Illness name: spina bifida
Description: Spina Bifida หรือโรคสไปนา ไบฟิดา เป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดที่กระดูกสันหลัง ไขสันหลัง เนื่องจากมีการพัฒนาอย่างไม่สมบูรณ์ ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างการจัดตัวของกระดูกสันหลังและไขสันหลังตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ทำให้เกิดช่องโหว่หรือช่องเปิดบริเวณหลัง ไขสันหลังและเส้นประสาทที่แตกแขนงออกมาจนอาจได้รับความเสียหาย ความผิดปกติเหล่านี้อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติในการควบคุมระบบปัสสาวะและการเดินได้ โรคดังกล่าวจัดอยู่กลุ่มภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (Neural Tube Defect) ซึ่งแบ่งออกได้หลายชนิด โดยความรุนแรงจะมีหลายระดับแตกต่างออกไปตามชนิดที่ผู้ป่วยเป็น ในกรณีที่รุนแรง ผู้ป่วยจะมีถุงยื่นจากไขสันหลังออกมาอยู่ภายนอกร่างกายอย่างเห็นได้ชัดเจน ลักษณะอาการของ Spina Bifida แบ่งออกได้ 3 รูปแบบตามชนิดของโรค คือ เป็นรูปแบบของอาการที่มีความรุนแรงน้อยที่สุดและพบได้มากที่สุด ไม่มีช่องเปิดบริเวณหลัง ไม่มีถุงยื่นนอกร่างกาย แต่ภายในมีช่องโหว่ของกระดูกสันหลัง อาจมีรอยเล็ก ๆ กลุ่มขนและไขมันส่วนเกินอยู่บริเวณผิวหนังส่วนหลัง ซึ่งรูปแบบนี้มักจะไม่สร้างความเสียหายให้กับไขสันหลังหรือเส้นประสาท และผู้ป่วยส่วนมากมักไม่ทราบว่าตนเองมีอาการดังกล่าว ผู้ป่วยในกลุ่มอาการนี้จะมีช่องเปิดบริเวณหลังและมีถุงนอกร่างกาย แต่ถุงดังกล่าวไม่มีส่วนประกอบของไขสันหลังและเส้นประสาท มักไม่ก่อให้เกิดอาการที่รุนแรงเนื่องจากเส้นประสาทโดยรอบอาจได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เป็นรูปแบบที่มีความรุนแรงที่สุด ผู้ป่วยจะมีช่องเปิดและมีถุงอยู่นอกร่างกายที่มักเกิดขึ้นบริเวณกลางหรือหลังช่วงล่าง ซึ่งถุงดังกล่าวมีส่วนประกอบของไขสันหลังและเส้นประสาท และจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อไขสันหลังและเส้นประสาทเหล่านั้น ผู้ป่วยจึงมักมีความบกพร่องทางด้านร่างกายตามความรุนแรงของโรค เช่น ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ เข้าห้องน้ำลำบาก ไม่มีความรู้สึกบริเวณช่วงขาและไม่สามารถขยับขาหรือเท้าได้ เป็นต้น โรค Spina Bifida ไม่สามารถระบุสาเหตุทั้งหมดได้อย่างชัดเจน แต่ปัจจัยเสี่ยงสำคัญคือการขาดกรดโฟลิกหรือวิตามินบี 9 ของมารดาขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากกรดโฟลิกมีหน้าที่สำคัญในขั้นตอนของสร้างและพัฒนาร่างกายของทารก การรับประทานอาหารที่มีกรดโฟลิกไม่เพียงพอช่วงก่อนการตั้งครรภ์และในระหว่างการตั้งครรภ์ระยะแรกจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรค Spina Bifida และภาวะหลอดประสาทไม่ปิดชนิดต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ได้แก่ พันธุกรรม มีไข้สูงในระหว่างตั้งครรภ์ ผู้ตั้งครรภ์ที่มีโรคลมชักที่รับประทานยากันชักอย่างวาลโพรอิค แอซิด (Valproic Acid) ซึ่งเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ผู้ตั้งครรภ์ที่มีโรคเบาหวานและไม่สามารถควบคุมน้ำตาลได้ดี และผู้ที่เป็นโรคอ้วนก่อนตั้งครรภ์ แพทย์อาจพบความผิดปกติบริเวณกระดูกสันหลังจากการตรวจอัลตราซาวน์คัดกรองความพิการโดยกำเนิดระหว่างช่วงอายุครรภ์ 18-21 สัปดาห์ หากสงสัยภาวะนี้แพทย์อาจทำการตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น หากสงสัย Spina Bifida ชนิดมองไม่เห็นภายนอก เมื่อทารกคลอดแล้ว แพทย์มักจะทำอัลตราซาวด์ทารกที่อายุต่ำกว่า 3 เดือน แต่หากเด็กมีอายุ 3 เดือนขึ้นไป แพทย์จะทำการตรวจด้วยเอ็มอาร์ไอ สแกน หรือซีที สแกน เพื่อยืนยันการวินิจฉัย โรค Spina Bifida ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แพทย์จะรักษาตามอาการของผู้ป่วยแต่ละราย เนื่องจากอาการและความรุนแรงมีความหลากหลาย ผู้ป่วยในกลุ่มโรคสไปนา ไบฟิดาชนิดมองไม่เห็นภายนอกอาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา แต่ผู้ป่วยในกลุ่มโรคสไปนา ไบฟิดาชนิดเปิด จำเป็นจะต้องเข้ารับการรักษาด้วยวิธีดังนี้ อย่างไรก็ตาม แม้จะได้รับการผ่าตัดไปแล้ว ผู้ป่วยในกลุ่มโรคสไปนา ไบฟิดาชนิดเมนนิ้งโกซีล และไมอีโลเมนนิ้งโกซีล อาจยังมีอาการบางอย่างหลงเหลืออยู่และจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่อง เช่น ความผิดปกติในระบบขับถ่ายและการเดิน เป็นต้น ซึ่งแพทย์อาจให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดอีกครั้งหรือรับการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติม โรค Spina Bifida อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น บาดเจ็บขณะคลอด ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะบ่อยครั้ง เกิดภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ ไม่สามารถควบคุมระบบขับถ่าย เกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีอาการขาอ่อนแรง เป็นต้น สิ่งสำคัญในการป้องกันโรค Spina Bifida คือการรับประทานกรดโฟลิก 400 ไมโครกรัมต่อวัน ขณะวางแผนตั้งครรภ์และช่วง 12 อาทิตย์แรกของการตั้งครรภ์ โดยอาจทำร่วมกับการรับประทานผักที่อุดมไปด้วยกรดโฟลิกธรรมชาติ เช่น บล็อคโคลี่ ผักปวยเล้ง หรือถั่วชิคพี เป็นต้น ในกรณีของผู้ป่วยโรคลมบ้าหมูหรือผู้ป่วยโรคอารมณ์ผิดปกติที่กำลังใช้ยากันชัก โดยเฉพาะยาวาลโพรอิค แอซิด อาจจำเป็นจะต้องได้รับกรดโฟลิกในปริมาณที่สูงกว่าปกติ ซึ่งกรดโฟลิกในรูปแบบเม็ดสามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายยาทั่วไป และควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือปรึกษาร่วมกับแพทย์ควบคู่ไปด้วย ทั้งนี้ ผู้ที่สมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคสไปนา ไบฟิดาหรือภาวะหลอดประสาทไม่ปิดชนิดต่าง ๆ เคยตั้งครรภ์และได้รับผลกระทบจากภาวะหลอดประสาทไม่ปิด ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วนและผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องการตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อทารกความหมาย Spina Bifida
อาการ Spina Bifida
สไปนา ไบฟิดาชนิดมองไม่เห็นภายนอก (Spina Bifida Occulta)
สไปนา ไบฟิดาชนิดเมนนิ้งโกซีล (Meningocele)
สไปนา ไบฟิดาชนิดไมอีโลเมนนิ้งโกซีล (Myelomeningocele)
สาเหตุ Spina Bifida
การวินิจฉัย Spina Bifida
การรักษา Spina Bifida
ภาวะแทรกซ้อนของ Spina Bifida
การป้องกัน Spina Bifida