Illness name: หูชั้นนอกอักเสบ
Description: หูชั้นนอกอักเสบ (Otitis Externa) เป็นอาการอักเสบบริเวณหูชั้นนอกที่เชื่อมต่อจากใบหูด้านนอกกับแก้วหู ส่งผลให้เกิดอาการปวดหู รู้สึกเจ็บเมื่อขยับใบหู มีของเหลวใสไหลออกจากหู ส่วนมากมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หากได้รับการรักษาที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือการติดเชื้ออย่างรุนแรงในภายหลัง หูชั้นนอกอักเสบยังรู้จักกันอีกในชื่อโรค Swimmer’s Ear เพราะมักเกิดขึ้นหลังการว่ายน้ำ โดยน้ำที่ค้างอยู่ภายในหูอาจทำให้เกิดความชื้นที่เอื้อให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดี จึงทำให้หูชั้นนอกเกิดการอักเสบ นอกจากนี้ การแคะขี้หูด้วยการใช้นิ้วมือ สำลีก้านหรือวัตถุอื่น ๆ ก็อาจทำให้หูชั้นนอกอักเสบได้เช่นกัน เพราะจะทำให้เยื่อบุผิวหนังบริเวณช่องหูถูกทำลาย อาการหูชั้นนอกอักเสบในช่วงแรกมักไม่รุนแรง แต่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมหรือเกิดการติดเชื้อจนลุกลามก็อาจทำให้อาการรุนแรงขึ้น แพทย์มักแบ่งอาการที่เกิดขึ้นตามระดับความรุนแรงของโรค ดังนี้ อาการหูชั้นนอกอักเสบพบได้บ่อยในผู้ที่ว่ายน้ำบ่อย โดยเฉพาะในเด็กที่จะมีโอกาสติดเชื้อที่หูชั้นนอกได้ง่าย เนื่องจากขนาดช่องหูของเด็กนั้นมักมีขนาดเล็กกว่าช่องหูของผู้ใหญ่ เมื่อน้ำเข้าหูจึงมักค้างอยู่ภายในและเกิดการติดเชื้อได้ง่ายกว่า อาการที่พบบ่อยในเด็กมักเป็นอาการปวดหู ส่วนในเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถสื่อสารได้ก็อาจสังเกตได้จากอาการต่อไปนี้ หากผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวด คันบริเวณหูหรือช่องหู ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา อย่างไรก็ตาม ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการเจ็บปวดรุนแรง ขี้หูหนา มีกลิ่นหรือเลือดไหลออกจากหู มีไข้ และการได้ยินลดลงจนเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ โดยปกติแล้วภายในช่องหูชั้นนอกจะมีกลไกการป้องกันสิ่งสกปรกและการติดเชื้อ ส่วนแรกเป็นต่อมผลิตขี้หู ซึ่งจะผลิตขี้หูที่มีลักษณะเป็นฟิล์มบาง ๆ มีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อน ๆ ไม่ละลายน้ำอยู่ภายในช่องหู เพื่อช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ดักจับสิ่งสกปรก เซลล์ผิวที่ตายแล้ว และสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ ไม่ให้เข้าไปภายในหู ขณะเดียวกันยังมีกระดูกอ่อนปิดช่องหู เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้าไปในหูได้ หูชั้นนอกอักเสบ เกิดได้จาก 2 สาเหตุหลัก คือ การติดเชื้อและความผิดปกติของผิวหนัง แต่จะพบได้บ่อยจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ในบางกรณีอาจเกิดได้จากการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อรา นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่เอื้อต่อการเกิดหูชั้นนอกอักเสบ ได้แก่ น้ำสกปรกหรือมีแบคทีเรียมากเข้าไปในหู ว่ายน้ำเป็นประจำ ใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดรูหูอย่างรุนแรง ใช้ที่อุดหูหรือหูฟังเป็นประจำ หรือสภาพผิวหนังแพ้ง่าย แพทย์จะวินิจฉัยด้วยการสอบถามอาการ ตรวจสอบประวัติสุขภาพ และตรวจร่างกายเบื้องต้นของผู้ป่วย หากพบการติดเชื้อต่อเนื่อง แพทย์จะตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติม ดังนี้ แพทย์มักจะรักษาหูชั้นนอกอักเสบได้โดยไม่ต้องทดสอบเพิ่มเติม เนื่องจากการวินิจฉัยเบื้องต้นจะระบุสาเหตุและอาการที่เกิดขึ้นได้ค่อนข้างชัดเจน โดยเป้าหมายของการรักษา คือ การรักษาช่องหูให้กลับมาเป็นปกติและหยุดการติดเชื้อภายในหู แพทย์อาจใช้วิธีการรักษาหูชั้นนอกอักเสบ ดังนี้ แพทย์จะใช้เครื่องมือเขี่ยขี้หู (Ear Curette) หรือเครื่องมือดูดขี้หู (Suction Device) ในการกำจัดสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่อุดตันภายในช่องหู เพื่อให้สามารถใช้ยาหยอดลงไปในช่องหูได้ แพทย์จะสั่งจ่ายยาหยอดหูที่มีส่วนประกอบต่างกัน โดยจะพิจารณาตามประเภทและความรุนแรงของการติดเชื้อ เช่น ยาหยอดหูชนิดที่มียาฆ่าเชื้อหรือมีกรดอะเซติค (Acetic Acid) ยาสเตียรอยด์ ยาต้านเชื้อรา หรือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น รวมทั้งจะแนะนำวิธีการใช้ยาหยอดหูที่เหมาะสมให้แก่ผู้ป่วย ดังนี้ ในบางกรณี การรับประทานยาแก้ปวดอาจช่วยบรรเทาอาการปวดแก่ผู้ป่วยได้ เช่น ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ยานาพรอกเซน (Naproxen) หรือยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) ในกรณีที่อาการปวดรุนแรง แพทย์อาจสั่งจ่ายยาแก้ปวดที่ออกฤทธิ์รุนแรงขึ้นกว่าให้เพิ่มเติมหรืออาจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะหากอาการติดเชื้อยังไม่ดีขึ้นหลังได้รับการรักษา ถ้ารูหูส่วนนอกอุดตันจากการบวม อักเสบ หรือมีสิ่งสกปรกภายในช่องหูมากเกินไป ทำให้ไม่สามารถหยอดยาหยอดหูลงไปได้ แพทย์อาจใช้ผ้าก๊อซเล็ก ๆ (Ear Wick) ชุบยาหยอดหูที่มีส่วนผสมของยาสเตียรอยด์เพื่อช่วยลดอาการบวม โดยจะใส่ไว้ในรูหูชั้นนอกประมาณ 24 ชั่วโมง เพื่อช่วยให้ยาหยอดหูไหลเข้าไปส่วนในของช่องหู เมื่อรูหูส่วนนอกยุบลงและมีรูให้ยาหยอดหูผ่านเข้าไปได้ จึงจะนำผ้าก๊อซออก หากมีอาการหูชั้นนอกอักเสบและปล่อยไว้โดยไม่ได้รักษาหรืออาการไม่ดีขึ้น อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ ดังนี้ หูชั้นนอกอักเสบสามารถป้องกันได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้ความหมาย หูชั้นนอกอักเสบ
อาการของหูชั้นนอกอักเสบ
สาเหตุของหูชั้นนอกอักเสบ
การติดเชื้อ
หูชั้นนอกอักเสบจากการติดเชื้อมักเกิดจากสาเหตุที่ทำให้กลไกการป้องกันอ่อนแอลงจนเชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีขึ้น ดังนี้
ความผิดปกติของผิวหนัง
ในกรณีของหูชั้นนอกอักเสบแบบไม่ติดเชื้ออาจเกิดจากอาการผิดปกติของโรคผิวหนังที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ก่อนแล้ว เช่น โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) โรคสะเก็ดเงิน โรคผิวหนังอักเสบ (Seborrhoeic Dermatitis) และโรคผื่นผิวหนังจากภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Cutaneous Lupus Erythematosus) เป็นต้นการวินิจฉัยหูชั้นนอกอักเสบ
การรักษาหูชั้นนอกอักเสบ
ทำความสะอาดช่องหู
การรักษาด้วยการใช้ยา
การรักษาด้วยวิธีการอื่น
ภาวะแทรกซ้อนของหูชั้นนอกอักเสบ
การป้องกันหูชั้นนอกอักเสบ