Illness name: ไขสันหลังอักเสบ transverse myelitis
Description: Transverse Myelitis (ไขสันหลังอักเสบ) เป็นการอักเสบบริเวณไขสันหลังที่มักจะส่งผลต่อเซลล์ประสาทและปลอกหุ้มใยประสาทที่เรียกว่ามัยอีลิน (Myelin) ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวด กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นอัมพาต มีปัญหาด้านประสาทสัมผัส กระเพาะปัสสาวะและลำไส้ทำงานผิดปกติ ซึ่งสาเหตุอาจเป็นผลมาจากการติดเชื้อ โรคระบบภูมิคุ้มกัน โรคปลอกประสาท หรือปัญหาสุขภาพบางประการ โดยทั่วไป ผู้ป่วย Transverse Myelitis อาจใช้เวลารักษาตัวนานหลายเดือนหรือหลายปี ซึ่งแม้จะเข้ารับการรักษาแล้ว บางรายอาจมีอาการหลงเหลืออยู่บางส่วน ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจพิการหรือไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ตามปกติ และหากผู้ป่วย Transverse Myelitis มีสาเหตุจากโรคประจำตัวก็อาจกลับมาเป็นซ้ำได้ สัญญาณอาการของ Transverse Myelitis อาจปรากฏขึ้นแบบเฉียบพลันภายใน 2–3 ชั่วโมงจนถึง 2–3 วัน หรือแบบกึ่งเฉียบพลันที่จะค่อย ๆ เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ และกินเวลานานหลายสัปดาห์ โรคนี้มักส่งผลต่อร่างกายทั้งสองข้าง แต่บางครั้งอาจเกิดอาการเพียงข้างใดข้างหนึ่งขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ไขสันหลังนั้นอักเสบหรือถูกทำลาย โดยอาการหลักของ Transverse Myelitis จะมีดังต่อไปนี้ นอกจากนั้นยังมีอาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่น กล้ามเนื้อหดเกร็ง รู้สึกไม่สบายตัว ปวดศีรษะ มีไข้ เบื่ออาหาร ปัญหาในระบบทางเดินหายใจ รวมไปถึงหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ซึมเศร้า และวิตกกังวลเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ในกรณีผู้ป่วยพบสัญญาณอาการเข้าข่าย Transverse Myelitis ควรไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะอาการเหล่านี้ยังอาจเป็นผลมาจากโรคทางระบบประสาทอื่น ๆ ที่ควรต้องเข้ารับการผ่าตัดฉุกเฉิน และการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไขสันหลังจากการผ่าตัดหลอดเลือดแดงใหญ่หรือลิ่มเลือดที่ควรได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที สารมัยอีลินเป็นเนื้อเยื่อไขมันชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายฉนวนไฟฟ้า ทำหน้าที่ช่วยปกป้องใยประสาทและเซลล์ประสาท หากสารมัยอีลินบริเวณไขสันหลังถูกทำลายหรือได้รับความเสียหายอาจส่งผลต่อเซลล์ประสาทจนเกิดการอักเสบได้ ทั้งนี้ทางการแพทย์ยังไม่ทราบต้นตอของการเกิดไขสันหลังอักเสบอย่างแน่ชัด แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพดังต่อไปนี้ การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อปรสิตบริเวณไขสันหลังอาจก่อให้เกิดการอักเสบในบริเวณดังกล่าวได้ โดยตัวอย่างเชื้อโรคแต่ละประเภทก็เช่น ปัญหาสุขภาพที่อาจส่งผลให้เกิดไขสันหลังอักเสบ เช่น ในเบื้องต้นนั้นแพทย์จะสอบถามถึงอาการที่เกิดขึ้น ประวัติทางสุขภาพ ร่วมกับประเมินผลทดสอบการทำงานของระบบประสาทจากวิธีการตรวจต่าง ๆ เช่น การทำ CT Scan หรือ MRI Scan จะช่วยให้แพทย์มองเห็นการอักเสบบริเวณไขสันหลัง ปลอกหุ้มใยประสาทที่เสียหาย และความผิดปกติอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อไขสันหลังหรือหลอดเลือด