Illness name: hypomagnesemia ภาวะแมกนีเซียมในเลือ
Description: Hypomagnesemia (ภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ) เกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีระดับของแมกนีเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เกร็ง สั่น หรือกระตุก มีอารมณ์หงุดหงิด และนอนไม่หลับ เนื่องจากแมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ หัวใจ และระบบประสาท โดยภาวะนี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น บริโภคอาหารที่มีแมกนีเซียมน้อยเกินไป อาเจียน ท้องเสีย ติดสุรา หรือใช้ยาบางชนิด เป็นต้น หากมีระดับแมกนีเซียมต่ำกว่าปกติเพียงเล็กน้อยอาจไม่ทำให้เกิดอาการใด ๆ แต่หากแมกนีเซียมลดต่ำลงเรื่อย ๆ อาจส่งผลให้มีอาการบางอย่างตามมา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนแรง เบื่ออาหาร เป็นต้น ทั้งนี้ หากระดับแมกนีเซียมลดต่ำลงมากขึ้น อาจพบอาการดังต่อไปนี้ สาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะ Hypomagnesemia มีดังนี้ ในเบื้องต้นแพทย์จะวินิจฉัยโดยสอบถามเกี่ยวกับอาการ ประวัติสุขภาพของผู้ป่วย โรคประจำตัว และยาที่กำลังใช้อยู่ รวมไปถึงตรวจร่างกายผู้ป่วย โดยแพทย์อาจทดสอบเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย เช่น ภาวะ Hypomagnesemia สามารถรักษาได้โดยให้ผู้ป่วยรับแมกนีเซียมเสริม หรือเพิ่มการรับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียม เช่น ผักปวยเล้ง อัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ นมถั่วเหลือง ธัญพืชเต็มเมล็ด กล้วย อะโวคาโด เป็นต้น โดยในรายที่มีอาการไม่รุนแรง แพทย์อาจให้ผู้ป่วยรับประทานแมกนีเซียมเสริมในรูปแบบยาเม็ด ส่วนในรายที่มีอาการระดับปานกลางถึงระดับที่เป็นอันตรายถึงชีวิต หรือมีอาการรุนแรงอย่างอาการชัก แพทย์อาจต้องให้แมกนีเซียมผ่านทางหลอดเลือดดำ หากภาวะ Hypomagnesemia และโรคที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะนี้ไม่ได้รับการรักษา ร่างกายอาจมีระดับแมกนีเซียมต่ำอย่างรุนแรง ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอันตรายอย่างหัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจหดเกร็ง ชัก หรือกระทั่งเสียชีวิตอย่างฉับพลันได้ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะ Hypomagnesemia สามารถป้องกันได้ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้ความหมาย ภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ (Hypomagnesemia)
อาการของภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ
สาเหตุของภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ
การวินิจฉัยภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ
การรักษาภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ
ภาวะแทรกซ้อนของภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ
การป้องกันภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