Illness name: TOS Thoracic Outlet Syndrome
Description: TOS (Thoracic Outlet Syndrome) หรือกลุ่มอาการทีโอเอส เกิดจากการกดทับของเส้นเลือดและเส้นประสาทบริเวณระหว่างต้นคอกับรักแร้ไปจนถึงด้านหน้าของไหล่และหน้าอก โดยกลุ่มอาการแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ ทั้งนี้ TOS สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่มักพบได้ในผู้หญิงอายุ 20-40 ปีเป็นส่วนใหญ่ และสามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็อาจกลับมาเป็นซ้ำได้เช่นกัน ผู้ป่วยอาจมีอาการที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่ามีการกดทับบริเวณเส้นประสาทหรือหลอดเลือด ซึ่งหากเกิดการกดทับที่หลอดเลือดก็อาจทำให้มีอาการ ดังต่อไปนี้ ส่วนการกดทับที่เส้นประสาทบริเวณคอจะทำให้เกิดอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท ดังนี้ ทั้งนี้ หากอาการที่เกิดเริ่มรุนแรงขึ้น หรือมีอาการอย่างเรื้อรังติดต่อกันเป็นเวลานานโดยไม่มีท่าทีจะดีขึ้น ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจอย่างละเอียดต่อไป TOS เป็นกลุ่มอาการที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด โดยอาการจะแสดงให้เห็นเมื่อหลอดเลือดหรือเส้นประสาทถูกกดทับหรือบีบรัด ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ การมีกระดูกซี่โครงบริเวณคองอกเกินมาแต่กำเนิด หรือมีประวัติกระดูกไหปลาร้าหักจนทำให้ช่องว่างระหว่างหลอดเลือดกับเส้นประสาทแคบลง รวมถึงอาจมีเนื้อเยื่อบริเวณคอที่เจริญเติบโตผิดปกติ นอกจากนี้ บุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้ อาจมีโอกาสเกิดกลุ่มอาการ TOS ได้มากกว่าคนทั่วไป กลุ่มอาการ TOS อาจทำให้มีอาการแตกต่างกันไปในแต่ละคน การวินิจฉัยจึงอาจทำได้ค่อนข้างยาก ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามอาการ ซักประวัติสุขภาพและการรักษาโรคต่าง ๆ รวมทั้งตรวจร่างกายด้วย หากสงสัยว่าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติหรือเข้าข่ายกลุ่มอาการ TOS แพทย์อาจตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น โดยปกติแล้ว อาการของ TOS มักไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าจะใช้วิธีใดในการรักษาผู้ป่วย ซึ่งในเบื้องต้นหากผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวเกินแพทย์จะให้ผู้ป่วยลดน้ำหนัก เนื่องจากน้ำหนักตัวที่มากขึ้นจะเพิ่มเกิดแรงกดบริเวณกล้ามเนื้อไหล่ และอาจแนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อลดผลกระทบที่เกิดจากโรคนี้ เช่น นอกจากนี้ การฝังเข็มก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาที่อาจช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ ซึ่งผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์เพื่อความปลอดภัยก่อนรักษาด้วยวิธีนี้เสมอ อย่างไรก็ตาม หากการรักษาด้วยวิธีข้างต้นแล้วไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร หรือไม่สามารถบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ แพทย์อาจให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัด เพื่อนำบางส่วนของกระดูกที่กดทับอยู่ออกไป ซึ่งจะทำให้อาการกดทับหรือบีบรัดหายไป หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที การกดทับอาจทำให้เกิดความเสียหายที่เส้นประสาทบริเวณคอ และทำให้เกิดอาการที่อันตรายมากขึ้น เช่น อาการบวมที่แขนอย่างถาวร เส้นประสาทเสียหายอย่างถาวร เกิดแผลที่นิ้วเนื่องจากเลือดไหลเวียนไปไม่เพียงพอจนอาจเกิดเนื้อตายในที่สุด เป็นต้น นอกจากนี้ กลุ่มอาการ TOS ยังอาจก่อให้เกิดลิ่มเลือดและโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในหลอดเลือดปอดได้ด้วยเช่นกัน ผู้ป่วยจึงควรรีบเข้ารับการรักษาทันทีหากเกิดอาการในกลุ่มอาการ TOS เพื่อความปลอดภัย กลุ่มอาการ TOS นั้นไม่มีวิธีป้องกัน แต่หากเป็นแล้วก็สามารถรักษาให้อาการบรรเทาลงและลดความเสี่ยงในการกลับมาเป็นซ้ำ โดยผู้ป่วยควรรีบรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันเส้นประสาทเสียหายอย่างถาวร นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำด้วยวิธีดังต่อไปนี้ความหมาย กลุ่มอาการทีโอเอส (TOS)
อาการของกลุ่มอาการทีโอเอส
สาเหตุของกลุ่มอาการทีโอเอส
การวินิจฉัยกลุ่มอาการทีโอเอส
การรักษากลุ่มอาการทีโอเอส
ภาวะแทรกซ้อนของกลุ่มอาการทีโอเอส
การป้องกันกลุ่มอาการทีโอเอส