Illness name: โรคหลอดเลือดหัวใจ
Description: โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease: CAD/Coronary Heart Disease: CHD) เกิดจากการเกาะของคราบไขมัน (Plaque) ภายในผนังหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นการสะสมของคอเลสเตอรอลและสารต่าง ๆ ภายในหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดตีบและอุดตันจนปิดกั้นการไหลเวียนของกระแสเลือด ผู้ป่วยจึงมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจติดขัด หรือรุนแรงถึงขั้นหัวใจวาย หากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบทำให้ร่างกายไม่สามารถส่งกระแสเลือดและออกซิเจนไปยังหัวใจได้ โดยเฉพาะในขณะที่หัวใจต้องทำงานหนัก เช่น ระหว่างออกกำลังกาย เป็นต้น โรคหลอดเลือดหัวใจมีอาการดังนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจมีสาเหตุจากการรวมตัวกันของไขมันที่ผนังภายในหลอดเลือดหัวใจ โดยก้อนไขมันนี้เกิดจากคอเลสเตอรอลและของเสียอื่น ๆ และมีชื่อว่าอเธอโรมา (Atheroma) การเกาะตัวกันของก้อนไขมันทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัวหรือกระบวนการที่เรียกว่าอะเทอโรสเคลอโรซิส (Atherosclerosis) รวมถึงการขัดขวางทางเดินของเลือด ร่างกายจึงไม่สามารถส่งเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจได้ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดกระบวนการเหล่านี้ ได้แก่ ในการตรวจวัดความดัน ความดันซิสโตลิคจะปรากฏเป็นจำนวนแรกและมีค่าสูงกว่าจำนวนที่ตามมา ซึ่งคือค่าความดันไดแอสโตลิค ผู้มีโรคความดันสูงจะมีค่าความดันซิสโตลิคมากกว่าหรือเท่ากับ 140mmHg หรือค่าความดันไดแอสโตลีตั้งแต่ 90mmHg ขึ้นไป วิธีการวินิจฉัยอาจขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยและความต้องการตรวจวินิจฉัยของแพทย์ ซึ่งอาจมีวิธีการต่อไปนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มีวิธีจัดการเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ หากอาการไม่ดีขึ้นผู้ป่วยอาจต้องรับการรักษาโดยการใช้ยา ซึ่งมีหน้าที่ลดความดันโลหิตหรือขยายหลอดเลือดเพื่อให้การไหลเวียนและการสูบฉีดเลือดในหัวใจดีขึ้น ยาบางชนิดอาจส่งผลข้างเคียงจึงควรพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง ทั้งนี้ ผู้ป่วยไม่ควรหยุดใช้ยาหากไม่ได้รับการยืนยันจากแพทย์ เนื่องจากอาจทำให้อาการของผู้ป่วยแย่ลงได้ ยาที่ใช้มีตัวอย่างเช่น ในกรณีที่หลอดเลือดหัวใจตีบและไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่ออาการที่ดีขึ้น เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อไปนี้ ปัจจัยเสี่ยงสำคัญในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจคือระดับคอเลสเตอรอล การสูบบุหรี่ เบาหวาน และความดันโลหิต การมีสุขภาพที่ดีจะช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับหัวใจ ซึ่งทำได้โดยวิธีการดังต่อไปนี้ ผู้ที่ไม่ออกกำลังกายมักมีแนวโน้มที่จะประสบภาวะหัวใจวายได้มากถึง 2 เท่า การออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์เป็นเวลา 30–60 นาทีใน 4–5 วันต่อสัปดาห์ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยลดน้ำหนักส่วนเกินและควบคุมโรคเบาหวาน รวมถึงคอเลสเตอรอลและความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ เพื่อป้องกันโอกาสในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ควรวางแผนในการรับประทานอาหาร ดังนี้ นอกจากนี้ การรับประทานน้ำมันปลาเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่อาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากมีไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างโอเมก้า 3 ซึ่งช่วยในการไหลเวียนเลือด ลดการอักเสบ ลดระดับไตรกลีเซอไรด์และความดันโลหิต อีกทั้งน้ำมันปลาบางยี่ห้ออาจมีการเพิ่มสารสำคัญเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพอื่น ๆ เช่น แอสตาแซนธินที่มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระและป้องกันโรคในระบบหลอดเลือดหัวใจ หรือวิตามินอีที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ พร้อมทั้งจะช่วยให้น้ำมันปลาในร่างกายอยู่ในปริมาณที่คงที่ อย่างไรก็ตาม ปริมาณและความเหมาะสมในการรับประทานน้ำมันปลาจะขึ้นอยู่กับช่วงวัยของแต่ละบุคคล จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทาน โดยเฉพาะในผู้ที่มีโรคประจำตัว เพื่อความปลอดภัย การสูบบุหรี่คือปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ สารนิโคตินในบุหรี่ขัดขวางการไหลเวียนของเลือดและกระตุ้นให้หัวใจทำงานหนักขึ้น นอกจากนี้ ก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ยังทำหน้าที่ลดปริมาณออกซิเจนในเลือดและทำลายผนังเลือดอีกด้วย หากไม่สามารถงดเว้นได้ ควรควบคุมปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ให้เหมาะสมหรือไม่เกิน 14 แก้วต่อสัปดาห์และไม่ควรดื่มอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของภาวะหัวใจวายได้ ควรฝึกวิธีการควบคุมความเครียด เช่น การผ่อนคลายกล้ามเนื้อและการหายใจ เป็นต้น ผู้ป่วยควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาสุขภาพหัวใจและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจที่อาจเกิดขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีการควบคุมความดันโลหิตที่เหมาะสมกับอายุและอาการของตนเอง และควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอและรับประทานยาลดความดันโลหิตร่วมด้วยเพื่อการควบคุมที่ดียิ่งขึ้น แพทย์จะแนะนำวิธีการที่เหมาะสมในการลดคอเลสเตอรอล ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันไปตามอายุและข้อจำกัดของผู้ป่วยแต่ละคน โรคเบาหวานถือเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ผู้ป่วยจึงควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ลดน้ำหนักส่วนเกิน และควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับ 130/80mmHg ผู้ป่วยควรรับประทานยาตามที่แพทย์กำหนดอย่างต่อเนื่องเพื่อบรรเทาอาการและระงับภาวะที่อาจเกิดขึ้นได้ และไม่ควรหยุดรับประทานยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงและทำให้อาการต่าง ๆ แย่ลงได้ความหมาย โรคหลอดเลือดหัวใจ
อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ
สาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจ
การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ
การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ
การรักษาด้วยตนเอง
การรักษาด้วยการใช้ยา
การรักษาด้วยการผ่าตัดและกระบวนการทางการแพทย์
ภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือดหัวใจ
การป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
การออกกำลังกาย
การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
งดสูบบุหรี่
งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ควบคุมความเครียด
ตรวจสุขภาพ
ควบคุมความดันโลหิต
ควบคุมคอเลสเตอรอล
ควบคุมโรคเบาหวาน
การรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง