Illness name: sss
Description: SSS (Sick Sinus Syndrome) หรือกลุ่มอาการซิคไซนัส เกิดจากเซลล์เพซเมกเกอร์หรือตุ่มไซนัสซึ่งมีหน้าที่ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจทำงานผิดปกติ ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ป่วยอาจรู้สึกอ่อนเพลีย มึนงง หายใจถี่ เจ็บหน้าอก หรือใจสั่น โดยผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์ทันทีหากพบว่ามีอาการดังกล่าว ตุ่มไซนัสที่ทำงานผิดปกติจะส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีลักษณะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติแตกต่างกันไป ได้แก่ ทั้งนี้ หากมีสัญญาณบ่งชี้ของกลุ่มอาการ SSS ดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที ทางการแพทย์คาดว่าเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจที่เกิดความเสียหายเป็นสาเหตุที่ส่งผลให้ตุ่มไซนัสทำงานผิดปกติจนเกิดกลุ่มอาการ SSS ขึ้น โดยปัจจัยหลักที่ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจเกิดความเสียหาย ได้แก่ นอกจากนี้ ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ ผู้ป่วยภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ อาจเสี่ยงต่อกลุ่มอาการซิคไซนัสมากกว่าคนทั่วไปด้วย การวินิจฉัยกลุ่มอาการ SSS นั้นทำได้ค่อนข้างยาก เพราะอาการอ่อนเพลีย มึนงง หรือหายใจถี่ ซึ่งเป็นอาการบ่งชี้ของกลุ่มอาการนี้ก็อาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่นได้เช่นกัน การวินิจฉัยในขั้นแรกจึงเป็นการตรวจร่างกายเบื้องต้นและสอบถามประวัติทางการแพทย์ จากนั้นแพทย์อาจตรวจดูจังหวะการเต้นของหัวใจและตรวจกล้ามเนื้อหัวใจด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้ การรักษากลุ่มอาการ SSS ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและสาเหตุที่พบด้วย หากเกิดจากการรับประทานยา แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยหยุดใช้ยาชนิดนั้นทันที ทั้งนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจจำเป็นต้องฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจไว้บริเวณหน้าอกหรือช่องท้อง โดยอุปกรณ์ดังกล่าวจะส่งคลื่นไฟฟ้าไปยังหัวใจเพื่อกระตุ้นให้หัวใจเต้นด้วยอัตราเร็วปกติ อย่างไรก็ตาม แม้การฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจจะมีความปลอดภัยสูง แต่ผู้ป่วยบางรายก็อาจประสบกับผลข้างเคียง ดังต่อไปนี้ นอกจากการฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยบางรายรับประทานยาเพื่อประคับประคองอาการไม่ให้รุนแรงขึ้น ดังนี้ เมื่อตุ่มไซนัสซึ่งมีหน้าที่ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจทำงานผิดปกติ อาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดลง และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมาได้ ดังนี้ การป้องกันกลุ่มอาการซิคไซนัสนั้นทำได้ค่อนข้างยาก แต่สามารถลดความเสี่ยงได้โดยปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้ความหมาย กลุ่มอาการซิคไซนัส (SSS)
อาการของกลุ่มอาการซิคไซนัส
สาเหตุของกลุ่มอาการซิคไซนัส
การวินิจฉัยกลุ่มอาการซิคไซนัส
การรักษากลุ่มอาการซิคไซนัส
ภาวะแทรกซ้อนของกลุ่มอาการซิคไซนัส
การป้องกันกลุ่มอาการซิคไซนัส