Illness name: โรคพิษสุราเรื้อรัง
Description: โรคพิษสุราเรื้อรัง เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานานจนไม่สามารถเลิกดื่มได้ แม้รู้ว่าการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำนั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพหรือกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันก็ตาม ซึ่งหากหยุดดื่มอาจก่อให้เกิดอาการขาดสุรา เช่น มือสั่น หงุดหงิด อาเจียน สันสน หรือประสาทหลอน เป็นต้น โดยผู้ที่ประสบปัญหานี้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการบำบัดอย่างถูกต้อง อาการของโรคพิษสุราเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรังอาจมีอาการแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไป อาการบ่งชี้ของโรคนี้มี 3 ระยะ ได้แก่ ระยะแรก ระยะกลาง ระยะรุนแรง สาเหตุของโรคพิษสุราเรื้อรัง ปัจจุบันในทางการแพทย์ยังไม่สามารถสรุปสาเหตุของโรคพิษสุราเรื้อรังได้อย่างแน่ชัด แต่คาดว่าการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากส่งผลให้สารเคมีในสมองเปลี่ยนแปลงและทำให้เกิดความรู้สึกสุขสมตามมา จนอาจทำให้ความรู้สึกดังกล่าวส่งผลต่อผู้บริโภคให้ต้องการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ และเกิดการเสพติดในที่สุด ซึ่งหากหยุดดื่มอาจมีอาการขาดสุราตามมาจึงทำให้เลิกดื่มได้ยากไปด้วย โดยผู้ที่อยู่ในกลุ่มต่อไปนี้ อาจเสี่ยงต่อโรคพิษสุราเรื้อรังมากกว่าคนทั่วไป การวินิจฉัยโรคพิษสุราเรื้อรัง หากพบว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิดมีอาการบ่งชี้ของโรคพิษสุราเรื้อรัง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและเข้ารับการบำบัดรักษาอย่างถูกต้อง โดยวิธีวินิจฉัยโรคพิษสุราเรื้อรัง มีดังนี้ การรักษาโรคพิษสุราเรื้อรัง การรักษาโรคพิษสุราเรื้อรังมีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยหยุดดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้ การถอนพิษสุรา อาจเรียกว่าช่วงล้างพิษ จัดเป็นขั้นตอนแรกของการรักษาโรคนี้ โดยแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยหยุดดื่มหรือลดการดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับให้ยาบรรเทาอาการขาดสุราควบคู่ไปด้วย การฟื้นฟูสมรรถภาพ เป็นการเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรู้จักควบคุมพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของตัวเอง การให้คำปรึกษาทางจิต เพื่อบำบัดความผิดปกติทางจิตที่เป็นสาเหตุของโรคพิษสุราเรื้อรัง ซึ่งอาจเป็นการบำบัดแบบกลุ่มหรือการบำบัดรายบุคคล โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ การรับประทานยา แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยบางรายรับประทานยาที่มีฤทธิ์ช่วยให้ไม่อยากดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ ส่วนผู้ป่วยที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังขั้นรุนแรง แพทย์จะเฝ้าดูอาการขาดสุราตลอด 24 ชั่วโมง โดยให้ผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดในโรงพยาบาลด้วย เมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นแพทย์จึงจะอนุญาตให้กลับบ้านได้ แต่หลังจากนั้นผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องจนหายดี ภาวะแทรกซ้อนของโรคพิษสุราเรื้อรัง การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตในด้านต่าง ๆ ดังนี้ การป้องกันโรคพิษสุราเรื้อรัง โรคพิษสุราเรื้อรังสามารถป้องกันได้ เพียงจำกัดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ของตัวเอง โดยทั่วไปเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่ละชนิดมักมีปริมาณแอลกอฮอล์ไม่เท่ากัน โดย 1 ดื่มมาตรฐานของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะเท่ากับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ 10 กรัม เฉลี่ยแล้ว 1 ดื่มอาจเท่ากับเบียร์ 360 มิลลิลิตร ไวน์ 150 มิลลิลิตร และสุรา 45 มิลลิลิตร จากคำแนะนำของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขประเทศไทย ผู้ชายไม่ควรดื่มเกิน 4 ดื่มมาตรฐาน/วัน ส่วนผู้หญิงไม่ควรดื่มเกิน 2 ดื่มมาตรฐาน/วัน นอกจากนั้น วัยรุ่นอาจเป็นวัยที่เสี่ยงต่อโรคพิษสุราเรื้อรังค่อนข้างสูง พ่อแม่จึงควรสังเกตสัญญาณผิดปกติที่เกิดขึ้นกับลูก และปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ เพื่อป้องกันพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ที่ไม่เหมาะสมของลูกความหมาย โรคพิษสุราเรื้อรัง