Illness name: ลำไส้อุดตัน 2
Description: ลำไส้อุดตัน (Intestinal Obstruction) คือภาวะที่มีสิ่งอุดตันหรือมีการรบกวนการบีบตัวของลำไส้ ทำให้อาหารหรือของเหลวต่าง ๆ เคลื่อนผ่านไม่ได้ตามปกติ ทำให้เกิดอาการปวดท้อง แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง อาการที่เกิดขึ้นมักบอกถึงตำแหน่งการอุดตันของลำไส้ โดยลำไส้อาจเกิดการอุดตันเพียงบางส่วนหรืออุดตันได้ทั้งหมด ซึ่งมีหลายสาเหตุ เช่น ท้องผูกรุนแรง พังผืดในลำไส้ ลำไส้ทำงานผิดปกติ เป็นต้น ควรรีบไปพบแพทย์หากมีอาการปวดท้องรุนแรง หรืออาการอื่น ๆ ของภาวะลำไส้อุดตัน ถ้าปล่อยไว้หรือไม่รักษาอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่มีอาการรุนแรงหรือเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ลำไส้อุดตันอาจแสดงออกได้หลายอาการ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของลำไส้ที่อุดตัน เช่น เบื่ออาหาร ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น ช่องท้องมีเสียงดังผิดปกติ เป็นต้น ลำไส้อุดตันทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ ดังนั้น ควรรีบไปพบแพทย์หากมีอาการที่บอกถึงการอุดตันของลำไส้ รวมถึงหากพบอาการอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ อาการซึ่งเป็นผลมาจากการอุดตันที่ลำไส้เล็ก อาการที่เป็นผลมาจากการอุดตันที่ลำไส้ใหญ่ ลำไส้อุดตันแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ภาวะลำไส้ตีบตัน และภาวะลำไส้อืด โดยแต่ละประเภทมีสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป ภาวะลำไส้ตีบตัน คือ ภาวะที่เกิดจากบางสิ่งไปอุดตันทางเดินของลำไส้ โดยเฉพาะการเกิดพังผืดในลำไส้ซึ่งมักเกิดภายหลังการผ่าตัดภายในช่องท้อง เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการอุดตันของลำไส้ หรืออาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ สาเหตุของการเกิดลำไส้อุดตันที่พบได้ในผู้ใหญ่ เช่น สาเหตุของการเกิดลำไส้อุดตันที่พบได้ในเด็ก เช่น รวมถึงสาเหตุที่พบได้น้อย เช่น ภาวะลำไส้อืดคือภาวะการทำงานผิดปกติของลำไส้ ซึ่งทำให้ไม่สามารถบีบตัวและเคลื่อนไหวได้ตามปกติ ส่งผลต่อการทำงานของระบบขับถ่าย หรือเรียกภาวะนี้ว่า Paralytic Ileus โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ในการวินิจฉัยตำแหน่งและสาเหตุของการเกิดลำไส้อุดตัน แพทย์จะถามเกี่ยวกับประวัติของผู้ป่วย รวมถึงอาการต่าง ๆ ว่าเริ่มปวดท้องหรือพบอาการตั้งแต่เมื่อใด เคยพบอาการเหล่านี้มาก่อนหรือไม่ มีอาการปวดอย่างต่อเนื่องหรือเป็น ๆ หาย ๆ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เป็นไข้ อุจจาระเป็นเลือด ท้องผูก หรือท้องเสียร่วมด้วยหรือเปล่า หรือผู้ป่วยเคยมีประวัติการผ่าตัดหรือฉายรังสีที่บริเวณช่องท้องมาก่อนหรือไม่ แพทย์จะทำการตรวจอาการบวมที่ช่องท้อง ฟังเสียงการทำงานของลำไส้ หรืออาจมีแนวทางในการวินิจฉัยอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังต่อไปนี้ การรักษาลำไส้อุดตันจำเป็นต้องตรวจหาสาเหตุและรักษาที่โรงพยาบาล หากผู้ป่วยมารับการตรวจในโรงพยาบาลแล้วสงสัยภาวะลำไส้อุดตัน แพทย์จะประคองอาการท้องอืดโดยใส่สายยางผ่านทางจมูกเพื่อดูดเอาอากาศและของเหลวออกจากกระเพาะอาหารทำให้อาการบวมที่บริเวณช่องท้องลดลง และบรรเทาอาการปวดและอืดแน่นท้อง โดยส่วนใหญ่ การรักษาลำไส้อุดตันมักต้องผ่าตัด เพื่อป้องกันการเกิดภาวะช็อก แพทย์จะให้น้ำเกลือผ่านทางเส้นเลือดที่บริเวณแขน เพื่อเพิ่มสมดุลระดับแร่ธาตุและอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย และใส่ท่อเพื่อระบายปัสสาวะและนำตัวอย่างปัสสาวะไปตรวจ จากนั้นแพทย์จะรักษาลำไส้อุดตันตามสาเหตุและอาการของผู้ป่วย โดยมีแนวทางดังต่อไปนี้ ในขั้นนี้ น้ำหรืออาหารยังเคลื่อนตัวผ่านลำไส้ได้บ้าง แพทย์อาจให้รับประทานเหลวในระยะแรก หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ในระยะยาวแพทย์อาจแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย เช่น เนื้อแดงปรุงสุก ปลา ไข่ นม โยเกิร์ต ผักกาดหอม กล้วยสุก น้ำผลไม้ เป็นต้น หากพบว่าอาการไม่ดีขึ้น อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดร่วมด้วย ในขั้นนี้น้ำหรืออาหารจะไม่สามารถเคลื่อนตัวผ่านลำไส้ได้เลย แพทย์จะผ่าตัดเพื่อนำสิ่งอุดตันออกจากลำไส้ หรือผ่าตัดลำไส้ส่วนที่เสียหายออก หรือแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยใส่ขดลวดถ่างขยายลำไส้ (Metal Stents) เพื่อประคองอาการระหว่างรอผ่าตัด อาการอาจดีขึ้นได้โดยไม่ต้องผ่าตัด แพทย์อาจให้อาหารทางสายยางเพื่อป้องกันภาวะขาดสารอาหาร หากพบว่าอาการไม่ดีขึ้นอาจต้องใช้ยาช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ หากอาการยังไม่ดีขึ้นหลังการรักษาด้วยยา อาจต้องผ่าตัดลำไส้ในส่วนที่เกิดความเสียหายออก หากพบว่าผู้ป่วยเกิดภาวะลำไส้ขยายตัว แพทย์จะรักษาด้วยการบีบไล่อุจจาระร่วมกับการส่องกล้อง หากปล่อยไว้หรือไม่ได้รับการรักษาอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ภาวะขาดน้ำ ระดับแร่ธาตุและอิเล็กโทรไลต์ในร่างกายไม่สมดุล ลำไส้ทะลุ ภาวะไตวาย หากการอุดตันที่เกิดขึ้นไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือดไม่ให้ไปยังส่วนต่าง ๆ ของลำไส้อาจทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น เนื้อเยื่อในลำไส้ตาย ลำไส้ทะลุและเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด การทำงานของอวัยวะภายในล้มเหลว หรือเสียชีวิตได้ ลำไส้อุดตันป้องกันได้โดยลดการเกิดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ชีวิต เช่นความหมาย ลำไส้อุดตัน
อาการของลำไส้อุดตัน
สาเหตุของลำไส้อุดตัน
ภาวะลำไส้ตีบตัน (Mechanical Obstructions)
ภาวะลำไส้อืด (Nonmechanical Obstructions)
การวินิจฉัยลำไส้อุดตัน
การรักษาลำไส้อุดตัน
การรักษาลำไส้อุดตันบางส่วน
การรักษาลำไส้อุดตันทั้งหมด
การรักษาภาวะลำไส้อืด
ภาวะแทรกซ้อนของลำไส้อุดตัน
การป้องกันลำไส้อุดตัน