Illness name: โรคหนังแข็ง
Description: โรคหนังแข็ง (Scleroderma) เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่พบได้น้อยมาก โดยเป็นโรคที่เกิดความผิดปกติกับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้ร่างกายผลิตคอลลาเจนออกมามากเกินไป ทำให้ผิวหนังแข็งและหนา ผู้ป่วยหลายรายได้รับผลกระทบไปถึงโครงสร้างใต้ผิวหนัง เช่น หลอดเลือด อวัยวะภายใน และระบบทางเดินอาหาร ซึ่งอาการจะมีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับบริเวณที่ได้รับผลกระทบ นอกจากนั้น ผู้หญิงมักเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย และส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุระหว่าง 30-50 ปี ปัจจุบันยังเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาได้ แต่มีหลากหลายวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้นและช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ อาการของโรคหนังแข็ง อาการของโรคหนังแข็งจะแตกต่างกันออกไปตามบริเวณที่เกิดขึ้น ดังนี้ สาเหตุของโรคหนังแข็ง อย่างไรก็ตาม แพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าอะไรทำให้เกิดความผิดปกติดังกล่าว โดยสันนิษฐานว่าอาจเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย และในบางรายที่มีความอ่อนแอด้วยกลไกทางพันธุกรรม โรคอาจถูกกระตุ้นจากการสัมผัสกับยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ เรซินสังเคราะห์ หรือสารตัวทำละลายบางชนิด การวินิจฉัยโรคหนังแข็ง การรักษาโรคหนังแข็ง ภาวะแทรกซ้อนของโรคหนังแข็ง การป้องกันโรคหนังแข็ง โรคหนังแข็งเป็นโรคที่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่มีวิธีช่วยให้จัดการกับอาการหรือรับมือกับอาการได้ ดังนี้ นอกจากนั้น การที่ผู้ป่วยต้องใช้ชีวิตประจำวันอยู่กับโรคหนังแข็งหรือไม่ว่าจะเป็นโรคเรื้อรังชนิดใดก็ตาม มักจะทำให้ผู้ป่วยมีสภาพจิตใจที่ย่ำแย่ได้ ดังนั้น ผู้ป่วยอาจปฏิบัติตนเพื่อให้คงสภาพจิตใจที่ดีได้ ดังนี้ความหมาย โรคหนังแข็ง
สาเหตุของโรคหนังแข็ง มาจากการที่ร่างกายผลิตหรือเก็บสะสมคอลลาเจนในเนื้อเยื่อมากเกินไป โดยคอลลาเจนเป็นโปรตีนในรูปแบบของเส้นใย ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เกิดเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective Tissue) ในร่างกายขึ้นมา รวมไปถึงผิวหนัง
การวินิจฉัยโรคหนังแข็ง เบื้องต้นแพทย์จะถามประวัติสุขภาพของผู้ป่วยและตรวจร่างกาย และเนื่องจากโรคหนังแข็งเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบและเกิดขึ้นได้กับอวัยวะในร่างกายหลายส่วน การตรวจวินิจฉัยจึงอาจต้องทำหลากหลายวิธี ได้แก่ เอกซเรย์ (X-ray) ตรวจเลือดเพื่อหาแอนติบอดี้ที่ถูกสร้างขึ้นจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย หรือการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ (Biopsy) นอกจากนั้น แพทย์อาจให้มีการตรวจสมรรถภาพปอด (Pulmonary Function Tests) ทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ที่ปอด และตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram) เป็นต้น
เนื่องจากโรคหนังแข็งยังไม่สามารถรักษาได้ แต่มีวิธีจัดการกับอาการที่เกิดขึ้นได้ โดยแพทย์อาจใช้การรักษา ต่อไปนี้
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจะมีตั้งแต่ระดับที่ไม่รุนแรงจนถึงรุนแรง และอาจส่งผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ได้แก่