Illness name: กระแดด
Description: Actinic Keratosis หรือแอกทินิก เคอราโทซิส เป็นอาการทางผิวหนังที่พบได้ทั่วไป มักถูกเรียกว่ากระแดดหรือกระผู้สูงวัย โดยผู้ป่วยอาจมีรอยตามผิวหนังบริเวณที่ได้รับแสงแดดเป็นเวลานาน อย่างหนังศีรษะ ใบหน้า ปาก คอ แขน หรือมือ ซึ่งรอยดังกล่าวอาจมีลักษณะเป็นสะเก็ด หยาบกร้าน แห้ง และอาจปรากฏเป็นสีต่าง ๆ เช่น สีน้ำตาล สีชมพู สีเทา หรือสีแทน เป็นต้น โดยความผิดปกตินี้มักเกิดจากเซลล์ผิวหนังเคราติโนไซท์เจริญเติบโตผิดปกติ และหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เป็นโรคมะเร็งผิวหนังชนิดสะความัสเซลล์ได้ แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย อาการของ Actinic Keratosis ผู้ป่วย Actinic Keratosis ส่วนใหญ่อาจมีรอยบนผิวหนังตามหนังศีรษะ ใบหน้า ปาก หู คอ แขนด้านล่าง และมือ ซึ่งรอยเหล่านี้อาจมีลักษณะหนา เป็นสะเก็ด หรือมีพื้นผิวที่นูนขึ้น และมักมีขนาดเล็กเท่ายางลบที่ก้นดินสอ รวมทั้งอาจมีสีแตกต่างกันออกไป อย่างสีชมพู สีน้ำตาล สีแดง หรือบางครั้งก็อาจมีสีเหมือนกับผิวหนังปกติ ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจมองไม่เห็นรอยดังกล่าวแต่อาจสัมผัสได้ โดยอาจรู้สึกว่ารอยนั้นหยาบกร้านหรือแห้งเมื่อสัมผัสโดน รวมถึงอาจรู้สึกคันหรือแสบร้อนในบริเวณดังกล่าวด้วย นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีริมฝีปากแตกและแห้งหลังจากตากแดด โดยเฉพาะริมฝีปากล่าง สาเหตุของ Actinic Keratosis สาเหตุหลักของ Actinic Keratosis มาจากการสัมผัสรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดดหรือแสงเทียมจากเตียงอาบแดดในปริมาณมากหรือเป็นประจำ ทำให้สารเคมีเคราติโนไซท์ที่อยู่ในเซลล์ผิวเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยสารเคมีชนิดนี้ทำหน้าที่ผลิตโปรตีนเคราตินที่ช่วยสร้างเนื้อเยื่อในเส้นผม เล็บ และผิวหนังชั้นนอก ซึ่งความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้ขนาด รูปร่าง หรือการทำงานของเคราติโนไซท์เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ กลุ่มคนต่อไปนี้อาจมีความเสี่ยงในการเกิดกระแดดมากกว่าคนทั่วไป การวินิจฉัย Actinic Keratosis เมื่อเข้าพบแพทย์ แพทย์อาจตรวจดูตามผิวหนังเพื่อดูว่าผู้ป่วยเป็น Actinic Keratosis หรือไม่ โดยเฉพาะหากตรวจพบสัญญาณที่น่าสงสัยอย่างมีตุ่มนูนหรือมีจุดตามผิวหนังที่เป็นไม่หาย และมีลักษณะ รูปร่าง ขนาด หรือสีที่ผิดปกติ รวมทั้งสัญญาณอาการอื่น ๆ เช่น มีสิวที่เป็นไม่หาย หรือมีปัญหาผิวหนังมีเลือดออกง่าย เป็นต้น ซึ่งแพทย์อาจตัดชิ้นเนื้อบริเวณนั้น ๆ ไปส่งตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อดูว่าเป็นโรคมะเร็งผิวหนังชนิดสะความัสเซลล์ด้วยหรือไม่ ทั้งนี้ การตัดชิ้นเนื้อเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้ทราบได้หากผู้ป่วยเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งผิวหนังชนิดดังกล่าว โดยผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติทางผิวหนัง ควรเข้ารับการตรวจจากแพทย์เป็นประจำด้วย การรักษา Actinic Keratosis วิธีการรักษาภาวะนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง จำนวน ขนาด หรือความรุนแรงของรอยผิดปกติ บางกรณีอาจต้องใช้การรักษามากกว่า 1 วิธี และการรักษาจะได้ผลดียิ่งขึ้นหากตรวจพบความผิดปกติแต่เนิ่น ๆ และทำการรักษาตั้งแต่ขั้นแรก ๆ โดยวิธีรักษา Actinic Keratosis อาจทำได้ ดังนี้ นอกจากนี้ หลังการรักษา แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจผิวหนังอย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี เพื่อเฝ้าระวังสัญญาณของการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง ภาวะแทรกซ้อนของ Actinic Keratosis หากไม่ทำการรักษา Actinic Keratosis ผู้ป่วยอาจเป็นโรคมะเร็งผิวหนังชนิดสะความัสเซลล์ได้ ซึ่งอาจรักษาโรคมะเร็งชนิดนี้ได้หากตรวจเจอโรคในขั้นแรก ๆ ดังนั้น หากผู้ป่วยมีรอยหรือตุ่มบนผิวหนังที่แข็ง แดง อักเสบ เป็นแผล มีขนาดใหญ่ขึ้น ไม่มีท่าทีว่าจะดีขึ้น มีสี รูปร่าง หรือพื้นผิวที่ผิดแปลกไป หรือมีเลือดออก ควรเข้ารับการตรวจรักษาจากแพทย์ทันที การป้องกัน Actinic Keratosis วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกัน Actinic Keratosis คือ หลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดด เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดกระแดดและโรคมะเร็งผิวหนัง โดยอาจป้องกันการเกิดกระแดด รวมทั้งการเจริญเติบโตหรือการเกิดซ้ำของรอยหรือแผ่นผิวหนังที่เป็นกระแดดได้ด้วยวิธีการ ดังนี้ ความหมาย กระแดด