Illness name: melanoma มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา
Description: Melanoma เป็นโรคมะเร็งผิวหนังชนิดหนึ่งซึ่งพบได้น้อยแต่มีความรุนแรงมากกว่ามะเร็งผิวหนังชนิดอื่น เริ่มแรกจะส่งผลให้เกิดจุดบนผิวหนัง ดูคล้ายไฝที่มีลักษณะผิดปกติและมีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว หากตรวจพบตั้งแต่ในระยะแรกก็จะรักษาให้หายได้ แต่หากล่าช้าเซลล์มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายจนทำให้ยากต่อการรักษา โดยโรคมะเร็งผิวหนัง Melanoma แบ่งออกตามลักษณะของมะเร็งได้เป็น 5 ชนิด ดังนี้ Melanoma เกิดขึ้นได้กับผิวหนังทุกส่วนของร่างกาย แต่มักพบบริเวณที่โดนแสงแดดบ่อย ๆ เช่น หลัง หน้าอก ขา แขน คอ และใบหน้า เป็นต้น โดยในระยะเริ่มแรกผู้ป่วยอาจคิดว่าเป็นไฝธรรมดา เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกัน แต่หากเป็นมะเร็ง Melanoma ไฝที่เกิดขึ้นจะมีความผิดปกติที่สังเกตได้ ดังต่อไปนี้ ดังนั้น หากพบไฝที่มีลักษณะผิดปกติดังข้างต้น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจโดยละเอียด เพราะหากปล่อยไว้ มะเร็งอาจแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น ๆ และส่งผลให้รักษาได้ยาก สาเหตุสำคัญที่กระตุ้นให้เกิด Melanoma คือ การเผชิญรังสีอัลตราไวโอเลตที่พบในแสงแดด เพราะรังสีดังกล่าวจะเข้าไปทำลายเซลล์ผิวหนัง และทำให้ยีนซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตและการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังทำงานผิดปกติ ส่งผลให้เซลล์ผิวหนังที่เสียหายกลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด นอกจากนี้ ปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจทำให้เสี่ยงเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง Melanoma มากยิ่งขึ้น ได้แก่ ในเบื้องต้น หากพบไฝที่มีลักษณะผิดปกติหรือไฝมีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจอย่างละเอียด โดยแพทย์จะสังเกตความผิดปกติของผิวหนังและตรวจร่างกาย หากแพทย์สงสัยว่าความผิดปกติดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณของมะเร็งผิวหนัง อาจให้เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนังโดยเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อด้วยวิธีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ วิธีการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของผิวหนังด้วย หากไฝหรือผิวหนังที่ผิดปกติมีขนาดเล็ก แพทย์อาจเก็บชิ้นเนื้อทั้งหมดไปตรวจ แต่หากมีขนาดใหญ่ก็อาจจำเป็นต้องเก็บชิ้นเนื้อเพียงบางส่วนไปตรวจแทน ซึ่งหากผลตรวจชี้ว่าผู้ป่วยเป็น Melanoma แพทย์จะวิเคราะห์ว่ามะเร็งอยู่ในระยะใด และอาจตัดต่อมน้ำเหลืองบางส่วนไปตรวจดูว่ามีการแพร่กระจายหรือไม่ เพื่อวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับผู้ป่วยมากที่สุด เมื่อผลตรวจระบุว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งผิวหนังชนิด Melanoma แพทย์จะเริ่มรักษาทันที ซึ่งจะเลือกวิธีการรักษาโดยพิจารณาจากระยะและขนาดของมะเร็ง สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย และปัจจัยอื่น ๆ วิธีการรักษาที่แพทย์มักนำมาใช้ ได้แก่ ทั้งนี้ หากมะเร็ง Melanoma แพร่กระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายก็อาจเกิดเนื้องอกมะเร็งตามมาด้วย ซึ่งบางรายก็รักษาให้หายได้ แต่ในรายที่มีอาการรุนแรงมากจนไม่สามารถรักษาให้หายได้ แพทย์จะรักษาแบบประคับประคองอาการ และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยแทน แม้จะรักษา Melanoma จนหายดีแล้ว แต่ผู้ป่วยก็ยังคงมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างการกลับมาเป็นซ้ำที่บริเวณเดิม เกิดมะเร็งผิวหนังบริเวณอื่น หรือเป็นโรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ ได้ ซึ่งอาจมีโอกาสเสี่ยงสูงขึ้นหากมะเร็ง Melanoma ที่เกิดขึ้นครั้งก่อนมีความรุนแรงและมีการแพร่กระจายมาก ดังนั้น หลังหายดีแล้ว แพทย์ผู้ทำการรักษาอาจต้องประเมินความเสี่ยงในการกลับมาเป็นซ้ำของ Melanoma ด้วย หากผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูง แพทย์อาจนัดตรวจร่างกายเป็นระยะเพื่อเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด ส่วนผู้ป่วยเองก็ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติด้วยตัวเองอย่างสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังอย่างการรับรังสียูวีให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ Melanoma ป้องกันได้ด้วยการหลีกเลี่ยงสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้เซลล์ผิวหนังเกิดความเสียหาย ซึ่งทำได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ความหมาย มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา (Melanoma)
อาการของมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา
สาเหตุของมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา
การวินิจฉัยมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา
การรักษามะเร็งผิวหนังเมลาโนมา
ภาวะแทรกซ้อนของมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา
การป้องกันมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา