Illness name: หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
Description: หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute Coronary Syndrome) เป็นภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันที่มักเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ส่งผลให้เนื้อเยื่อหัวใจได้รับความเสียหาย โดยผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง คลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ และหายใจลำบาก ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเป็นภาวะที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตเนื่องจากเลือดในหัวใจไม่ไหลเวียนหรือไหลเวียนน้อยกว่าปกติ เมื่อผู้ป่วยมีอาการจึงจำเป็นต้องนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยด่วน โดยแพทย์จะรักษาตามอาการและสาเหตุที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันอาจมีอาการแตกต่างกันไปในขึ้นอยู่กับเพศ อายุและโรคประจำตัว เช่น อย่างไรก็ตาม เพศหญิง ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยเบาหวานอาจมีอาการของภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันโดยไม่มีอาการเจ็บหน้าอกเกิดขึ้น ทั้งนี้ อาการของหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมักเกิดขึ้นอย่างไม่ทันตั้งตัวและอาจทวีความรุนแรงขึ้นแม้จะพักผ่อนแล้วก็ตาม หากรู้สึกเจ็บหน้าอกหรือมีอาการอื่น ๆ ที่คล้ายกับอาการของภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันควรนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด เนื่องจากเป็นอาการที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเกิดขึ้นจากการอุดตันภายในหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งมีหน้าที่ลำเลียงเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนสูงและสารอาหารเข้าสู่กล้ามเนื้อหัวใจ เนื่องมาจากการก่อตัวของคราบไขมัน เซลล์ หรือสารอื่น ๆ บนผนังหลอดเลือด โดยการอุดตันของหลอดเลือดอาจเกิดขึ้นได้ใน 2 รูปแบบ คือ หลอดเลือดแคบลงเรื่อย ๆ จนเกิดการอุดตัน หรือคราบที่เกาะในหลอดเลือดหลุดลอกและชิ้นส่วนที่หลุดนั้นเข้าไปอุดตันภายในหลอดเลือด เมื่อหัวใจไม่สามารถลำเลียงออกซิเจนได้อย่างปกติจะส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเนื่องจากไม่มีออกซิเจนหล่อเลี้ยง เนื้อเยื่อหัวใจถูกทำลายและเกิดภาวะหัวใจวายในที่สุด ในกรณีที่ออกซิเจนเข้าสู่หัวใจในปริมาณน้อยจะส่งผลให้หัวใจทำงานผิดปกติ โดยอาจเกิดขึ้นชั่วคราวหรือเกิดขึ้นอย่างถาวร อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันจะคล้ายกันกับโรคหัวใจอื่น ๆ เช่น แพทย์จะวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันจากการตรวจร่างกายเบื้องต้น สอบถามเกี่ยวกับอาการและประวัติทางการแพทย์ หากสงสัยว่าผู้ป่วยมีอาการของภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน แพทย์จะวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อตรวจหาสาเหตุและกำหนดแนวทางการรักษา เช่น เป็นการตรวจโดยใช้เครื่องมือแนบผิวหนังและประเมินการทำงานของหัวใจ ในบางกรณีช่วยให้สามารถระบุตำแหน่งที่เกิดการอุดตันหรือบริเวณห้องหัวใจที่มีความผิดปกติ เพื่อตรวจดูความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการตายของเซลล์ในหัวใจ หากมีค่าผิดปกติจะบ่งชี้ได้ว่าผู้ป่วยมีภาวะหัวใจวาย แพทย์จะฉีดสีผ่านสายสวนเข้าไปยังหลอดเลือดบริเวณแขนหรือขาหนีบก่อนถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซเรย์ ซึ่งภาพที่ได้จากการเอกซเรย์จะแสดงให้เห็นถึงการไหลเวียนของเลือดภายในหัวใจและช่วยระบุบริเวณที่มีการติดหรืออุดตันภายในหลอดเลือด เป็นการใช้คลื่นเสียงในการจำลองภาพการทำงานของหัวใจ โดยช่วยให้แพทย์สามารถเห็นการสูบฉีดเลือดภายในหัวใจและระบุสาเหตุความผิดปกติภายในหัวใจ เป็นการใช้เครื่องมือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อดูภาพตัดขวางของหัวใจและตำแหน่งของหลอดเลือดแดงในบริเวณที่ตีบหรืออุดตัน แพทย์จะใช้การทดสอบนี้เฉพาะในผู้ป่วยไม่มีอาการของภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหรืออาการที่ร้ายแรงของโรคหัวใจชนิดอื่น ๆ โดยวิธีนี้จะแสดงการทำงานของหัวใจขณะออกกำลังกาย ในบางกรณีอาจใช้ยาเพื่อเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจแทนการออกกำลังกายจริง นอกจากนี้ ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจหรือทำเอ็กโคหัวใจควบคู่ไปด้วยระหว่างการออกกำลังกาย เพื่อตรวจหาความผิดปกติในการทำงานของหัวใจ แพทย์จะมุ่งเน้นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการ เพิ่มการไหลเวียนโลหิตและฟื้นฟูการทำงานของหัวใจโดยเร็วที่สุด ในระยะยาวจะเป็นการรักษาเพื่อให้หัวใจทุกส่วนสามารถกลับทำงานได้อย่างปกติ ควบคุมและลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวาย โดยวิธีการรักษาภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันจะขึ้นอยู่กับอาการและสาเหตุที่ต่างกันไปในแต่ละคน ดังนี้ ยาที่ใช้ในการบรรเทาอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเบื้องต้น เช่น การผ่าตัดจะช่วยให้เลือดสามารถไหลเวียนไปยังกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีขึ้น โดยแพทย์อาจผ่าตัดด้วยวิธีต่อไปนี้ แพทย์จะสอดท่อขนาดเล็กเข้าไปในหลอดเลือดบริเวณที่ตีบหรืออุดตันและใช้เครื่องมือลักษณะพิเศษคล้ายบอลลูนขยายหลอดเลือดนั้นให้กว้างขึ้น ในบางกรณีอาจนำขดลวดใส่เข้าไปในบริเวณดังกล่าวเพื่อถ่างขยายหลอดเลือดไม่ให้กลับมาตีบซ้ำและช่วยให้เลือดสามารถไหลเวียนได้ตามปกติ แพทย์จะนำชิ้นส่วนของหลอดเลือดจากบริเวณอื่นในร่างกายมาสร้างทางไหลเวียนใหม่แทนหลอดเลือดเดิมในบริเวณที่มีการอุดตัน หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น หัวใจวายเฉียบพลัน ภาวะช็อกจากโรคหัวใจ หัวใจเต้นเร็วหรือช้ากว่าผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจฉีกขาดส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจถูกบีบอัดหรือลิ้นหัวใจรั่วอย่างรุนแรง หัวใจล้มเหลวเนื่องจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้มากพอ โรคหลอดเลือดสมอง หรือเสียชีวิต เป็นต้น หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันสามารถลดความเสี่ยงลงได้ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่นความหมาย หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute Coronary Syndrome)
อาการของหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
สาเหตุของหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
การวินิจฉัยหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG/ECG)
การตรวจเลือด
การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiogram: CAG)
การทำเอ็กโคหัวใจ (Echocardiogram)
การทำซีทีสแกนวินิจฉัยหลอดเลือด (CT Scan Angiogram)
การตรวจสมรรถภาพของหัวใจ (Exercise Stress Test)
การรักษาหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
รักษาโดยการใช้ยา
การผ่าตัด
ภาวะแทรกซ้อนของหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
การป้องกันหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน