Illness name: cardiac tamponade
Description: Cardiac Tamponade หรือภาวะบีบรัดหัวใจ เป็นภาวะที่เกิดจากการสะสมของเลือดหรือน้ำภายในถุงเยื่อหุ้มหัวใจ ส่งผลให้แรงดันในหัวใจของผู้ป่วยสูงขึ้น ทำให้หัวใจไม่สามารถขยายหรือทำงานได้อย่างปกติ และขัดขวางการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งอาจนำไปสู่การล้มเหลวของอวัยวะภายใน ช็อค และการเสียชีวิตได้ ภาวะ Cardiac Tamponade เป็นภาวะฉุกเฉินที่อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต และต้องได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด ซึ่งแพทย์จำเป็นต้องสังเกตอาการของผู้ป่วยขณะเข้ารับการรักษาอย่างใกล้ชิด เนื่องจากอาการอาจทรุดลงอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยที่มีภาวะ Cardiac Tamponade อาจแสดงสัญญาณออกเป็นอาการต่าง ๆ เช่น ฟังเสียงหัวใจได้แผ่วเบา มีภาวะความดันสูงในหลอดเลือดดำที่คอ ตัวเขียว และยังมีอาการอื่น ๆ เช่น อาการแสดงของภาวะบีบรัดหัวใจจะเกิดขึ้นเมื่อมีน้ำหรือเลือดสะสมในเยื่อหุ้มหัวใจเป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ในเบื้องต้น แพทย์สามารถสังเกตเห็นอาการสำคัญของภาวะบีบรัดหัวใจได้ โดยผู้ป่วยมักจะมีความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเต้นแผ่ว มีภาวะความดันในหลอดเลือดดำที่คอ หัวใจเต้นเร็วขึ้นพร้อมกับเสียงหัวใจเบาลง หลังจากนั้น แพทย์จะตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีอื่นเพื่อช่วยวินิจฉัยภาวะบีบรัดหัวใจ เช่น ภาวะ Cardiac Tamponade เป็นภาวะที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ซึ่งการรักษาจะเน้นไปที่การลดแรงดันรอบบริเวณหัวใจและรักษาอาการที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ โดยแพทย์จะทำการเจาะดูดเอาของเหลวออกจากช่องเยื่อหุ้มหัวใจ หรือบางรายอาจต้องผ่าตัดเปิดช่องทรวงอกเพื่อถ่ายเทเลือดหรือเอาลิ่มเลือดที่อุดตันออกหากผู้ป่วยมีบาดแผลทะลุเข้าไปในทรวงอก และอาจทำการตัดเยื่อบุหัวใจเพื่อลดแรงดันภายในหัวใจ ในขณะทำการรักษา ผู้ป่วยอาจได้รับออกซิเจน สารน้ำ หรือยาชนิดต่าง ๆ เพื่อช่วยเพิ่มความดันโลหิต หากผู้ป่วยมีอาการคงที่แล้ว แพทย์อาจมีการตรวจด้านอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของภาวะ Cardiac Tamponade และทำการรักษาในขั้นต่อไป ผู้ที่มีภาวะ Cardiac Tamponade อาจมีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว น้ำท่วมปอด เส้นเลือดแดงใหญ่ฉีกขาด เกิดความเสียหายบริเวณเส้นเลือด การติดเชื้อ เกิดอาการช็อค หรืออาจมีภาวะแทรกซ้อนอันตรายอื่น ๆ ที่นำไปสู่การเสียชีวิตได้ เนื่องจากภาวะ Cardiac Tamponade เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ จึงยากต่อการป้องกัน แต่อาจลดความเสี่ยงได้โดยการเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งอาจจะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ที่อาจนำไปสู่ภาวะบีบรัดหัวใจได้ อย่างไรก็ตาม การรู้เท่าทันปัจจัยเสี่ยงของตนเองอาจช่วยให้ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาอย่างรวดเร็วความหมาย Cardiac Tamponade
อาการของ Cardiac Tamponade
สาเหตุของ Cardiac Tamponade
การวินิจฉัย Cardiac Tamponade
การรักษา Cardiac Tamponade
ภาวะแทรกซ้อนของ Cardiac Tamponade
การป้องกัน Cardiac Tamponade