อาทิ ก้อนเนื้องอก หมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือช่องไขสันหลังตีบแคบ เป็นการใช้เข็มขนาดเล็กเก็บตัวอย่างน้ำไขสันหลัง หรือก็คือของเหลวบริเวณรอบไขสันหลังและสมองออกมาตรวจที่ห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวและโปรตีนบางชนิดในน้ำไขสันหลังที่จะช่วยบ่งบอกถึงการอักเสบหรือการติดเชื้อในร่างกายได้ แพทย์จะตรวจเลือดของผู้ป่วยเพื่อหาเชื้อโรคต้นเหตุของไขสันหลังอักเสบ หรือเพื่อยืนยันว่า ไม่ได้มีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่มักก่อให้เกิดอาการคล้ายคลึงกัน อย่าง โรคลูปัส การติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคปลอกประสาทอักเสบชนิดเอ็นเอ็มโอ Transverse Myelitis ยังไม่มีวิธีรักษา จึงทำได้เพียงควบคุมและบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นด้วยการใช้ยาและการบำบัดเพื่อฟื้นฟูร่างกายควบคู่กันไป อาทิ ตัวอย่างยาที่แพทย์นำมาใช้มีดังนี้ ทั้งนี้หากอาการที่เกิดขึ้นส่งผลต่อการหายใจ ผู้ป่วยอาจต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ เพื่อป้องกันร่างกายขาดออกซิเจนและการเป็นอัมพาตขณะรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือสถานที่พักฟื้น แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดเพื่อฟื้นฟูและดูแลตัวเองในระยะยาว ดังนี้ อย่างไรก็ตามผู้ป่วย Transverse Myelitis ส่วนใหญ่มักดีขึ้นบางส่วนภายใน 3 เดือนแรก แต่บางคนอาจใช้เวลานานถึง 2 ปีหรือมากกว่านั้น ซึ่งในกรณีนี้ผู้ป่วยอาจจะไม่หายดีเป็นปกติ โดยจะมีปัญหาในการเดิน ชาหรือรู้สึกเหมือนโดนของแหลมทิ่ม กระเพาะปัสสาวะและลำไส้มีปัญหา หรืออาจเป็นอัมพาตตลอดชีวิตในผู้ป่วยบางราย ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรคและวิธีการรักษาในช่วงแรก ๆ ผู้ป่วย Transverse Myelitis อาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น อาการปวดในระยะยาว กล้ามเนื้อหดเกร็งโดยมักพบมากบริเวณขาทั้งสองข้างและก้น เป็นอัมพาตบริเวณแขนหรือขาบางส่วนหรือทั้งหมด หย่อนสมรรถภาพทางเพศ โดยผู้ชายอาจมีปัญหาอวัยวะเพศแข็งตัวและจุดสุดยอด หรือผู้หญิงอาจถึงจุดสุดยอดได้ยาก รวมไปถึงภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวลที่เป็นผลมาจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ความเครียดจากอาการปวด หรือปัญหาความสัมพันธ์ทางเพศของผู้ป่วย เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แท้จริงของ Transverse Myelitis จึงยังไม่มีวิธีป้องกันที่เฉพาะเจาะจง แต่ผู้ป่วยอาจลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ โดยควรหมั่นสังเกตความผิดปกติของตัวเองและตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เข้ารับการรักษาปัญหาสุขภาพใด ๆ ที่อาจนำไปสู่การอักเสบที่ไขสันหลังได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และดูแลตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้นความหมาย ไขสันหลังอักเสบ (Transverse Myelitis)
อาการของ Transverse Myelitis
สาเหตุของ Transverse Myelitis
โรคติดเชื้อ
โรคระบบภูมิคุ้มกัน
การวินิจฉัย Transverse Myelitis
การถ่ายภาพทางรังสี
การเจาะน้ำไขสันหลัง
การตรวจเลือด
การรักษา Transverse Myelitis
การใช้ยา
การบำบัด
ภาวะแทรกซ้อนของ Transverse Myelitis
การป้องกัน Transverse Myelitis