Illness name: ไขมันพอกตับ
Description: ไขมันพอกตับ (Fatty Liver Disease) คือภาวะที่ไขมันเข้าไปแทรกที่เซลล์ของตับ ซึ่งหากสะสมมากกว่า 5-10% ของน้ำหนักตับ จะถือว่าเป็นภาวะไขมันพอกตับ ทำให้ตับเกิดการอักเสบ หรือเซลล์ตับตาย และเกิดพังผืดภายในตับ จนกลายเป็นโรคตับแข็งในที่สุด ซึ่งหากอาการของโรคดำเนินไปจนถึงภาวะตับแข็ง จะไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาหรือวิธีทางการแพทย์ใด ๆ ทำได้เพียงควบคุมอาการและลดปริมาณไขมันในตับลงโดยการดูแลสุขภาพมากขึ้นตามคำแนะนำของแพทย์ อย่างไรก็ตาม หากตรวจพบภาวะไขมันพอกตับตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูสภาพตับได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีไขมันต่ำ เป็นต้น นอกจากนี้ ปัจจุบันยังมีตัวยาทางเลือกบางชนิดที่มีการวิจัยพบว่าอาจมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคนี้ แต่ก็ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่ชัดเจน เช่น วิตามินอี Ursodeoxycholic Acid สารสกัดจากพรูนัส มูเม่ (Prunus Mume) ยารักษาโรคเบาหวานบางชนิด เป็นต้น โดยไขมันพอกตับแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ อาการของไขมันพอกตับ อาการของไขมันพอกตับจะไม่แสดงให้เห็นตั้งแต่เริ่มแรก ทว่าจะเริ่มมีอาการที่เป็นผลพวงจากการที่ไขมันสะสมอยู่ในตับจำนวนมาก โดยอาการที่พบได้บ่อยคือ นอกจากนี้ โรคไขมันพอกตับอาจทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น ตับโต เกิดอาการปวดที่บริเวณท้องด้านบนขวา หรือกลางท้อง และอาจพบรอยปื้นคล้ำที่ผิวหนังบริเวณ คอ หรือใต้รักแร้ อีกทั้งหากมีไขมันแทรกอยู่ในเซลล์ของตับมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดพิษในเซลล์ตับทำให้ตับอักเสบและเกิดพังผืดได้อีกด้วย สาเหตุของไขมันพอกตับ สาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะไขมันพอกตับเกิดจากการที่ร่างกายสะสมไขมันมากเกินไป หรือเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับระบบเผาผลาญไขมัน ที่เป็นผลมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ ภาวะดื้ออินซูลิน หรือความผิดปกติของเอนไซม์และตัวรับ (Receptor) ที่อยู่ในร่างกาย จนมีไขมันส่วนเกินไปสะสมอยู่ในเซลล์ตับ กลายเป็นภาวะไขมันพอกตับ ทั้งนี้ไขมันที่ไปแทรกตามเซลล์ตับอาจไม่ได้เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงโดยตรง แต่อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น นอกจากนี้ยังมีโรคและภาวะต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัยให้เกิดความเสี่ยงไขมันพอกตับสูงขึ้น ได้แก่ การวินิจฉัยภาวะไขมันพอกตับ การตรวจร่างกายเป็นวิธีเดียวที่สามารถระบุได้ว่าผู้ป่วยมีภาวะไขมันพอกตับหรือไม่ โดยในขั้นต้นหากแพทย์พบความผิดปกติที่ตับ เช่น คลำที่ท้องแล้วบริเวณตับมีอาการโตผิดปกติ หรือซักประวัติผู้ป่วยแล้ว ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย ความอยากอาหารลดลง เคยมีประวัติดื่มแอลกอฮอล์ มีการใช้ยาหรืออาหารเสริมต่าง ๆ แพทย์ก็จะสั่งตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด ไม่สามารถระบุภาวะไขมันพอกตับได้ชัดเจน แต่ช่วยให้แพทย์เห็นปริมาณเอนไซม์ของตับที่มากขึ้นผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณและปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของไขมันพอกตับ หรือในบางกรณีก็ทำให้แพทย์เห็นสัญญาณของการอักเสบของตับได้อีกด้วย ประเภทการตรวจเลือดที่แพทย์มักใช้ได้แก่ การดูภาพทางรังสีวินิจฉัย (Imaging Procedures) วิธีนี้จะช่วยให้แพทย์เห็นความผิดปกติของตับจากภาพถ่าย ซึ่งวิธีที่แพทย์ใช้ในเบื้องต้น คือ การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) จากนั้นหากแพทย์ต้องการผลที่ละเอียดมากขึ้น แพทย์อาจสั่งเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือการเอกซเรย์ด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (MRI) เพิ่มเติม เพื่อให้เห็นภาพของตับได้ชัดเจนจนสามารถยืนยันผลได้ การเก็บเนื้อเยื่อส่งตรวจ (Biopsy) เป็นวิธีที่ยืนยันผลได้ว่าผู้ป่วยมีภาวะไขมันพอกตับหรือไม่ และสาเหตุเกิดจากกอะไร โดยแพทย์จะทายาชาที่ผิวหนังบริเวณตับ จากนั้นใช้เข็มเจาะเข้าไปเพื่อเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อที่ตับ และนำไปตรวจโดยการส่องกล้องจุลทรรศน์ ผลที่ได้จะมีประสิทธิภาพมากกว่าการตรวจวินิจฉัยวิธีอื่น ๆ การรักษาไขมันพอกตับ การรักษาภาวะไขมันพอกตับมุ่งเน้นไปที่การหันมาดูแลสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ซึ่งผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ นอกจากนี้ ปัจจุบันมียาหลายชนิดที่มีการศึกษาพบว่าอาจเป็นประโยชน์ต่อการรักษาผู้ป่วยภาวะไขมันพอกตับ ซึ่งผู้บริโภคควรพิจารณาให้ดีก่อนใช้ยาหรืออาหารเสริมใด ๆ โดยควรเลือกใช้ยาหรืออาหารเสริมที่มีผลวิจัยทางการแพทย์รับรอง และใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรเสมอ ตัวอย่างยาและสารที่ใช้บรรเทาอาการของภาวะไขมันพอกตับ ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อนไขมันพอกตับ การควบคุมภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ดี จะทำให้ตับอักเสบ โดยการอักเสบนี้จะทำให้เกิดพังผืดในตับ หากไม่ได้รับการรักษาที่ดีและทันท่วงที ก็จะทำให้พังผืดขยายตัวมากขึ้นและลุกลามจนตับเสื่อมสภาพ กลายเป็นโรคตับแข็งในที่สุด ขณะที่ผู้ป่วยไขมันพอกตับ และติดแอลกอฮอล์ หรือไวรัสตับอักเสบซี นั้นมีเสี่ยงต่อโรคตับแข็งมากกว่าคนปกติ และหากไม่รีบรักษาอาจนำไปสู่อาการอื่น ๆ ได้แก่ การป้องกันไขมันพอกตับ ไขมันพอกตับเป็นภาวะสุขภาพที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ หากมีการดูแลสุขภาพที่ดีพอ และเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชชนิดต่าง ๆ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง เปลี่ยนมารับประทานอาหารที่มีไขมันดี เช่น ถั่วเปลือกแข็ง อะโวคาโด ปลาทะเล เป็นต้น อีกทั้งควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที ให้เป็นประจำสม่ำเสมอจะช่วยในเรื่องการควบคุมน้ำหนักและกระตุ้นระบบเผาผลาญ หากเป็นผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ก็ควรควบคุมปริมาณการดื่มแต่พอดี โดยผู้ชายควรดื่มไม่เกินวันละ 2 แก้ว และผู้หญิงไม่ควรเกินวันละ 1 แก้ว สำหรับผู้ที่ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบเผาผลาญ อาทิ โรคเบาหวาน ภาวะคอเลสเตอรอลสูง ควรดูแลตัวเองตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เท่านี้ก็จะช่วยให้ลดความเสี่ยงจากภาวะไขมันพอกตับได้ความหมาย ไขมันพอกตับ