Illness name: ผดร้อน
Description: ผดร้อน เป็นตุ่มคันขนาดเล็ก เกิดจากต่อมเหงื่อที่อุดตันใต้ผิวหนัง โดยเฉพาะเมื่อเหงื่อออก หรืออยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนและชื้น ซึ่งผดร้อนอาจปรากฏขึ้นได้ทั่วร่างกาย เช่น บริเวณใบหน้า คอ หลัง อก และต้นขา เป็นต้น แม้ผดร้อนเป็นภาวะทางผิวหนังที่ไม่อันตราย และอาจหายได้เองเมื่ออากาศเย็นลง แต่คนทั่วไปควรศึกษาข้อมูลเพื่อป้องกันหรือรับมือหากเกิดผดร้อนขึ้นกับตนเอง อาการของผดร้อน อาการคันและมีตุ่มเล็ก ๆ ขึ้นตามร่างกาย เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปของผดร้อน โดยมักปรากฏขึ้นบริเวณใต้ร่มผ้า หรือบริเวณใบหน้า คอ หลัง อก และต้นขา ส่วนเด็กเล็กมักเกิดผดร้อนบริเวณคอ หัวไหล่ และหน้าอก และบางครั้งอาจปรากฏอาการบริเวณรักแร้ ข้อพับแขน และขาหนีบได้ ซึ่งผดร้อนอาจเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ เช่น แม้อาการมักหายไปเองเมื่ออากาศเย็นลง แต่ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ หากปรากฏอาการดังต่อไปนี้ สาเหตุของผดร้อน สาเหตุหลักของผดร้อน คือ เหงื่อโดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนและชื้น เพราะเหงื่อปริมาณมากจะทำให้ต่อมเหงื่อใต้ผิวหนังอุดตัน และไม่สามารถระเหยออกมาได้ และเมื่อท่อส่งเหงื่ออุดตัน อาจทำให้เกิดการรั่วของเหงื่อสะสมอยู่ในชั้นผิวหนัง เกิดเป็นตุ่มน้ำจนกลายเป็นผดร้อนหรือเกิดการอักเสบตามมาได้ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่อาจระบุสาเหตุที่ทำให้ต่อมเหงื่ออุดตันได้ชัดเจน แต่เป็นไปได้ว่าอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ การวินิจฉัยผดร้อน เนื่องจากผดร้อนเป็นภาวะทางผิวหนังที่พบได้ทั่วไป แพทย์อาจวินิจฉัยผดร้อนเพียงการสังเกตลักษณะภายนอกของผดเท่านั้น ผู้ป่วยอาจไม่ต้องรับการทดสอบใด ๆ เพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย การรักษาผดร้อน การรักษาด้วยตนเอง เมื่อพบว่ามีผดร้อนเกิดขึ้น อาจบรรเทาอาการคัน หรือป้องกันอาการกำเริบลุกลามได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ ส่วนทารกหรือเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถดูแลตนเองได้ดีพอ อาจจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษด้วยวิธีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ การรักษาด้วยยา โดยส่วนใหญ่ หากหลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพอากาศร้อนชื้น ดูแลให้บริเวณที่เกิดผดเย็นและแห้งอยู่เสมอ ผดร้อนและอาการต่าง ๆ ที่ไม่รุนแรงมากนักอาจหายได้เองภายใน 2-3 วัน แต่หากผดร้อนและอาการอื่น ๆ ที่ปรากฏมีความรุนแรง แพทย์อาจให้ผู้ป่วยใช้ยารักษาตามอาการ เช่น รับประทานยาแก้แพ้ถ้ามีอาการคัน และใช้ยาขี้ผึ้งหรือผลิตภัณฑ์ให้ความชุ่มชื้นผิวเพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ รวมทั้งลดความเสี่ยงการเกิดผลข้างเคียงจากผดร้อน เช่น โลชั่นคาลาไมน์ สารให้ความชุ่มชื้นแอนไฮดรัส ลาโนอิน (Anhydrous Lanolin) ป้องกันการเกิดผดร้อนเพิ่มขึ้น และยาทาสเตียรอยด์ สำหรับรักษาผดร้อนที่มีอาการรุนแรง ทั้งนี้ หากยังไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ ห้ามใช้ยาทาขี้ผึ้งหรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวอื่น ๆ เพื่อรักษาผดร้อนในเด็ก และหากผดร้อนกลายเป็นตุ่มหนอง ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์หรือแพทย์ผิวหนังเพื่อรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม เพราะผดร้อนที่ติดเชื้อแบคทีเรียอาจต้องรักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะด้วย ภาวะแทรกซ้อนของผดร้อน โดยปกติ ผดร้อนอาจไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนใด ๆ แต่อาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียจนทำให้ผดอักเสบ เป็นตุ่มหนอง คัน และมีอาการอื่น ๆ ตามมาได้ การป้องกันผดร้อน วิธีป้องการเกิดผดร้อน มีดังนี้ สำหรับเด็กเล็ก ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษจากผู้ปกครอง โดยควรสังเกตอยู่เสมอว่าผิวของเด็กร้อนหรือชื้นเกินไปหรือไม่ โดยเฉพาะบริเวณลำคอ หว่างขา และบริเวณอื่น ๆ ที่อาจกักเหงื่อไว้ หากพบผิวหนังบริเวณที่ร้อนชื้น ผู้ปกครองควรล้างบริเวณดังกล่าวด้วยน้ำเย็น และพยายามให้ผิวหนังบริเวณนั้นแห้งอยู่เสมอ โดยห้ามใช้แป้งเด็ก เพราะแป้งอาจไปอุดตันรูขุมขนจนทำให้ผิวหนังเกิดความร้อน และห้ามใช้ผ้าอ้อมที่ทำจากพลาสติก เพราะอาจทำให้เด็กร้อนและระคายเคืองได้ความหมาย ผดร้อน