Illness name: deep vein thrombosis
Description: Deep Vein Thrombosis (DVT) เป็นภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำลึกของร่างกาย มักเกิดขึ้นที่บริเวณต้นขาหรือน่อง ทำให้เกิดอาการปวด บวม หรือกดบริเวณขาแล้วรู้สึกเจ็บ แต่ในบางกรณี อาจไม่มีอาการใด ๆ แสดงให้เห็น Deep Vein Thrombosis อาจเป็นผลจากภาวะทางสุขภาพ การผ่าตัด หรือการได้รับอุบัติเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายเป็นเวลานาน จึงทำให้เกิดการกดทับหรือหลอดเลือดดำได้รับความเสียหายจนทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตัน ทั้งนี้ หากลิ่มเลือดหลุดไปอุดกั้นในปอด (Pulmonary Embolism) อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ DVT จึงเป็นภาวะรุนแรงที่ควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ผู้ป่วยกว่าครึ่งอาจไม่มีอาการใด ๆ แสดงให้เห็น แต่อาการที่พบได้บ่อยของผู้ป่วย Deep Vein Thrombosis ได้แก่ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการลิ่มเลือดอุดตันบริเวณแขน (Upper Extremity DVT) ซึ่งอาจทำให้รู้สึกปวดคอ ปวดไหล่ ผิวหนังมีสีเขียวคล้ำ แขนและมือบวม อาการเจ็บปวดอาจลามจากต้นแขนมาสู่ปลายแขน หรือรู้สึกมืออ่อนแรงลง หากมีอาการใด ๆ ของ Deep Vein Thrombosis หรืออาการผิดปกติอื่นร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาจเป็นสัญญาณอันตรายของการเกิดภาวะแทรกซ้อน Deep Vein Thrombosis เกิดจากลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำลึก ทำให้เลือดไม่ไหลเวียนไปเลี้ยงร่างกายได้ตามปกติ โดยมักเกิดการอุดตันบริเวณขา เชิงกราน หรือแขน ซึ่งการอุดตันของลิ่มเลือดเกิดได้จากหลายปัจจัยดังนี้ นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงอื่นที่อาจทำให้เกิด Deep Vein Thrombosis ได้แก่ ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน การสูบบุหรี่ คนในครอบครัวหรือตนเองมีประวัติของโรคนี้มาก่อน และผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี แพทย์จะวินิจฉัย Deep Vein Thrombosis โดยสอบถามอาการ ประวัติสุขภาพ และตรวจร่างกายเบื้องต้น ด้วยการตรวจดูบริเวณที่มีอาการปวดบวมหรือแดง นอกจากนี้ แพทย์อาจวินิจฉัยด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค ดังนี้ การรักษา Deep Vein Thrombosis จะเน้นไปที่การป้องกันลิ่มเลือดที่อุดตันขยายใหญ่ขึ้นหรือแตกออก เพราะอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย อย่างโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคซ้ำอีกในภายหลัง โดยแพทย์อาจใช้วิธีการรักษาดังต่อไปนี้ หลังจากวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีอาการของโรค Deep Vein Thrombosis แพทย์จะให้รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดเพื่อบรรเทาอาการและลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อน ร่วมกับการดูแลตนเองตามคำแนะนำต่อไปนี้ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulants) เป็นยาที่นิยมนำมาใช้รักษาภาวะ Deep Vein Thrombosis มากที่สุด ซึ่งผู้ป่วยอาจได้รับในรูปแบบยารับประทานหรือยาฉีด เพื่อลดการจับตัวกันของเลือดเป็นลิ่มเลือด แพทย์อาจฉีดยาเฮพาริน (Heparin) เข้าทางหลอดเลือดดำ หรือฉีดยากลุ่มอนุพันธ์เฮพาริน (LMWHs) ใต้ผิวหนัง เช่น ยาอีนอกซาพาริน (Enoxaparin) ยาดาลเทพาริน (Dalteparin) หรือยาฟอนดาพารินุกซ์ (Fondaparinux) นอกจากนี้ แพทย์อาจให้ยาชนิดรับประทานแก่ผู้ป่วย เช่น ยาวาร์ฟาริน (Warfarin) ยาไรวาร็อกซาแบน (Rivaroxaban) หรือยาอะพิซาแบน (Apixaban) ซึ่งควรรับประทานยาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3–6 เดือน หรือตามที่แพทย์สั่ง เพื่อประสิทธิภาพของการรักษาและลดความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงจากยา ในกรณีที่ลิ่มเลือดอุดตันในตำแหน่งสำคัญหรือสงสัยว่ามีลิ่มเลือดอุดตันที่ปอดร่วมด้วย แพทย์อาจให้ยาละลายลิ่มเลือด (Thrombolytics) ผ่านทางการฉีดเข้าสู่หลอดเลือดดำ หรือให้ผ่านทางท่อที่สอดเข้าไปเพื่อช่วยสลายลิ่มเลือดอุดตันได้โดยตรง เป็นวิธีที่มักใช้รักษาผู้ป่วยที่มีลิ่มเลือดอุดตันขนาดใหญ่ หรือใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงเท่านั้น เนื่องจากอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด แพทย์อาจใช้วิธีวางตะแกรงกรองลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำใหญ่บริเวณหน้าท้อง (Vena Cava) เพื่อป้องกันลิ่มเลือดหลุดจากหลอดเลือดดำไปอุดกั้นหลอดเลือดแดงในปอด ทั้งนี้ การรักษาด้วยการวางตะแกรงกรองลิ่มเลือดควรใช้ในระยะสั้นจนกว่าความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันจะลดลงหรือผู้ป่วยสามารถรับประทานยาได้ แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยผ่าตัดเอาลิ่มเลือดที่อุดตันออกหากมีลิ่มเลือดขนาดใหญ่อุดตันในหลอดเลือด หรือมีอาการร้ายแรง อย่างลิ่มเลือดที่อุดตันไปทำลายเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง ในบางกรณีแพทย์อาจใช้บอลลูนหรือขดลวดตาข่าย (Stent) ช่วยขยายหลอดเลือดชั่วคราวขณะผ่าตัด อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมาได้ เช่น การติดเชื้อ ความเสียหายของหลอดเลือด หรือเลือดออกหลังการผ่าตัด เป็นต้น ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย Deep Vein Thrombosis ที่พบได้บ่อยที่สุดคือ โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ซึ่งเกิดจากลิ่มเลือดที่อุดตันบริเวณหลอดเลือดขาหลุดไปอุดกั้นหลอดเลือดปอด เป็นภาวะที่อาจเกิดขึ้นได้ทันทีหลังลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำหรืออาจเกิดขึ้นในภายหลัง โดยผู้ป่วยอาจพบอาการดังต่อไปนี้ Deep Vein Thrombosis อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจล้มเหลว ความดันโลหิตในปอดสูง และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต จึงควรรีบไปพบแพทย์ทันที นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น อย่างอาการหลังภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือด (Post-Thrombotic Syndrome) ผู้ป่วยอาจมีอาการปวด บวม ผิวหนังมีสีคล้ำ มีแผลที่ผิวหนัง และเส้นเลือดขอด ซึ่งเป็นอาการที่ส่งผลต่อเนื่องในระยะยาว Deep Vein Thrombosis สามารถป้องกันได้ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ความหมาย Deep Vein Thrombosis (ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ)
อาการของ Deep Vein Thrombosis
สาเหตุของ Deep Vein Thrombosis
การวินิจฉัย Deep Vein Thrombosis
การรักษา Deep Vein Thrombosis
การดูแลตนเอง
การรักษาโดยการใช้ยา
การวางตะแกรงกรองลิ่มเลือด (Filters)
การผ่าตัด
ภาวะแทรกซ้อนของ Deep Vein Thrombosis
การป้องกัน Deep Vein Thrombosis