนแรงอาจส่งผลต่อการหายใจและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ หากมีอาการบวมร่วมกับหายใจลำบาก หายใจเร็ว เสียงแหบ อ่อนเพลีย หน้ามืดและหมดสติ ควรไปพบแพทย์ทันที Angioedema มีสาเหตุแตกต่างกันไปตามแต่ละประเภท ดังนี้ ในการวินิจฉัย Angioedema แพทย์จะตรวจดูบริเวณที่เกิดอาการบวม รวมทั้งซักถามอาการและประวัติสุขภาพ การใช้ยาหรือสมุนไพรของผู้ป่วย และประวัติการเกิดผื่นหรืออาการแพ้ของคนในครอบครัว นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจได้รับการทดสอบอื่น ๆ เพื่อหาสาเหตุของ Angioedema เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงอาจไม่จำเป็นต้องรับการรักษา แต่ควรหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้หรือปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางหรือรุนแรง แพทย์อาจให้ใช้ยาเพื่อลดอาการคันและบวม เช่น ยาต้านฮิสทามีน ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ ยาอิพิเนฟริน และยาสูดพ่นเพื่อเปิดทางเดินหายใจ นอกจากนี้ มีตัวยาอีกหลายชนิดที่อาจใช้บรรเทาอาการ Angioedema ได้ตามดุลยพินิจของแพทย์ ส่วนผู้ป่วย Angioedema ที่เกิดจากการใช้ยาบางชนิด แพทย์จะแนะนำให้หยุดใช้ยานั้น ๆ และเปลี่ยนไปใช้ยาชนิดอื่นแทน ส่วนใหญ่ Angioedema ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย และจะหายไปได้เองภายใน 1-3 วัน แต่หากเกิดอาการบริเวณลำคอก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ โดยคอและลิ้นที่บวมจะปิดช่องทางเดินหายใจและทำให้หายใจลำบาก นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการที่รุนแรงอย่างการเกิดปฏิกิริยาแพ้รุนแรงและเฉียบพลัน (Anaphylaxis) ซึ่งมักเกิดขึ้นภายในไม่กี่นาทีหลังจากได้รับสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายพร้อมกันจนอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้น หากพบอาการผิดปกติใด ๆ โดยเฉพาะอาการที่รุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที การป้องกัน Angioedema ที่ดีที่สุด คือ หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นสาเหตุหรือสงสัยว่าก่อให้เกิดอาการแพ้ และผู้ป่วยอาจลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้ซ้ำอีกหรือป้องกันอาการรุนแรงขึ้นได้ด้วยการปฏิบัติตามคำแแนะนำ ดังนี้ความหมาย แองจีโออีดีมา (Angioedema)
อาการของแองจีโออีดีมา
สาเหตุของแองจีโออีดีมา
เป็น Angioedema ที่เกิดจากการแพ้ โดยทั่วไประบบภูมิคุ้มกันจะปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อด้วยการผลิตสารภูมิต้านทานออกมากำจัดสิ่งแปลกปลอม แต่ในกรณีที่เกิดอาการแพ้ จะเป็นผลมาจากระบบภูมิคุ้มกันเข้าใจผิดว่าสิ่งที่ตรวจจับได้เป็นอันตราย จึงปล่อยสารเคมีอย่างฮิสทามีน (Histamine) ออกมา ทำให้หลอดเลือดขยายตัวและนำไปสู่อาการบวมใต้ชั้นผิวหนัง โดย Angioedema ประเภทนี้อาจเกิดจากสิ่งกระตุ้นที่ก่อให้เกิดอาการแพ้อย่างอาหารหรือยาบางชนิด สารทึบแสง ยางธรรมชาติ หรือการถูกแมลงสัตว์กัดต่อย โดยเฉพาะผึ้ง ต่อ และแตน
