Illness name: ขนคุด
Description: ขนคุด (Keratosis Pilaris) เป็นภาวะทางผิวหนังที่เกิดการอุดตันบริเวณรูขุมขน มักพบว่ามีผิวแห้ง เป็นปื้นหยาบ และเป็นตุ่มนูนที่รูขุมขน เวลาลูบไปที่บริเวณดังกล่าวจะให้ความรู้สึกสาก ๆโดยมักเกิดขึ้นบริเวณแขนส่วนบน ต้นขา ก้นหรือแก้ม ปกติจะไม่ทำให้รู้สึกคันหรือเจ็บ อาการของขนคุด ขนคุดสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในเด็กเล็ก ซึ่งทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้ เมื่อไรที่ควรพบแพทย์? โดยปกติอาจไม่มีความจำเป็นต้องไปพบแพทย์ แต่หากอาการที่เกิดขึ้นทำให้รู้สึกไม่สบายใจหรือเกิดความวิตกกังวลกับรูปลักษณ์ ผู้ป่วยสามารถไปพบแพทย์ผิวหนังเพื่อขอคำปรึกษาเพื่อหาทางแก้ไขได้ สาเหตุของขนคุด นอกจากนั้น ผู้ที่มีผิวแห้งมักมีโอกาสเกิดขนคุดได้มาก และอาจมีอาการแย่ลงเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว เพราะมีความชื้นในอากาศน้อยและมักทำให้ผิวแห้ง การวินิจฉัยขนคุด นอกจากนั้น การวินิจฉัยหรือศึกษาอาการของผู้ป่วย จะมุ่งเน้นไปที่การตรวจสอบความเป็นไปได้ที่จะเกิดอาการเรื้อรัง รวมไปถึงตรวจสอบถึงความจำเป็นในการรักษาอย่างต่อเนื่อง และอาจมีการให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยว่าภาวะขนคุดไม่ได้เป็นโรคติดต่อและไม่ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมแต่อย่างใด การรักษาขนคุด โดยส่วนใหญ่ เมื่อมีอายุที่เพิ่มมากขึ้น ขนคุดจะค่อย ๆ หายไปเอง และสามารถใช้ผลิตภัณฑ์เพิ่มความชุ่มชื้นดูแลรักษาผิวเพื่อทำให้บริเวณที่เป็นขนคุดมีอาการดีขึ้นได้ แต่หากใช้แล้วไม่สามารถช่วยให้อาการดีขึ้น ก็สามารถไปพบแพทย์เพื่อขอครีมที่สั่งโดยแพทย์มาใช้ได้ โดยแพทย์อาจจ่ายยาต่อไปนี้ ภาวะแทรกซ้อนของขนคุด ขนคุดไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย แต่อาจทำให้เกิดความรำคาญและความวิตกกังวลกับรูปลักษณ์ นอกจากนั้น พบว่าผู้ที่มีอาการขนคุดมักจะมีโรคหรือภาวะทางผิวหนังอื่น ๆ ด้วย เช่น ผิวหนังอักเสบออกผื่นหรือโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง รวมไปถึงผู้ที่มีสภาพผิวแห้งก็มีแนวโน้มที่จะเกิดขนคุดได้มากขึ้น การป้องกันขนคุด แม้ไม่สามารถป้องกันการเกิดขนคุดได้ แต่สามารถทำให้อาการหรือรูปลักษณ์ดีขึ้นได้ ด้วยการดูแลผิวไม่ให้แห้งและมีความชุ่มชื้น ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ความหมาย ขนคุด
ขนคุด มีสาเหตุมาจากความผิดปกติในการสะสมของเคราติน (Keratin) โดยเคราตีนเป็นโปรตีนที่เซลล์ผิวหนังสร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันการการติดเชื้อหรือป้องกันการดูดซึมสารอันตรายต่าง ๆ ซึ่งการสะสมของเคราตินทำให้เกิดการอุดกั้นบริเวณรูขุมขน จึงทำให้ขนไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติและเป็นขนคุดอยู่ใต้ผิวหนัง ซึ่งปัจจุบันแพทย์ยังไม่ทราบว่าอะไรเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการสะสมของเคราติน แต่สันนิษฐานว่าอาจเกี่ยวข้องกับโรคทางพันธุกรรมหรือภาวะทางผิวหนังอื่น ๆ เช่น โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis)
โดยปกติผู้มีขนคุดไม่มีความจำเป็นต้องไปพบแพทย์ เพราะเป็นภาวะที่ไม่มีความร้ายแรง แต่หากผู้ป่วยมีความต้องการพบแพทย์ แพทย์จะวินิจฉัยได้โดยการตรวจดูผิวหนังบริเวณที่เกิดอาการ และไม่มีความจำเป็นต้องมีการทดสอบอื่น ๆ เพิ่มเติม