Illness name: ภาวะกระเพาะอาหารบีบตัวช้า
Description: Gastroparesis หรือ ภาวะกระเพาะอาหารบีบตัวช้าเป็นภาวะเรื้อรังที่ใช้เรียกเมื่อกระเพาะอาหารไม่สามารถย่อยอาหารได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก กรดไหลย้อน คลื่นไส้อาเจียน ท้องอืดได้ โดยสาเหตุของ Gastroparesis นั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่อาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ภาวะกระเพาะอาหารบีบตัวช้าอาจรักษาได้ด้วยการใช้ยา การผ่าตัด หรือการติดอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยขึ้นอยู่ความรุนแรงของโรคและดุลยพินิจของแพทย์ อย่างไรก็ตาม ภาวะดังกล่าวอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายตามมาได้ ภาวะกระเพาะอาหารบีบตัวช้าอาจทำให้เกิดความผิดปกติ เช่น ปวดท้อง ท้องอืด อิ่มเร็ว คลื่นไส้ อาเจียนซึ่งมักอาเจียนเอาอาหารที่ไม่สามารถย่อยได้ออกมา เบื่ออาหาร น้ำหนักลด แสบร้อนกลางอก และกรดไหลย้อน เป็นต้น โดยปกติแล้ว กล้ามเนื้อในระบบทางเดินอาหารนั้นถูกควบคุมด้วยเส้นประสาทที่ชื่อ Vagus โดยเส้นประสาทเส้นนี้จะคอยสั่งกล้ามเนื้อให้บีบตัวเพื่อเคลื่อนย้ายอาหารไปยังลำไส้เล็กเพื่อย่อยอาหาร ดังนั้น เมื่อเส้นประสาท Vagus ได้รับบาดเจ็บ ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตามจึงเป็นเหตุให้กระเพาะอาหารบีบตัวช้า ทำให้อาหารไม่ย่อย และมีอาหารตกค้างอยู่ในกระเพาะจนทำให้เกิดอาการในที่สุด โดย Gastroparesis มักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมาเป็นเวลานาน แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่น เช่น การติดเชื้อไวรัส ผลข้างเคียงจากการใช้ยาเสพติดและยาต้านเศร้า ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดกระเพาะอาหาร ภาวะแทรกซ้อนจากโรคแอมีลอยโดซิส (Amyloidosis) ซึ่งเป็นโรคสารโปรตีนส่วนเกินสะสม โรคหนังแข็ง (Scleroderma) ภาวะขาดไทรอยด์ (Hypothyroidism) หรืออาจเกิดจากโรคระบบประสาทชนิดอื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ เพศหญิงอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะดังกล่าวสูงกว่าเพศชาย ในเบื้องต้นแพทย์อาจซักประวัติการเจ็บป่วย อาการที่พบ และทำการตรวจร่างกายเพื่อหาความผิดปกติ โดยหลังจากนั้นแพทย์อาจใช้วิธีการต่อไปนี้เพื่อวินิจฉัยโรค แพทย์อาจทำการตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุของโรค รวมทั้งวัดระดับน้ำตาลในเลือดที่เป็นอาการของโรคเบาหวาน วิธีการนี้แพทย์จะให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่ผสมสารกัมมันตรังสีปริมาณต่ำเข้าไปด้วย เมื่อรับประทานเข้าไป แพทย์จะทำการสังเกตการเคลื่อนไหวของสารกัมมันตรังสีด้วยเครื่องแสกน ก่อนการตรวจด้วยวิธีนี้ผู้ป่วยควรงดการรับประทานยาช่วยย่อยและแจ้งแพทย์ให้ทราบก่อนการตรวจหากกำลังใช้ยานี้อยู่ การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้นเป็นการสอดท่อที่มีกล้องขนาดเล็กและบางเข้าไปในร่างกาย เพื่อตรวจสอบความผิดปกติภายในกระเพาะอาหารที่ทำให้เกิดภาวะนี้ อย่างแผลในกระเพาะอาหาร และภาวะไพลอรัสตีบ (Pyloric stenosis) ที่ทำให้เกิดโรคลำไส้อุดตัน นอกจากนี้ แพทย์อาจใช้วิธีบันทึกภาพแบบอื่น อย่างการให้ผู้ป่วยกลืนแคปซูลที่มีกล้องขนาดเล็กเพื่อใช้ในการบันทึกภาพกระเพาะอาหาร แพทย์อาจใช้คลื่นเสียงความถี่สูงหรืออัลตราซาวด์ในการแสดงภาพของไตและถุงน้ำดีที่อาจเป็นสาเหตุของอาการ ในบางกรณีแพทย์อาจใช้การตรวจภาพกระเพาะอาหารด้วยการให้ผู้ป่วยดื่มน้ำที่ผสมแป้งแบเรียมหรือสารทึบแสง และใช้เครื่องเอกซเรย์ในการแสดงภาพภายในกระเพาะ ภาวะกระเพาะอาหารบีบตัวช้าอาจรักษาได้ด้วยหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของโรค ดังนี้ ผู้ป่วยจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการรับประทานรวมทั้งเลือกอาหารให้เหมาะสม เช่น รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย นิ่ม ไม่เหนียว ไม่แข็ง กลืนง่าย และมีประโยชน์ รับประทานผักปรุงสุกและผลไม้สุก เลือกอาหารไขมันต่ำ ดื่มน้ำวันละ 1-1.5 ลิตร เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน แบ่งการรับประทานเป็นมือเล็ก ๆ หลายมื้อ เลี่ยงผักผลไม้เส้นใยสูง เลี่ยงการดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ หลังรับประทานควรเคลื่อนไหวเบา ๆ อย่างการเดิน ห้ามนอนหลังจากรับประทานเสร็จอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เป็นต้น นอกจากนี้ แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานวิตามินรวม ซึ่งผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์เกี่ยวกับชนิดหรือยี่ห้อของวิตามินว่ามีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความผิดปกติหรือไม่ โดยแพทย์หรือนักโภชนาการอาจแนะนำให้ผู้ป่วยภาวะ Gastroparesis รับประทานอาหารประเภทต่อไปนี้ ข้าว พาสต้า ขนมปังขัดสี มันฝรั่งปอกเปลือก เนื้อสัตว์ไม่ติดมันที่ไม่ปรุงด้วยการทอด ไข่ไก่ เต้าหู้ ปลาทูน่า กุ้ง หอย น้ำผักผลไม้ ซุปผัก กล้วย เห็ดปรุงสุก แครอทปรุงสุก นม และโยเกิร์ต อย่างไรก็ตาม หากทราบว่าตนเองมีโรคอื่น ๆ หรือแพ้อาหารเหล่านี้ ควรหลีกเลี่ยงและปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการเพื่อขอคำแนะนำ ยาที่ใช้รักษาภาวะ Gastroparesis อาจแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มยาช่วยย่อย อย่างยาเมโทโคลพราไมด์ (Metoclopramide) ยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin) หรือยาดอมเพอริโดน (Domperidone) โดยยาช่วยย่อยเข้าไปกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อกระเพาะให้เกิดการบีบตัว ส่งผลให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ปกติขึ้น ยากลุ่มที่สองเป็นยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน อย่างยาโปรคลอเปอราซีน (Prochlorperazine) และยาไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยยาอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ผู้ป่วยจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ และปฏิบัติตามฉลากยาอย่างเคร่งครัด แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนเข้ารับการผ่าตัดหากอาการไม่ตอบสนองต่อยา โดยการผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะ Gastroparesis มี 2 วิธีด้วยกัน ดังนี้ วิธีแรกเป็นการผ่าตัดเพื่อนำ Gastric stimulator หรือเครื่องกระตุ้นกระเพาะอาหารเข้าไปติดไว้ในช่องท้อง โดยอุปกรณ์ชนิดนี้จะคอยปล่อยกระแสไฟฟ้าเพื่อบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนและกระตุ้นการย่อยอาหาร ส่วนวิธีที่สอง คือ Gastric bypass ซึ่งเป็นการผ่าตัดเพื่อลดขนาดกระเพาะและเป็นวิธีเดียวกันกับที่ใช้รักษาโรคอ้วน มีจุดประสงค์เพื่อควบคุมปริมาณอาหารที่ผู้ป่วยได้รับ POP เป็นวิธีการรักษาภาวะ Gastroparesis ด้วยการส่องกล้องผ่านทางปากเข้าไปยังกระเพาะเพื่อตัดไพลอรัสหรือช่วงรอยต่อของกระเพาะส่วนล่างและลำไส้เล็ก ซึ่งช่วยให้อาหารเคลื่อนไปยังลำไส้เล็กและเข้าสู่กระบวนการย่อยได้ง่ายขึ้น ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงแพทย์มักทำการให้อาหารทางสายยางเป็นการชั่วคราว โดยวิธีการนี้แพทย์จะต้องเจาะหน้าท้องผู้ป่วยเพื่อสอดท่ออาหารเข้าไปยังลำไส้เล็กโดยตรง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารได้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องผ่านกระเพาะอาหาร แพทย์อาจใช้วิธีนี้เมื่อผู้ป่วยมีอาการรุนแรงเช่นกัน โดยจะทำการฉีดสารอาหารเข้ากระแสเลือดผ่านทางหลอดเลือดดำ ภาวะกระเพาะอาหารบีบตัวช้าอาจทำให้ภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารจากการหมักหมมของอาหารที่ยังไม่ย่อย เกิด Bezoar หรือก้อนแข็งอุดตันกระเพาะอาหาร ภาวะขาดน้ำ ภาวะทุพโภชนา และยังส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน นอกจากนี้ อาการของภาวะกระเพาะอาหารบีบตัวช้ายังอาจรบกวนการดำเนินชีวิตอีกด้วย เนื่องจากยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดของภาวะนี้ แพทย์จึงไม่สามารถระบุวิธีการป้องกันได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม มีข้อสันนิษฐานว่าอาจมีปัจจัยบางอย่างที่เพิ่มความเสี่ยงของภาวะนี้ขึ้น อย่างโรค ผลข้างเคียงจากการรักษา หรือพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ ดังนั้น จึงควรดูแลตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะดังกล่าว รวมถึงความเจ็บป่วยอื่น ๆความหมาย Gastroparesis
อาการของ Gastroparesis
สาเหตุของ Gastroparesis
การวินิจฉัย Gastroparesis
ตรวจเลือด
ตรวจการย่อยของกระเพาะอาหาร
ส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น (Upper Gastrointestinal Endoscopy)
แสดงภาพกระเพาะอาหาร
การรักษา Gastroparesis
เปลี่ยนอาหารและพฤติกรรมการรับประทาน
รักษาด้วยยา
ผ่าตัด
Per Oral Pyloromyotomy (POP)
ให้อาหารผ่านสายยาง
ฉีดสารอาหารเข้าหลอดเลือดดำ
ภาวะแทรกซ้อนของ Gastroparesis
การป้องกัน Gastroparesis