Illness name: scrub typhus
Description: Scrub Typhus (โรคสครับไทฟัส) หรือโรคไข้รากสาดใหญ่ เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มริกเก็ตเซีย (Rickettsia) มีไรอ่อนเป็นพาหะนำโรค ซึ่งไรอ่อนมักจะอาศัยอยู่ตามพุ่มไม้ หรือทุ่งหญ้าในป่าละเมาะ เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้ออาจทำให้เกิดอาการ เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดตามตัว มีผื่นคัน คลื่นไส้และอาเจียน นอกจากนั้น โรคสครับไทฟัส มักมีการแพร่ระบาดในเขตชนบทแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย อินโดนีเซีย จีน ญี่ปุ่น อินเดีย หรือรวมไปถึงออสเตรเลียเหนือ อาการของ Scrub Typhus มักจะเกิดขึ้นภายใน 10 วัน หลังจากที่โดนไรอ่อนกัด โดยอาจทำให้เกิดอาการ ได้แก่ นอกจากนั้น ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้การทำงานของอวัยวะล้มเหลวและเลือดออก หรือหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เสียชีวิตได้ สาเหตุของ Scrub Typhus เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม ริกเก็ตเซีย (Rickettsia) ชื่อว่า โอเรียนเทีย ซูซูกามูชิ (Orientia Tsutsugamushi) โดยมีตัวไรอ่อน (Chigger) เป็นพาหะนำเชื้อดังกล่าวมาสู่คน ด้วยการกัดผิวหนังของคน ซึ่งตัวไรอ่อนชนิดนี้มักจะพบบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ โดยเฉพาะบริเวณป่าปิด พุ่มไม้ หรือทุ่งหญ้าในป่าละเมาะ และมักพบการติดเชื้อมากในช่วงหน้าฝน เนื่องจากอาการของโรค Scrub Typhus มีความคล้ายคลึงกับหลาย ๆ โรค ผู้ที่อาศัยหรือเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคควรสังเกตอาการที่เกิดขึ้นกับตนเอง แพทย์จะวินิจฉัยด้วยการตรวจเลือด ซึ่งจะช่วยในการวินิจฉัยแยกโรค รวมไปถึงอาจมีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งจะใช้เวลาหลายสัปดาห์จึงจะทราบผลการตรวจได้ ดังนั้น แพทย์จะเริ่มต้นการรักษาก่อนที่ผลตรวจจะเสร็จสิ้น นอกจากนั้น แพทย์อาจวินิจฉัยอื่น ๆ เพิ่มเติม ได้แก่ การรักษา Scrub Typhus แพทย์จะใช้ยาปฏิชีวนะ ได้แก่ นอกจากนั้น ยังพบว่ามีบางพื้นที่ที่อาจมีการดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรีย ซึ่งในประเทศไทยก็มีการดื้อยาดังกล่าว ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากโรคนี้ ได้แก่ เนื่องจากโรค Scrub Typhus ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ดังนั้นการป้องกันความเสี่ยงของการติดเชื้อ คือการหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือถูกตัวไรอ่อนที่มีเชื้อกัด ซึ่งมีวิธีป้องกันดังนี้ความหมาย โรคไข้รากสาดใหญ่ (Scrub Typhus)
อาการของโรคไข้รากสาดใหญ่
สาเหตุของโรคไข้รากสาดใหญ่
การวินิจฉัยโรคไข้รากสาดใหญ่
การรักษาโรคไข้รากสาดใหญ่
ภาวะแทรกซ้อนของโรคไข้รากสาดใหญ่
การป้องกันโรคไข้รากสาดใหญ่