เป็น Angioedema ประเภทที่ยังระบุสาเหตุที่แน่ชัดของอาการบวมไม่ได้ แต่คาดว่าอาจเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน และมีปัจจัยบางอย่างที่กระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น ความเครียด การดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน การรับประทานอาหารรสจัด การสวมเสื้อผ้ารัดรูป ความร้อน ความเย็น การออกกำลังกายหนักเกินไป ปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ การขาดสารอาหารบางชนิดอย่างธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 และกรดโฟลิก หรือการติดเชื้อ โดยเฉพาะการติดเชื้อที่ฟัน ไซนัส และถุงน้ำดี เป็นต้น นอกจากนี้ อาการบวมอาจมีสาเหตุมาจากโรคเอสแอลอีหรือที่เรียกว่าโรคแพ้ภูมิตัวเอง และโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้เช่นกัน แต่มีโอกาสพบได้น้อยมาก โดย Angioedema ชนิดนี้มักมีอาการลมพิษร่วมด้วยและอาจเป็นอย่างเรื้อรังได้
เกิดจากผลข้างเคียงของยาบางประเภท อาจมีอาการทันทีที่รับประทานยา หรืออาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปีกว่าอาการจะปรากฏ โดยมีตัวยาหลักที่ทำให้เกิดอาการอย่างยาลดความดันโลหิตกลุ่มเอซีอี อินฮิบิเตอร์ และตัวยาอื่น ๆ ที่อาจส่งผลน้อยกว่า เช่น ยาแองจิโอเทนซินรีเซพเตอร์บล็อกเกอร์ ยาลดการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือ NSAIDs ยาต้านเศร้ากลุ่มเอสเอสอาร์ไอ ยาลดไขมันในกลุ่มสแตติน และยายับยั้งการหลั่งกรดกลุ่มโปรตอน ปั๊ม อินฮิบิเตอร์ เป็นต้น
เป็น Angioedema ที่มาจากกรรมพันธุ์ เกิดจากการกลายพันธุ์ของสารพันธุกรรมหรือยีน C1-INH ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างโปรตีน C1-INH ที่ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันดำเนินไปอย่างปกติได้ เมื่อขาดแคลนโปรตีนชนิดนี้จะทำให้เกิดอาการ Angioedema โดยยีนนี้ถ่ายทอดภายในครอบครัวจากรุ่นสู่รุ่นได้ ทั้งนี้ อาการบวมจาก Angioedema ชนิดนี้อาจเกิดขึ้นเองหรือถูกกระตุ้นโดยปัจจัยบางอย่าง เช่น การบาดเจ็บ การติดเชื้อ การผ่าตัด การรักษาทางทันตกรรม ความเครียด การตั้งครรภ์ รวมถึงการใช้ยาบางประเภทอย่างยาคุมกำเนิด ซึ่งผู้ป่วยมักไม่พบอาการจนกว่าจะเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นและพบได้น้อยลงในวัยผู้ใหญ่
การวินิจฉัยแองจีโออีดีมา
ทดสอบโดยหยดสารก่อภูมิแพ้ที่ท้องแขนของผู้ป่วยและสะกิดผิวหนังบริเวณนั้น หากผู้ป่วยแพ้สารใดก็จะทำให้เกิดตุ่มบวมแดงขึ้นมาภายใน 15 นาที วิธีนี้มีความปลอดภัยและค่าใช้จ่ายไม่สูง ซึ่งผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาต้านฮิสทามีนมาก่อนรับการทดสอบ เพื่อป้องกันผลลัพธ์คลาดเคลื่อน
หากแพทย์คาดการณ์ว่าสาเหตุอาจเกิดจาก Angioedema ที่มีมาแต่กำเนิด อาจตรวจเลือดเพื่อวัดระดับโปรตีนในเลือดที่เรียกว่า C1 Esterase Inhibitor ซึ่งเป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน หากผู้ป่วยมีระดับโปรตีนชนิดนี้ต่ำ แพทย์อาจวินิจฉัยได้ว่ามีความผิดปกติที่ส่งผลให้เกิดการอักเสบและบวมขึ้น
การรักษาแองจีโออีดีมา
ภาวะแทรกซ้อนของแองจีโออีดีมา
การป้องกันแองจีโออีดีมา