Illness name: ปวดฟัน
Description: ปวดฟัน (Toothache) เป็นอาการปวดที่เกิดขึ้นบริเวณฟัน โดยอาจมีจุดเริ่มต้นการปวดจากภายในฟันหรือที่เหงือกและโครงสร้างกระดูกฟันรอบ ๆ มักรู้สึกปวดอย่างต่อเนื่องหรือปวดเป็นระยะ ๆ ไม่หาย สาเหตุที่พบได้บ่อยคือการมีฟันผุ หรือติดเชื้อจากการรักษาสุขอนามัยช่องปากไม่ดี ทั้งนี้การดื่มเครื่องดื่มเย็น ๆ หรือแรงกดของฟันขณะเคี้ยวอาหารยังอาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้มีอาการปวดได้ หรือบางครั้งก็เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ อาการปวดฟัน อาการปวดฟันเกิดขึ้นได้หลายลักษณะ ตั้งแต่ระดับไม่รุนแรงไปจนถึงรุนแรง โดยอาการปวดฟันหรืออาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นร่วมด้วย สังเกตได้ดังนี้ ทั้งนี้ อาการปวดฟันที่เกิดขึ้นนานกว่า 1-2 วัน ควรได้รับการตรวจรักษาโดยทันตแพทย์โดยเร็ว หากปล่อยทิ้งไว้อาการจะยิ่งแย่ลง โดยอาการปวดฟันที่ไม่ได้รับการรักษานั้น อาจส่งผลให้เนื้อฟันที่อยู่ภายในติดเชื้อและมักนำไปสู่การเกิดหนอง ซึ่งจะทำให้มีอาการปวดตุบ ๆ อย่างต่อเนื่องและรุนแรงตามมา ระหว่างที่ผู้ป่วยรอการรักษาอาจรับประทานยาบรรเทาปวด เช่น พาราเซตามอล (Acetaminophen) หรือไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) และเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี ไม่ควรรับประทานยาแอสไพริน (Aspirin) สาเหตุของการปวดฟัน อาการปวดฟันมักเกิดจากความเสียหายที่เกิดขึ้นบริเวณฟัน ส่วนมากเป็นผลมาจากการมีฟันผุ ซึ่งจะรู้สึกได้เมื่อฟันเริ่มเป็นโพรงขนาดใหญ่และลึกลงไปยังชั้นฟันต่าง ๆ จากเคลือบฟันที่อยู่ชั้นนอกสุดไปถึงเนื้อฟันที่อยู่ชั้นถัดไป โดยเป็นชั้นที่ไวต่อความรู้สึก เนื่องจากมีท่อเล็ก ๆ ต่อมาจากโพรงเนื้อฟันที่อยู่ชั้นในสุด ซึ่งโพรงเนื้อฟันนั้นเป็นส่วนที่มีเส้นประสาทรับความรู้สึกและเส้นเลือดอยู่ เมื่อฟันผุลึกลงมาถึงบริเวณกลางฟันจนสร้างความเสียหายต่อโพรงฟันนี้มากเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสเผชิญอาการปวดฟันได้มากยิ่งขึ้น ส่วนสาเหตุอื่นที่อาจก่อให้เกิดอาการปวดฟันได้มีดังนี้ การวินิจฉัยอาการปวดฟัน แพทย์อาจตรวจหาสาเหตุของอาการปวดฟันด้วยการตรวจเอกซเรย์ฟันและใช้การทดสอบอื่น ๆ เช่น การทดสอบด้วยการใช้อุณหภูมิเย็น การเคี้ยว หรือการใช้นิ้วมือกดลงบนเหงือก ซึ่งจะช่วยให้ทราบว่าเป็นอาการปวดรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับโพรงประสาทฟันหรือปวดจากการมีเนื้อเยื่อฟันอักเสบ โดยระยะเวลาและความรุนแรงของอาการปวดที่เกิดขึ้นหลังการใช้ความเย็นกระตุ้นจะช่วยในการพิจารณาและวินิจฉัยสาเหตุอาการปวดฟันของแพทย์ ทั้งนี้อาการปวดที่มาจากบริเวณอื่นที่ไม่ใช่ฟัน แต่รู้สึกเหมือนปวดฟัน ถือเป็นกรณีที่ต้องใช้ความแม่นยำในการวินิจฉัยเป็นอย่างมาก การรักษาอาการปวดฟัน การรักษาอาการปวดฟันขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการปวดฟันที่ตรวจพบ หากเกิดจากฟันผุ แพทย์จะนำเอาฟันที่ผุออกแล้วอุดด้วยวัสดุทดแทนเนื้อฟันที่สูญเสียไป หรือหากมีสาเหตุมาจากวัสดุอุดฟันเกิดแตกหักหรือหลวมก็จะนำวัสดุเก่าออกแล้วอุดให้ใหม่ ส่วนในกรณีที่โพรงประสาทฟันหรือเนื้อฟันติดเชื้อ ผู้ป่วยอาจต้องรับการรักษารากฟัน โดยเป็นวิธีการนำเนื้อฟันที่ติดเชื้อออก แล้วใช้วัสดุอุดฟันปิดไม่ให้เกิดการติดเชื้อขึ้นอีก หรือหากเชื้อแบคทีเรียทำให้มีอาการไข้ ขากรรไกรบวม ผู้ป่วยต้องรับประทานยาปฏิชีวนะร่วมด้วย ทั้งนี้บางรายอาจไม่สามารถรักษาด้วยวิธีเหล่านี้ ทำให้ต้องถอนฟันซี่ที่ปวดออก เช่น เมื่อฟันผุมากเกินไปจนไม่สามารถใช้การรักษารากฟัน หรือมีฟันคุด เป็นต้น และบางครั้งอาจให้การบำบัดเสริมด้วยเลเซอร์เย็น เพื่อช่วยลดความเจ็บปวดและการอักเสบที่เกิดขึ้นจากอาการปวดฟันไปพร้อมกับการรักษาชนิดอื่น ๆ การรักษาด้วยตนเอง ระหว่างที่ยังไม่ได้รับการตรวจรักษาจากทันตแพทย์ อาจใช้การบรรเทาอาการปวดชั่วคราวด้วยตนเองไปพลาง ๆ ดังนี้ การรักษากรณีตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์นั้นสามารถรักษาปัญหาเกี่ยวกับฟันได้อย่างปลอดภัย ซึ่งช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการรักษาอาการปวดฟันคือช่วงระหว่างไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ ทว่าหากอาการปวดฟันที่เกิดขึ้นมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือเจ็บปวดรุนแรง แพทย์อาจจำเป็นต้องรักษาทันที โดยปรึกษากับสูตินารีแพทย์เกี่ยวกับการเลือกวิธีรักษาที่ปลอดภัยที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการรักษา ทั้งนี้ ระหว่างการรักษาหากจำเป็นต้องเอกซเรย์ฟัน แพทย์จำเป็นต้องใช้แผ่นตะกั่วกำบังครรภ์ของคนไข้ไว้เสมอ เพื่อความปลอดภัยของทารกในครรภ์ และก่อนการใช้ยาใด ๆ ต้องผ่านการพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบแล้วว่าจะไม่เป็นอันตรายต่อครรภ์ เช่น ยาระงับความรู้สึกที่ให้ระหว่างรักษา หรือยาปฏิชีวนะ เช่น อะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin) ที่จะให้รับประทานก่อนหรือหลังการผ่าตัด นอกจากนี้ หญิงตั้งครรภ์ยังควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาหาซื้อเองจากร้านค้าบางชนิดที่อาจเป็นอันตรายต่อครรภ์ เช่น แอสไพริน (Aspirin) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือนาพรอกเซน (Naproxen) แต่สามารถรับประทานยาพาราเซตามอล (Acetaminophen) บรรเทาอาการปวดได้ การป้องกันอาการปวดฟัน การหมั่นรักษาสุขภาพเหงือกและฟันเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันอาการปวดฟันและโรคเกี่ยวกับฟันชนิดอื่นๆ สามารถปฎิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้ความหมาย ปวดฟัน