Illness name: มะเร็งกล่องเสียง
Description: มะเร็งกล่องเสียง (Laryngeal Cancer) คือ โรคที่เกิดจากเซลล์หรือเนื้อเยื่อบริเวณกล่องเสียงได้รับความเสียหายและเจริญเติบโตผิดปกติ กลายเป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็ง มักพบในผู้สูงอายุและพบได้ในเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ รวมถึงเคยมีประวัติสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งกล่องเสียง ผู้ที่เป็นมะเร็งกล่องเสียงจะมีอาการบวมหรือพบก้อนนูนที่ลำคอ เสียงแหบ ปวดคอ ปวดหู หายใจลำบาก เป็นต้น ยิ่งตรวจพบและรักษาได้เร็วเพียงใด ผู้ป่วยก็ยิ่งมีโอกาสรอดชีวิตมากเท่านั้น อาการของมะเร็งกล่องเสียง อาการของมะเร็งกล่องเสียงจะแตกต่างจากอาการของมะเร็งประเภทอื่น ๆ อาการที่พบบ่อย ได้แก่ อาการข้างต้นอาจไม่ใช่สัญญาณหรืออาการของมะเร็งกล่องเสียงเสมอไป หากมีอาการต่อเนื่องนาน 1 สัปดาห์ขึ้นไป ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคและรักษาต่อไป สาเหตุของมะเร็งกล่องเสียง ในปัจจุบันยังไม่สามารถบอกได้อย่างชัดเจนว่ามะเร็งกล่องเสียงเกิดจากสาเหตุใด มีเพียงปัจจัยเสี่ยงทำให้เซลล์ที่บริเวณกล่องเสียงได้รับความเสียหายและเจริญเติบโตขึ้นผิดปกติ กลายเป็นเนื้องอกหรือมะเร็งในที่สุด ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกล่องเสียงมีดังต่อไปนี้ การวินิจฉัยมะเร็งกล่องเสียง หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการของมะเร็งกล่องเสียง เช่น เสียงแหบ ไออย่างหนัก แพทย์จะวินิจฉัยโดยเริ่มจากตรวจสอบประวัติทางการแพทย์ ตรวจร่างกาย สำรวจในช่องปาก ตรวจที่บริเวณลำคอว่ามีก้อนนูนหรือมีอาการบวมหรือไม่ จากนั้นอาจมีการวินิจฉัยโดยวิธีการอื่น ๆ ร่วมด้วยดังต่อไปนี้ เมื่อแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งกล่องเสียง การประเมินระยะการแพร่กระจายของมะเร็งจะเป็นขั้นตอนต่อไปที่จะเกิดขึ้น โดยจะแบ่งระยะตามขนาดของก้อนเนื้อและตำแหน่งของกล่องเสียง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ กล่องเสียงส่วนที่อยู่เหนือสายเสียง (Supraglottis) กล่องเสียงส่วนสายเสียง (Glottis) กล่องเสียงส่วนที่อยู่ใต้สายเสียง (Subglottis) การรักษามะเร็งกล่องเสียง ผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงมักจะได้รับการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพ (Multidisciplinary Teams) ได้แก่ ศัลยแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้องอก ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็ง เป็นต้น ทำงานร่วมกันเพื่อวางแผนการรักษา หาข้อดีและข้อเสียของแต่ละวิธีการรักษาให้ผู้ป่วยเป็นผู้ตัดสินใจ วิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับขนาดและระยะของมะเร็ง เช่น การฉายรังสี การทำเคมีบำบัด การผ่าตัด การใช้ยา เป็นต้น โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ผู้ป่วยหลังเข้ารับการผ่าตัดมะเร็งกล่องเสียงจะไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ต้องรับประทานอาหารผ่านสายยางทางจมูก และในผู้ป่วยที่ต้องผ่าตัดกล่องเสียงและสายเสียงออกทั้งหมด จะไม่สามารถพูดได้ตามปกติ จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยพูด รวมถึงสภาวะทางจิตใจและอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป อาจต้องพักฟื้นหลังการรักษา โดยมีแนวทางดังต่อไปนี้ ภาวะแทรกซ้อนของมะเร็งกล่องเสียง วิธีการรักษาผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงด้วยการผ่าตัดอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ แต่ค่อนข้างน้อย รวมถึงการรักษาด้วยการฉายแสงและเคมีบำบัดอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้เช่นกัน และหากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษาจะเกิดการลุกลามของเซลล์มะเร็งและทำให้มีอาการมากขึ้น เช่น หายใจลำบาก กลืนลำบาก เสียงหาย เป็นก้อนที่คอ และก้อนอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นจนทำให้ไม่สามารถหายใจได้ และเซลล์มะเร็งอาจลุกลามไปอวัยวะต่างๆ เช่น ปอด หลอดเลือด กระดูก เป็นต้น การป้องกันมะเร็งกล่องเสียง ในการป้องกัน ทำได้ด้วยการลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดมะเร็งกล่องเสียง โดยการรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ควรปฏิบัติได้ตามแนวทางดังต่อไปนี้ความหมาย มะเร็งกล่องเสียง