Illness name: รูขุมขนอักเสบ
Description: รูขุมขนอักเสบ คืออาการของรูขุมขนที่ติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา ทำให้เกิดเป็นตุ่มแดงเล็ก ๆ หรือสิวหัวขาวขึ้นบริเวณผิวหนังที่มีการอักเสบ พบได้ทุกส่วนของร่างกายที่มีขน โดยเฉพาะหนังศีรษะ หน้าอก หลัง ก้น แขน และขา อาการดังกล่าวหายได้เองภายใน 2 สัปดาห์ แต่ในกรณีที่ไม่ดีขึ้นอาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการติดเชื้อ รูขุมขนอักเสบแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามความลึกของการอักเสบ ดังนี้ อาการของรูขุมขนอักเสบ อาการรูขุมขนอักเสบที่สังเกตเห็นได้ชัดคือ ตุ่มสีแดงขนาดเล็กบริเวณรูขุมขนและมีเส้นขนอยู่ตรงกลางตุ่ม หรือเป็นสิวหัวสีขาวตามผิวหนัง อาจมีหนองอยู่ภายใน บางครั้งอาจเกิดขึ้นใกล้ ๆ กันเป็นกลุ่ม นอกจากนี้ ตุ่มดังกล่าวอาจทำให้มีอาการคัน ปวดแสบปวดร้อน มีอาการกดเจ็บ หรือมีตุ่มบวมขนาดใหญ่บริเวณดังกล่าวได้อีกด้วย สาเหตุของรูขุมขนอักเสบ รูขุมขนอักเสบมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่าสแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส หรือเชื้อรา ผู้ป่วยอาจได้รับเชื้อดังกล่าวผ่านการสัมผัสผิวหนังหรือของใช้ส่วนตัวของผู้ติดเชื้อ เช่น ผ้าเช็ดตัว สบู่ หรือเสื้อผ้า นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจนำมาสู่การติดเชื้อจนเกิดการอักเสบของรูขุมขนได้ มีดังนี้ การวินิจฉัยอาการรูขุมขนอักเสบ ในเบื้องต้น อาการของรูขุมขนอักเสบสังเกตได้จากลักษณะผิวหนังที่เปลี่ยนไป เช่น มีผื่นหรือตุ่มลักษณะผิดปกติ หากไม่แน่ใจว่าอาการดังกล่าวเกิดจากสาเหตุใดหรือรู้สึกเป็นกังวล ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย ขั้นแรกแพทย์จะตรวจดูบริเวณผิวหนังที่เกิดผื่นหรือตุ่ม พร้อมซักประวัติด้านสุขภาพและกิจกรรมบางอย่างที่ผู้ป่วยเคยทำในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา จากนั้นอาจส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ใช่อาการของปัญหาผิวหนังชนิดอื่น ๆ เช่น แผลพุพอง หรือผดร้อน วิธีการตรวจที่อาจนำมาใช้ มีดังนี้ เมื่อทราบผลการตรวจและวินิจฉัยได้อย่างแน่ชัดแล้ว แพทย์จะพิจารณาวางแผนการรักษาต่อไป วิธีการรักษารูขุมขนอักเสบนั้นขึ้นอยู่กับประเภทและความรุนแรงของอาการ หากอาการไม่รุนแรงมากนักอาจหายดีได้เอง ในระหว่างรอให้อาการดีขึ้น ผู้ป่วยควรดูแลตัวเองเพื่อลดอาการเจ็บปวดหรือช่วยให้หายเร็วขึ้น รวมทั้งป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อด้วยวิธีต่อไปนี้ ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการค่อนข้างรุนแรงหรือเชื้อแพร่กระจายไปยังผิวหนังบริเวณอื่น ๆ แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาปฏิชีวนะหรือยาต้านเชื้อราเพื่อรักษาการติดเชื้อ ขึ้นอยู่กับเชื้อที่ก่อให้เกิดการอักเสบ ในกรณีที่มีอาการเรื้อรังหรือกลับมาเป็นซ้ำ ผู้ป่วยอาจต้องใช้ทั้งยาทาและยารับประทานสำหรับรักษาอาการอักเสบและติดเชื้อควบคู่กันไป ทั้งนี้ หากมีการอักเสบหรือติดเชื้อจนเกิดเป็นหนอง แพทย์อาจใช้การผ่าตัดระบายหนองเพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดและทำให้แผลหายเร็วขึ้น หากรักษาทุกวิธีแล้วยังมีภาวะรูขุมขนอักเสบเกิดซ้ำหรือผลการรักษาไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ แพทย์อาจเสนอให้ใช้เลเซอร์กำจัดขน วิธีนี้จะช่วยลดการติดเชื้อโดยทำลายรูขุมขนอย่างถาวร และส่งผลให้ความหนาแน่นของขนในบริเวณดังกล่าวลดลงด้วย แต่อาจมีผลข้างเคียงเป็นแผลพุพอง รอยแผลเป็น หรือรอยด่างที่ผิวหนังได้ ภาวะแทรกซ้อนรูขุมขนอักเสบ ส่วนใหญ่แล้วรูขุมขนอักเสบหายได้เองและไม่มีอาการรุนแรง แต่ในบางกรณีอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนบางอย่างตามมา ดังนี้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่เคยมีอาการรูขุมขนอักเสบมาก่อนอาจกลับมาเป็นซ้ำอีกครั้งได้ หากเกิดการติดเชื้อหรือระคายเคืองที่ผิวหนัง การป้องกันรูขุมขนอักเสบ รูขุมขุนอักเสบป้องกันได้ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการอักเสบตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ ความหมาย รูขุมขนอักเสบ
การรักษารูขุมขนอักเสบ