Illness name: ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
Description: ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum Depression) เป็นปัญหาสุขภาพจิตที่คุณแม่บางคนอาจต้องเผชิญหลังคลอดบุตร โดยอาจมีอาการซึมเศร้า เสียใจ วิตกกังวล และอ่อนเพลียมากจนไม่สามารถเลี้ยงลูกหรือทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ หากมีอาการเหล่านี้ คุณแม่ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาอย่างเหมาะสม และหากมีอาการรุนแรงอย่างหลอน มีความคิดทำร้ายตัวเองหรือลูกน้อย หรือแม้แต่คิดฆ่าตัวตาย คนรอบข้างควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที อาการของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมักเกิดขึ้นในช่วงปีแรกหลังจากคลอดบุตร โดยอาการที่มักพบได้ มีดังนี้ คุณแม่ที่มีอาการซึมเศร้าหลังคลอดควรไปพบแพทย์หากอาการข้างต้นไม่หายไปภายใน 2 สัปดาห์ มีอาการรุนแรงขึ้น หรืออาการเหล่านั้นส่งผลกระทบต่อการดูแลลูกน้อยและการใช้ชีวิตประจำวัน และควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนที่สุดหากคุณแม่มีความคิดฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเองและเด็ก โดยคนใกล้ชิดควรช่วยดูแลเด็กชั่วคราว เพราะหากปล่อยไว้อาจเป็นอันตรายต่อตัวแม่และเด็กได้ สาเหตุของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลายอย่างรวมกัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปัจจัยที่คุณแม่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน สภาพแวดล้อม อารมณ์ หรือพันธุกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ คุณแม่อาจมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมากขึ้น หากมีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้ การวินิจฉัยภาวะซึมเศร้าหลังคลอด อาการของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในผู้หญิงแต่ละคนค่อนข้างแตกต่างกันไป หากสงสัยว่าตนเองอาจมีภาวะนี้จึงควรไปพบแพทย์ โดยเบื้องต้นแพทย์จะพูดคุยและสอบถามอาการเพื่อระบุว่าเป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอดที่เกิดขึ้นชั่วคราวหรือเป็นภาวะซึมเศร้าที่รุนแรง นอกจากนั้น แพทย์อาจให้ทำแบบทดสอบภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย หรืออาจเจาะเลือดไปตรวจหากสงสัยว่าอาการดังกล่าวมีสาเหตุมาจากภาวะอื่น เช่น ไฮโปไทรอยด์ เป็นต้น การรักษาภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นปัญหาสุขภาพที่ต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์ และไม่ใช่ความรู้สึกอ่อนแอเท่านั้น ดังนั้น ผู้ป่วยควรบอกปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนใกล้ชิดอย่างตรงไปตรงมาและซื่อตรงกับตัวเอง เพื่อให้แพทย์และคนใกล้ชิดสสามารถร่วมมือกันช่วยให้การรักษาเป็นไปในทางที่ดี โดยในขณะที่ทำการรักษาผู้ป่วยควรดูแลตัวเองควบคู่ไปด้วย เช่น ออกกำลังกาย หรือเข้าร่วมกลุ่มให้คำปรึกษา เป็นต้น โดยการรักษาภาวะซึมเศร้าหลังคลอดจะคล้ายกับการรักษาโรคซึมเศร้า วิธีการรักษาที่แพทย์มักใช้ มีดังนี้ สำหรับการเลือกวิธีการรักษา แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยและพิจารณาว่าการรักษาใดเหมาะสมและปลอดภัยต่อผู้ป่วยมากที่สุด โดยอาจใช้การรักษาด้วยวิธีจิตบำบัดหรือใช้ยาเพียงอย่างเดียว แต่ผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้ทั้ง 2 วิธีควบคู่กัน ซึ่งหากการรักษาเป็นไปด้วยดี ผู้ป่วยจะดีขึ้นภายในเวลา 6 เดือน แต่ก็อาจใช้เวลานานกว่านั้น และบางรายอาจกลายเป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรังได้ จึงควรเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องตามที่แพทย์กำหนดแม้จะหายดีแล้วก็ตาม เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำในอนาคต ภาวะแทรกซ้อนของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจได้ในระยะยาว และอาจส่งผลกระทบต่อคนในครอบครัวได้ โดยเฉพาะตัวผู้ป่วยเอง เช่น ทำให้คุณแม่กลายเป็นโรคซึมเศร้า และส่งผลต่อความสามารถในการเลี้ยงดูทารกจนทำให้ทำหน้าที่แม่ได้อย่างไม่เต็มความสามารถ เป็นต้น และแม้จะรับการรักษาแล้วก็ยังมีความเสี่ยงที่คุณแม่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้ในภายหลังเช่นกัน ส่วนผลกระทบต่อลูก ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอาจทำให้ทารกมีปัญหาด้านอารมณ์และพฤติกรรม เช่น นอนหลับยาก ไม่ยอมกินนมหรืออาหาร ร้องไห้มากผิดปกติ เป็นโรคสมาธิสั้น หรือมีปัญหาพัฒนาการทางภาษา เป็นต้น นอกจากนี้ คุณพ่อของเด็กก็อาจได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในครอบครัวไปด้วย ซึ่งทำให้เสี่ยงเกิดภาวะซึมเศร้าสูงขึ้น เพราะจากเดิมคุณพ่อมือใหม่ก็เสี่ยงเกิดภาวะนี้ได้อยู่แล้วแม้ภรรยาจะไม่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดก็ตาม การป้องกันภาวะซึมเศร้าหลังคลอด คุณแม่สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด โดยดูแลสุขภาพกายใจให้ดีอยู่เสมอ เพื่อช่วยรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและความเครียดที่อาจเกิดขึ้นหลัังจากคลอดบุตร ดังนี้ความหมาย ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด