Illness name: lymphedema
Description: Lymphedema หรือภาวะบวมน้ำเหลือง คือ อาการบวมที่เกิดจากการสะสมของน้ำเหลืองในชั้นใต้ผิวหนังเนื่องจากระบบน้ำเหลืองถูกอุดกั้น ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำเหลืองออกไปได้ โดยมักพบอาการบวมได้บ่อยบริเวณแขนและขา แต่อาจเกิดขึ้นได้ที่บริเวณอื่นของร่างกาย เช่น ใบหน้า ลำคอ หน้าท้อง หรืออวัยวะเพศ เป็นต้น อาการบวมจากการคั่งของน้ำเหลืองอาจเกิดขึ้นจากความผิดปกติของต่อมน้ำเหลืองหรือเกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองออกเพื่อรักษาโรคมะเร็ง โดยอาการบวมอาจเกิดอย่างฉับพลันหรือค่อย ๆ บวมขึ้นในช่วง 2-3 เดือน แม้จะยังไม่มีวิธีรักษาที่แน่ชัด แต่หากได้รับการวินิจฉัยเร็วและมีการดูแลที่เหมาะสมก็จะช่วยบรรเทาอาการและป้องกันอาการแย่ลงได้ Lymphedema อาจส่งผลให้เกิดอาการ ดังนี้ อาการบวมอาจเกิดขึ้นช้า ๆ และมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ โดยอาการบวมที่เป็นภาวะแทรกซ้อนจากการรักษามะเร็งอาจเกิดขึ้นหลังได้รับการรักษาเป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปี ทั้งนี้ หากมีอาการบวมต่อเนื่องโดยไม่หายไป หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Lymphedema มาก่อนและพบว่าบริเวณที่บวมมีขนาดใหญ่ขึ้น ควรไปพบแพทย์ เนื่องจากอาจเป็นสัญญาณของการเกิด Lymphedema ซ้ำ ระบบน้ำเหลืองเป็นระบบการทำงานที่สำคัญในร่างกายและเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน โดยภายในระบบน้ำเหลืองจะประกอบด้วย ต่อมน้ำเหลือง ท่อน้ำเหลือง และอวัยวะต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ร่วมกันในการหมุนเวียนน้ำเหลืองในร่างกาย และมีเซลล์ลิมโฟไซต์ (Lymphocytes) ที่อยู่ในระบบน้ำเหลืองช่วยทำลายและกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ออกจากร่างกาย การอุดตันในระบบน้ำเหลืองจะทำให้ไม่สามารถระบายน้ำเหลืองออกไปในบางบริเวณได้ โดยภาวะบวมน้ำเหลืองมักพบที่บริเวณแขนหรือขา สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือประเภทปฐมภูมิ (Primary Lymphedema) และประเภททุติยภูมิ (Secondary Lymphedema) ซึ่งพบได้บ่อยกว่าประเภทแรก Lymphedema แบบปฐมภูมิเป็นประเภทที่พบได้ยาก โดยเกิดจากความผิดปกติในระบบน้ำเหลืองเอง ไม่มีโรคหรือภาวะอื่น ๆ มาทำให้เกิดขึ้น มักได้รับถ่ายทอดทางพันธุกรรมเกี่ยวกับความผิดปกติของพัฒนาการของท่อน้ำเหลือง แบ่งออกเป็นประเภทย่อยได้ดังนี้ Lymphedema แบบทุติยภูมิเกิดจากความเสียหายของต่อมน้ำเหลืองหรือท่อน้ำเหลืองจากสภาวะของโรคอื่น หรือเกิดจากกระบวนการรักษาต่าง ๆ เช่น นอกจากนี้ Lymphedema ยังอาจเกิดในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงบางอย่าง เช่น อายุที่มากขึ้น ภาวะน้ำหนักเกิน โรคอ้วน และโรคข้ออักเสบบางชนิด อย่างโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์หรือโรคสะเก็ดเงินข้ออักเสบ (Psoriatic Arthritis) เป็นต้น แพทย์จะสอบถามอาการ ประวัติสุขภาพของผู้ป่วยและคนในครอบครัว เพื่อวินิจฉัยในกรณีที่มีอาการของ Lymphedema จากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม จากนั้นแพทย์จะตรวจร่างกายเบื้องต้นเพื่อตัดสาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องกับ Lymphedema ออก อย่างอาการบวมน้ำ ที่เกิดจากภาวะหัวใจล้มเหลว ไตวาย ลิ่มเลือดอุดตัน หรือภาวะอื่น ๆ รวมถึงตรวจสอบประวัติการเข้ารับการผ่าตัดเพื่อรักษามะเร็งที่อาจเกี่ยวข้องกับต่อมน้ำเหลืองตามอาการที่เกิดขึ้น หากสาเหตุการเกิด Lymphedema ไม่แน่ชัด แพทย์อาจตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีต่อไปนี้ Lymphedema เป็นภาวะที่ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ การรักษาจึงเน้นไปที่การลดอาการบวม ควบคุมอาการเจ็บปวด และป้องกันอาการแย่ลง ทั้งนี้ ภาวะบวมน้ำเหลืองมักเกิดจากโรคอื่นมาทำให้เกิดอาการ (Secondary Lymphedema) การรักษาอย่างตรงจุดจากโรคต้นกำเนิดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นได้ ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ด้วยวิธีต่อไปนี้ ในกรณีที่ Lymphedema เกิดจากการติดเชื้อของผิวหนังหรือเนื้อเยื่อ แพทย์อาจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการลุกลามของเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด และแพทย์จะเฝ้าสังเกตการติดเชื้อในบริเวณที่มีอาการ ในกรณีที่ผู้ป่วยติดเชื้อโรคเท้าช้าง แพทย์อาจสั่งจ่ายยาไดเอทธิลคาร์บามาซีน (Diethylcarbamazine) เพื่อรักษาโรคเท้าช้างร่วมกับการรักษา Lymphedema วิธีการอื่นที่อาจใช้รักษา Lymphedema มีดังนี้ Lymphedema ที่บริเวณแขนหรือขา อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงดังนี้ แม้ว่า Lymphedema ชนิดปฐมภูมิจะไม่สามารถป้องกันได้ แต่ Lymphadema ชนิดทุติยภูมิสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดอาการได้ เช่น ผู้ป่วยที่รับการรักษาโรคมะเร็งควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับกระบวนการรักษามะเร็งอย่างการฉายรังสี ที่อาจเสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบต่อต่อมน้ำเหลืองหรือท่อน้ำเหลือง รวมไปถึงยังสามารถป้องกันด้วยวิธีการอื่น ๆ เช่น ความหมาย Lymphedema
อาการของ Lymphedema
สาเหตุของ Lymphedema
ภาวะบวมน้ำเหลืองแบบปฐมภูมิ (Primary Lymphedema)
ภาวะบวมน้ำเหลืองแบบทุติยภูมิ (Secondary Lymphedema)
การวินิจฉัย Lymphedema
การรักษา Lymphedema
การดูแลตนเองที่บ้าน
การรักษาด้วยการใช้ยา
การรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ
ภาวะแทรกซ้อน Lymphedema
การป้องกัน Lymphedema