Illness name: งูกัด
Description: งูกัด (Snake Bite) จัดเป็นภาวะสุขภาพที่ต้องได้รับการปฐมพยาบาลและรักษาอย่างเร่งด่วน เนื่องจากการถูกงูที่มีหรือไม่มีพิษกัดนั้นอาจส่งผลให้เกิดอาการแพ้หรือติดเชื้อ ผู้ที่ถูกงูมีพิษกัดจะเกิดอาการปวดและบวมที่แผล ตัวสั่น คลื่นไส้ และขยับร่างกายไม่ได้ โดยอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นตามลำดับ แผลงูกัดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามลักษณะของงู ได้แก่ งูมีพิษกัด และงูไม่มีพิษกัด หากพบผู้ที่ถูกงูกัด ควรปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อชะลอพิษงูกระจายไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยทำความสะอาดแผล ไม่ขยับอวัยวะที่ถูกงูกัด และคนใกล้ชิดอาจช่วยผู้ประสบเหตุให้ไม่ตื่นตกใจมากนัก ที่สำคัญ ห้ามกรีด ตัด ดูด จี้ไฟ หรือพอกยาตรงแผลงูกัด ซึ่งอาจทำให้ติดเชื้อได้ และไม่ควรขันชะเนาะบริเวณที่ถูกงูกัด เนื่องจากไม่ใช่วิธีชะลอพิษงูตามที่เข้าใจกัน อีกทั้งจะทำให้เนื้อตายได้มากขึ้น จากนั้นอาจถ่ายรูปหรือนำซากงูที่ตายแล้วมาด้วยและรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาจากแพทย์ต่อไป โดยผู้ป่วยจะได้รับเซรุ่มแก้พิษทันทีในกรณีที่ทราบชนิดงู อาการถูกงูกัด การจำแนกลักษณะบาดแผลและอาการระหว่างถูกงูมีพิษหรือไม่มีพิษกัดนั้นสำคัญมาก เนื่องจากจะช่วยให้ผู้ถูกกัดหรือผู้ที่เข้าช่วยเหลือปฐมพยาบาลและดูแลอาการเบื้องต้นได้อย่างถูกต้องและทันเวลาก่อนนำส่งโรงพยาบาลต่อไป ผู้ที่ถูกงูมีพิษกัดจะมีอาการแตกต่างกันไปตามบริเวณที่ได้รับพิษและปริมาณพิษที่อยู่ในเนื้อเยื่อของร่างกาย อาการถูกงูมีพิษกัดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มที่ส่งผลต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ได้แก่ นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจเกิดอาการที่ส่งผลต่อเนื้อเยื่อหลายส่วน โดยจะมีลักษณะบาดแผลและอาการที่สังเกตได้ เช่น แผลที่ถูกกัดมีรอยเขี้ยว 2 เขี้ยว เกิดรอยแดงบวมรอบบริเวณที่ถูกกัด รู้สึกปวดแผลรุนแรง คลื่นไส้และอาเจียน หายใจลำบาก ตาเบลอ มีน้ำลายและเหงื่อออกมากขึ้น รู้สึกชาหรือเป็นเหน็บทั่วใบหน้าและตามแขนขา ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดอาการรุนแรงเมื่อได้รับพิษงูเข้าไปในร่างกาย โดยเนื้อเยื่อบริเวณที่ถูกงูกัดจะบวมมากขึ้น มีตุ่มน้ำ หรือเนื้อเยื่อตาย หนังตาตก กลืน หายใจ และขยับร่างกายไม่ได้ ช็อกและหมดสติ ไตล้มเหลวโดยมีปัสสาวะออกมาน้อยหรือไม่มีเลย เสียเลือดมากจากการอาเจียน อุจจาระ ปัสสาวะเป็นเลือด หรือเลือดออกจากปาก จมูก หรือบริเวณที่ถูกกัด หรืออาจร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต สาเหตุงูกัด งูจะกัดคนเพื่อป้องกันตัวเอง หรือเมื่อถูกรบกวนและทำให้ตกใจ โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้คนมักไปเหยียบหรือแหย่งูให้ตื่นกลัว ส่งผลให้งูกัดได้ หากถูกงูมีพิษกัด ร่างกายจะได้รับพิษงูที่ปล่อยเข้ามา ผู้ป่วยต้องรีบพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษาทันที เนื่องจากพิษงูอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต การวินิจฉัยงูกัด แพทย์จะวินิจฉัยอาการงูกัดจากเหตุการณ์ที่ผู้ป่วยถูกงูกัด เพื่อวิเคราะห์ว่างูที่กัดนั้นเป็นงูมีพิษหรือไม่มีพิษและเป็นงูชนิดใด เนื่องจากแพทย์จะให้เซรุ่มแก้พิษแตกต่างกันไปตามชนิดงูที่กัดผู้ป่วย โดยแพทย์พิจารณาจากปัจจัยต่อไปนี้ การรักษางูกัด การรักษางูกัดแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ การช่วยเหลือเบื้องต้น และการรักษาทางการแพทย์ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ นอกจากนี้ ยังมีข้อควรระวังอื่น ๆ อีกหลายประการที่ผู้เข้าช่วยเหลือไม่ควรทำเมื่อเข้าช่วยเหลือผู้ถูกงูกัด ดังนี้ การรักษาทางการแพทย์ เมื่อนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลแล้ว แพทย์จะรักษาและดูแลอาการผู้ป่วย โดยการรักษางูกัดมีขั้นตอน ดังนี้ นอกจากนี้ แพทย์อาจต้องผ่าตัดผู้ป่วยในกรณีที่ปรากฏอาการของภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูงขึ้น โดยศัลยแพทย์จะผ่าตัดเข้าไปในผิวหนังบริเวณที่เกิดความดันในช่องกล้ามเนื้อ เพื่อบรรเทาแรงดันและอาการบวมที่แขนและขาของผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่ประสบภาวะดังกล่าวมีไม่มากนัก หลังได้รับการรักษาแล้ว ผู้ป่วยต้องพักฟื้นร่างกาย ซึ่งใช้เวลาแตกต่างกันไปตามชนิดงูที่กัด ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ใหญ่มักใช้เวลาพักฟื้น 3 สัปดาห์ขึ้นไป ส่วนเด็กใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 1-2 สัปดาห์ ผู้ป่วยอาจเกิดอาการบวมและปวดแผลระหว่างพักฟื้นร่างกาย จึงต้องรับประทานยาแก้ปวดและเคลื่อนไหวแขนและขาอยู่เสมอ เพื่อระงับอาการดังกล่าว ภาวะแทรกซ้อนจากงูกัด ผู้ที่ถูกงูมีพิษกัดเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยจะปรากฏอาการตั้งแต่ระดับอ่อนจนถึงขั้นรุนแรง ภาวะแทรกซ้อนจากงูมีพิษกัด มีดังนี้ การป้องกันงูกัด ผู้ที่ถูกงูมีพิษหรืองูไม่มีพิษกัดจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วน เนื่องจากอาจก่อให้เกิดอาการต่าง ๆ อันเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ทั้งนี้ การป้องกันงูกัดทำได้ ดังนี้ความหมาย งูกัด