Illness name: ตากุ้งยิง
Description: ตากุ้งยิง (Stye) คือ การอักเสบบริเวณขอบเปลือกตา เป็นตุ่มนูนบวมเล็ก ๆ คล้ายสิว ทำให้เกิดความเจ็บปวด เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย และสามารถเป็นได้มากกว่าหนึ่งจุด ทั้งในตาข้างเดียว หรือทั้ง 2 ข้าง อาการตากุ้งยิงสามารถทุเลาลงได้และหายดีภายในเวลาไม่กี่วัน แม้ไม่ได้รับการรักษา แต่หากอาการยังไม่บรรเทาลงหลังผ่านไป 2 วัน หรือเปลือกตาบวมมากและสร้างความเจ็บปวดเป็นอย่างมาก ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา อาการของตากุ้งยิง เมื่อเป็นตากุ้งยิง อาการทั่วไปที่พบ ได้แก่ โดยตากุ้งยิง แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ สาเหตุของตากุ้งยิง ตากุ้งยิงเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในต่อมไขมันที่อยู่ใต้เปลือกตา แบคทีเรียที่พบส่วนใหญ่ คือ สแตฟฟิโลค็อกคัส ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่ไม่ร้ายแรงหากไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นที่เป็นอันตราย นอกจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ตากุ้งยิงอาจเป็นภาวะแทรกซ้อนของภาวะเปลือกตาอักเสบได้ด้วย การวินิจฉัยตากุ้งยิง สังเกตด้วยตนเองว่ามีอาการดังต่อไปนี้หรือไม่ เช่น มีตุ่มบวมหรือตุ่มหนองที่เปลือกตา เปลือกตาบวมแดง รู้สึกระคายเคืองตาโดยเฉพาะเวลากะพริบตา และเจ็บปวดบริเวณที่มีตุ่มขึ้น โดยทั่วไป อาการตากุ้งยิงสามารถทุเลาลงได้และหายเองภายในเวลาไม่กี่วัน แม้ไม่ได้รับการรักษา แต่ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาทันที หากพบอาการดังต่อไปนี้ เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะตรวจดูรอบดวงตาและเปลือกตา แล้วทำการรักษา หากอาการซับซ้อนแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยรับการรักษาจากจักษุแพทย์ เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมกับอาการต่อไป การรักษาตากุ้งยิง รักษาด้วยตนเอง ในส่วนของตุ่มนูนที่เกิดขึ้น ให้หลับตาแล้วใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบบริเวณดวงตาประมาณ 5-10 นาที และนวดเบา ๆ บริเวณนั้น ทำเช่นนี้ซ้ำ ๆ ประมาณ 3-4 ครั้งต่อวัน จนกว่าอาการตากุ้งยิงจะดีขึ้นและหายไป อุณภูมิของน้ำอุ่นจะช่วยขับให้หนองอักเสบในตากุ้งยิงไหลออกมา ทำให้อาการป่วยหายได้เร็วขึ้น ทั้งยังเป็นการป้องกันไม่ให้ตากุ้งยิงก่อตัวขึ้นได้แต่แรกอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยไม่ควรบีบให้หนองบริเวณตากุ้งยิงไหลออกมาด้วยตนเอง ส่วนความเจ็บปวดจากบริเวณที่เกิดการอักเสบติดเชื้อ สามารถรับประทานยาแก้ปวดอย่างพาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟนเพื่อบรรเทาอาการปวดได้ รักษาโดยแพทย์ แม้ตากุ้งยิงจะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่แพทย์จะไม่จ่ายยาปฏิชีวนะให้หากไม่มีความจำเป็น เพราะโดยปกติตากุ้งยิงจะเกิดขึ้นและหายไปเองในเวลาไม่นาน นอกจากจะพบอาการป่วยอื่นที่เป็นสาเหตุของตากุ้งยิง เช่น นอกจากนี้ ในบางราย แพทย์อาจมีดุลยพินิจให้ทำการผ่าตัดเล็ก โดยจะใช้ยาชาทำให้ผู้ป่วยมีอาการชาบริเวณเปลือกตา ก่อนจะผ่าตัดนำหนองหรือสิ่งที่อุดตันอยู่ออกไป ภาวะแทรกซ้อนของตากุ้งยิง เมื่อเกิดตากุ้งยิง อาจทำให้มีโอกาสเกิดอาการอื่นตามมาได้ แต่มักเป็นอาการป่วยที่ไม่รุนแรง เช่น ซีสต์ไมโบเมียนที่เกิดจากการเป็นคาลาเซียน (Chalazion) จะมีตุ่มนูนเป็นก้อนแข็งและไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวด แต่หากมีการติดเชื้อในภายหลัง แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะหรือทำการผ่าตัดเล็กเพื่อรักษาต่อไป อีกหนึ่งอาการที่อาจเกิดขึ้น คือการอักเสบที่เนื้อเยื่อเปลือกตา (Preseptal Cellulitis) เกิดจากการติดเชื้อแพร่กระจายไปสู่เนื้อเยื่อรอบดวงตา ซึ่งจะทำให้เปลือกตามีอาการบวมแดง โดยอาการนี้สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะเช่นกัน การป้องกันการเกิดตากุ้งยิงความหมาย ตากุ้งยิง