Illness name: ปัสสาวะขุ่น
Description: ปัสสาวะขุ่น เป็นอาการที่สีของปัสสาวะมีลักษณะขุ่นเป็นตะกอนหรือมีฟองหนา ไม่เป็นสีใสหรือสีเหลืองอ่อนตามปกติ อาจเกิดจากปัจจัยภายนอกที่กระทบต่อเม็ดสีที่อยู่ในปัสสาวะ เช่น การใช้ยา การรับประทานอาหารบางชนิด หรือสาเหตุอื่นที่ทำให้ปัสสาวะมีลักษณะดังกล่าว อย่างมีโปรตีนหรือผลึกสารเจือปนอยู่ในปัสสาวะ และการติดเชื้อภายในอวัยวะต่าง ๆ ในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งอาจเป็นเหตุให้มีเลือดและหนองเจือปนอยู่ในปัสสาวะ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทั่วไปที่ไม่เป็นอันตราย หรืออาจเป็นผลมาจากปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ที่มักเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย เช่น ภาวะขาดน้ำ และอาจเกิดขึ้นพร้อมกับอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วย สาเหตุของปัสสาวะขุ่น ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดปัสสาวะขุ่น นอกเหนือจากสาเหตุข้างต้น ปัจจัยต่อไปนี้ คือ สิ่งที่อาจมีผลกระทบต่อระดับสารเคมีต่าง ๆ หรือระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ซึ่งนำไปสู่อาการปัสสาวะขุ่นหรือมีสีผิดไปจากปกติได้ สัญญาณสำคัญที่ควรไปพบแพทย์ นอกจากอาการปัสสาวะขุ่น ควรสังเกตอาการหรือการเจ็บป่วยอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นร่วมกันด้วย หากพบอาการต่อไปนี้เกิดขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา การตรวจวินิจฉัยปัสสาวะขุ่น เมื่อไปพบแพทย์ ในเบื้องต้นแพทย์จะซักถามประวัติการเจ็บป่วยและการใช้ยารักษา รวมไปถึงการถามเกี่ยวกับอาการที่เผชิญอยู่ เช่น ปัสสาวะมีสี มีกลิ่น มีลักษณะอย่างไร มีหยดเลือดหรือลิ่มเลือดปนอยู่หรือไม่ เจ็บปวดในขณะปัสสาวะหรือไม่ ปัสสาวะบ่อยเพียงใด เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับปัสสาวะมานานเพียงใด เคยมีอาการดังกล่าวมาก่อนหน้าหรือไม่ มีโรคประจำตัวหรืออาการเจ็บป่วยใดอยู่ ใช้ยารักษาตัวใด มีการเปลี่ยนการรับประทานอาหารหรือไม่ เป็นต้น จากนั้นแพทย์อาจทำการตรวจร่างกายตามบริเวณที่สงสัยว่าอาจมีการเจ็บป่วย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ปัสสาวะขุ่นหรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ หรืออาจส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุการป่วยที่แน่ชัด เช่น การรักษาปัสสาวะขุ่น หากปัสสาวะขุ่นหรือมีสีที่ต่างไปจากปกติจากสาเหตุทั่วไปที่ไม่เป็นอันตราย เช่น การรับประทานอาหาร หรือเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษา ก็ไม่มีความจำเป็นต้องทำการรักษา แต่หากปัสสาวะขุ่นเกิดจากโรคและอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ แพทย์จะทำการรักษาที่อาการป่วยต้นเหตุ เช่น ภาวะขาดน้ำ การรักษาภาวะขาดน้ำขึ้นอยู่กับอาการ ความรุนแรง สาเหตุของการขาดน้ำ และอายุของผู้ป่วย โดยอาจใช้วิธีการรักษา เช่น ดื่มน้ำปริมาณมาก ๆ ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของสารละลายอิเล็กโตรไลต์หรือคาร์โบไฮเดรต รับประทานผงละลายเกลือแร่ตามวิธีการและปริมาณที่เหมาะสมกับผู้ป่วย หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลมในผู้ที่มีอาการท้องร่วง หรือให้น้ำเกลือรักษาในรายที่มีภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ ซึ่งมีทั้งชนิดรับประทานและชนิดฉีด โดยแพทย์จะเลือกใช้ยาตามความเหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้ป่วย และลักษณะของอาการป่วยด้วย นิ่วในไต การรักษาขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของนิ่วที่เกิดขึ้น โดยการรักษา ได้แก่ นิ่วที่มีขนาดเล็กและมีอาการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย นิ่วที่มีขนาดใหญ่และก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ การป้องกันการเกิดปัสสาวะขุ่น และอาการผิดปกติอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระบบทางเดินปัสสาวะ ความหมาย ปัสสาวะขุ่น