Illness name: ข้อเท้าหัก broken ankle
Description: ข้อเท้าหัก (Broken Ankle) เป็นการหักของกระดูกบริเวณข้อเท้าเนื่องมาจากได้รับแรงกระแทกหรือรับน้ำหนักมากเกินไป ส่วนมากมักเกิดจากอุบัติเหตุ การหกล้ม หรือการออกกำลังกายที่มีการขยับตัวท่าเดิมซ้ำกันเป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดอาการปวด บวม ฟกช้ำบริเวณข้อเท้า หรือข้อเท้าอาจอยู่ในลักษณะผิดรูป ผู้ป่วยที่ข้อเท้าหักอาจมีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยกระดูกที่หักอาจเป็นเพียงรอยแตกเล็ก ๆ หรืออาจมีการเคลื่อนตำแหน่งและทะลุออกมาบริเวณผิวหนัง ดังนั้น การรักษาข้อเท้าหักจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและตำแหน่งของกระดูกที่หัก ผู้ที่กระดูกข้อเท้าหักอาจเกิดอาการต่าง ๆ เช่น กระดูกบริเวณข้อเท้าที่หักอาจส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทหรือหลอดเลือดบริเวณใกล้เคียง ส่งผลให้บริเวณฝ่าเท้าเย็น ซีด ชา หรือขยับเท้าและนิ้วเท้าลำบาก อย่างไรก็ตาม หากพบอาการข้างต้นหรือคาดว่าข้อเท้าหัก ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที สาเหตุของข้อเท้าหักส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่ข้อเท้ารับแรงกระแทกหรือรับน้ำหนักมากเกินไป เช่น การหกล้ม หรือการเกิดอุบัติเหตุทางยานพาหนะ หรือในบางกรณี ข้อเท้าหักอาจเป็นอาการของกระดูกหักล้า (Stress Fracture) โดยมีลักษณะเป็นรอยแตกเล็ก ๆ บริเวณกระดูก เกิดจากการออกกำลังกายที่หักโหมเกินไป หรือการทำกิจกรรมที่มีการขยับตัวท่าเดิมซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานาน บางคนอาจเสี่ยงต่อการเกิดข้อเท้าหักมากขึ้นหากป่วยเป็นโรคกระดูกพรุน มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างหักโหม ไม่ได้อบอุ่นร่างกายหรือยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย เล่นกีฬาที่เสี่ยงต่อการถูกกระแทก หรือสวมใส่อุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสมในการออกกำลังกาย ในเบื้องต้นแพทย์จะตรวจดูบริเวณข้อเท้าที่ได้รับบาดเจ็บ โดยอาจขยับข้อเท้าของผู้ป่วย เพื่อตรวจว่าผู้ป่วยสามารถขยับข้อเท้าได้มากน้อยเท่าไร และอาจให้ผู้ป่วยลองเดินในระยะสั้น ๆ จากนั้นแพทย์จะทำการวินิจฉัยด้วยวิธีต่าง ๆ เพิ่มเติม เช่น ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนไปพบแพทย์ ผู้ที่ข้อเท้าหักควรหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวข้อเท้าเพื่อป้องกันกระดูกที่หักเคลื่อนตัว และอาจบรรเทาอาการปวดหรือบวมโดยการยกข้อเท้าที่หักให้สูงขึ้นและประคบเย็น หากมีอาการปวดสามารถรับประทานยาบรรเทาอาการปวดที่หาซื้อได้ทั่วไป อย่างพาราเซตามอล ในการรักษาข้อเท้าหัก แพทย์จะเลือกวิธีการรักษาโดยพิจารณาจากความรุนแรงของอาการ ลักษณะการหักของกระดูก อายุและโรคประจำตัวของผู้ป่วย เช่น ในระหว่างที่กระดูกกำลังฟื้นตัว แพทย์จะให้ผู้ป่วยใช้ไม้ค้ำยันขณะเดินเพื่อป้องกันข้อเท้าจากการรับน้ำหนัก โดยระยะเวลาการฟื้นตัวของกระดูกที่หักส่วนใหญ่อาจอยู่ที่ 6–8 สัปดาห์ หรืออาจมากกว่านั้น และเมื่อแพทย์ทำการถอดอุปกรณ์พยุงหรือเฝือก ผู้ป่วยอาจรู้สึกตึงบริเวณกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ซึ่งแพทย์จะแนะนำวิธีการบำบัดต่าง ๆ เพื่อลดอาการดังกล่าว ข้อเท้าหักมักไม่ค่อยก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน แต่บางรายอาจเกิดอาการต่าง ๆ ได้ เช่น ข้อเท้าหักมักเกิดจากอุบัติเหตุ จึงอาจลดความเสี่ยงได้โดยการปฏิบัติตามวิธีต่าง ๆ ดังนี้ เสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงโดยการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและออกแดดในช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้ร่างกายสร้างวิตามินดี หรือหากพบว่าร่างกายได้รับไม่เพียงพอ อาจเลือกรับประทานแคลเซียมวิตามินดีในรูปแบบอาหารเสริมแทนความหมาย ข้อเท้าหัก (Broken Ankle)
อาการข้อเท้าหัก
สาเหตุของข้อเท้าหัก
การวินิจฉัยอาการข้อเท้าหัก
การรักษาอาการข้อเท้าหัก
ภาวะแทรกซ้อนของอาการข้อเท้าหัก
การป้องกันอาการข้อเท้าหัก