Illness name: atrial fibrillation
Description: Atrial Fibrillation หรือ AF (ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว) คือ ภาวะที่มีอัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติจากการสูบฉีดเลือดของหัวใจ โดยผู้ที่มีภาวะนี้จะมีอัตราการเต้นของหัวใจสูงกว่า 100 ครั้งต่อนาที คนทั่วไปจะมีอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ระหว่าง 60-100 ครั้งต่อนาทีในขณะที่ไม่ได้ทำกิจกรรมใด ๆ Atrial Fibrillation เป็นอาการที่อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ เนื่องจากหากหัวใจสูบฉีดผิดปกติ จะทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงร่างกายได้สะดวก หรือเกิดลิ่มเลือดขึ้นภายในหลอดเลือด จนทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ไม่เพียงพอ ทั้งนี้ ภาวะดังกล่าวอาจรักษาให้หายได้ แต่ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ หากไม่รุนแรงก็สามารถกลับมาเป็นปกติได้ แต่หากรุนแรงและเรื้อรังก็อาจต้องใช้วิธีการรักษาอื่น ๆ เพื่อควบคุมการเต้นของหัวใจแทน ภาวะดังกล่าวหากไม่รุนแรงมากนักจะไม่แสดงอาการให้เห็น แต่จะรู้ถึงความผิดปกติได้จากการตรวจสุขภาพ แต่หากค่อนรุนแรง อาจเกิดอาการเหล่านี้ ได้แก่ อาการที่เกิดขึ้นแบ่งออกได้เป็น 5 ชนิด ได้แก่ ทั้งนี้ภาวะ Atrial Fibrillation จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานของหัวใจลดลง และทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนก่อให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ หรือ หัวใจวายได้ ดังนั้นหากผู้ป่วยรู้สึกว่าการเต้นของหัวใจผิดปกติ หรือมีอาการเจ็บหน้าอกควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพริ้ว คือการที่ระบบไฟฟ้าหัวใจทำงานผิดปกติอันอาจเกิดมาจากโครงสร้างของหัวใจที่มีปัญหา หรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ทำให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติของหัวใจ 2 ห้องบน ที่มีการบีบรัดอย่างไม่สมดุลกัน และเกิดการสั่นสะเทือนของผนังห้องหัวใจในที่สุด โดยปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะนี้ ได้แก่ นอกจากนี้ พฤติกรรมและวิธีการใช้ชีวิตยังเป็นสิ่งที่อาจกระตุ้นให้เกิดความผิดปกติของหัวใจดังกล่าวได้ โดยเฉพาะการดื่มเครื่องแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน การเสพยาเสพติด หรือการมีน้ำหนักตัวมากผิดปกติ อาจทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อภาวะนี้ได้ และหากผู้ป่วยมีความเครียดร่วมกับปัจจัยอื่น ๆ ก็จะยิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการหรือ ทำให้อาการยิ่งรุนแรงมากขึ้น ในเบื้องต้น การตรวจชีพจรช่วยให้ผู้ป่วยทราบได้ว่าตนเองมีจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติหรือไม่ โดยตรวจได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ หากผู้ป่วยมีอาการปกติ ในขณะพักอัตราการเต้นหัวใจอยู่ที่ 60-100 ครั้งต่อนาที แต่ถ้าหากสูงกว่านั้นก็สามารถสันนิษฐานได้ว่าผู้ป่วยมีการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ และควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียดอีกครั้ง เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะเริ่มตรวจวินิจฉัยด้วยการซักประวัติเกี่ยวกับการรักษาและอาการเจ็บป่วยที่เคยเป็น จากนั้นจะตรวจสุขภาพ และสังเกตอาการความผิดปกติ จากนั้นแพทย์จะสั่งตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติม ได้แก่ จากนั้นเมื่อแพทย์ได้ผลการตรวจวินิจฉัย แพทย์จะนำไปประกอบกับข้อมูลของผู้ป่วยเพื่อสรุปผลการตรวจและวางแผนการรักษาต่อไป ในการรักษาความผิดปกตินี้ แพทย์จะมุ่งเน้นไปที่การปรับเปลี่ยนและควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจให้กลับมาเป็นปกติมากที่สุด โดนแผนในการรักษาจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น อายุ ความพร้อมของสุขภาพ ชนิดของ Atrial Fibrillation ที่ผู้ป่วยเป็น อาการที่เป็น และสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการ โดยในเบื้องต้น แพทย์จะต้องทราบสาเหตุที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติเสียก่อน เนื่องจากบางสาเหตุหากได้รับการรักษาก็จะทำให้หัวใจกลับมาเต้นเป็นปกติได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังควรดูแลตัวเองด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และควบคุมการรับประทานอาหาร เช่น โดยในระหว่างการรักษาภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพริ้ว วิธีที่แพทย์มักใช้ในการรักษาได้แก่ การใช้ยา ยาที่แพทย์ใช้ในการรักษาจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ การรักษาด้วยวิธีกระตุ้นไฟฟ้า เป็นการรักษาโดยใช้คลื่นไฟฟ้าในปริมาณที่แพทย์ควบคุม เพื่อกระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจให้กลับมาเป็นปกติ วิธีการรักษาจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ทว่าการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือด ดังนั้น แพทย์จึงอาจสั่งใช้ยาละลายลิ่มเลือด หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือดก่อนเข้ารับการรักษาอย่างน้อย 3-4 สัปดาห์ และหลังจากเข้าการรักษาแล้วก็จำเป็นที่จะต้องใช้ยาต่อเนื่องอย่างน้อย 4 สัปดาห์เพื่อลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง หากการรักษาประสบความสำเร็จ แพทย์อาจพิจารณาให้หยุดใช้ยาได้ แต่หากเป็นผู้ป่วยที่ความเสี่ยงสูง แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาต่อเนื่อง และติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้ความเสี่ยงกลับมาเพิ่มสูงขึ้น การผ่าตัด ในบางกรณีแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการ วิธีการรักษาที่ใช้ได้แก่ การสอดสายสวนเพื่อจี้กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ (Catheter Ablation) เพื่อกำจัดเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อหัวใจบริเวณที่ส่งสัญญาณผิดปกติ โดยการรักษาจะใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง และจะต้องใช้ยาสลบในการรักษาด้วย หลังจากการรักษาผู้ป่วยจะฟื้นตัวรวดเร็ว แต่ควรหลีกเลี่ยงการขับรถหลังจากผ่าตัดอย่างน้อย 2 วัน และห้ามยกของหนักอย่างน้อย 2 สัปดาห์ การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ในกรณีที่ที่การรักษาวิธีอื่น ๆ ไม่ได้ผล แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจเพื่อช่วยให้การเต้นของหัวใจกลับมาเป็นปกติ อุปกรณ์นี้ดังกล่าวมีขนาดเล็ก โดยจะถูกฝังไว้ที่หน้าอกบริเวณกระดูกไหปลาร้า วิธีการรักษานี้มักใช้ในผู้ป่วยที่มีอายุมาก ๆ เนื่องจากการรักษาด้วยยาอาจไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ผู้ป่วยภาวะดังกล่าวหากไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง จะยิ่งทำให้ความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงมากขึ้น โดยภาวะแทรกซ้อนที่มักพบได้แก่ Atrial Fibrillation เป็นภาวะที่ไม่สามารถป้องกันได้ 100% แต่ลดความเสี่ยงได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังควรควบคุมน้ำหนัก หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ เพราะจะยิ่งส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ไม่เพียงเท่านั้นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการเกิด Atrial Fibrillation ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และควรพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่แพทย์จะรับมือได้อย่างทันท่วงทีความหมาย ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation)
อาการของภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว
สาเหตุของภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว
การวินิจฉัยภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว
การรักษาภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว
ภาวะแทรกซ้อนของภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว
การป้องกันภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว