Illness name: hydrocephalus
Description: Hydrocephalus หรือภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ เป็นภาวะที่มีน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังในโพรงสมองมากเกินไป ทำให้โพรงสมองมีขนาดใหญ่ เกิดการกดทับและทำลายเนื้อสมอง เป็นเหตุให้การทำงานของสมองผิดปกติ จนพัฒนาการของร่างกายและสติปัญญาบกพร่อง โดยทั่วไป Hydrocephalus มักเกิดขึ้นกับเด็กทารกและผู้สูงอายุ ผู้ป่วยภาวะนี้จะมีอาการแตกต่างกันไปตามชนิดของ Hydrocephalus และช่วงอายุของผู้ป่วย ดังนี้ Hydrocephalus ในเด็กหรือผู้ใหญ่ นอกจากนี้ อาจมีอาการอื่น ๆ เกิดขึ้นร่วมกับปวดศีรษะด้วย ดังนี้ ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำชนิดความดันปกติ หรือ Hydrocephalus ในผู้สูงอายุ (Normal Pressure Hydrocephalus) สาเหตุของ Hydrocephalus ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่มักมีสาเหตุจากอาการเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บที่กระทบต่อสมอง ทำให้เกิดการอุดตันในสมองจนน้ำสมองไม่สามารถระบายไปส่วนต่าง ๆ ได้ สมองผลิตน้ำหล่อเลี้ยงออกมามากเกินไป หรือหลอดเลือดสมองอาจไม่สามารถดูดซับน้ำสมองได้ตามปกติจนเกิดภาวะ Hydrocephalus ปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของ Hydrocephalus แต่ละชนิด มีดังนี้ Hydrocephalus ในเด็กหรือผู้ใหญ่ Hydrocephalus ในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยวัยนี้มักเผชิญภาวะ Hydrocephalus ชนิดความดันปกติ โดยหาสาเหตุไม่ได้ แต่อาจเกิดจากปัจจัยดังต่อไปนี้ ในกรณีเด็ก แพทย์จะตรวจหาภาวะตาโหล การตอบสนองช้า หรืออาการกระหม่อมโป่งพอง และวัดเส้นรอบศีรษะว่ามีขนาดใหญ่กว่าเกณฑ์อายุของเด็กหรือไม่ ส่วนผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ แพทย์จะสอบถามอาการที่เกิดขึ้น และอาจตรวจร่างกายทางระบบประสาท เช่น ตรวจสมรรถภาพการทำงานของกล้ามเนื้อ การทำงานของประสาทสัมผัส การเคลื่อนไหว และสภาวะทางจิต หลังจากนั้น แพทย์อาจส่งตรวจวินิจฉัย Hydrocephalus ด้วยวิธีอื่นต่อไป ดังนี้ Hydrocephalus รักษาได้ด้วยการผ่าตัด เพื่อลดแรงกดของสมอง และระบายของเหลวในสมองออกไป ดังนี้ นอกจากนี้ ผู้ป่วย Hydrocephalus ที่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง อาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากนักกิจกรรมบำบัด นักสังคมสงเคราะห์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคสมองเสื่อม หรือผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ด้านอื่น ๆ ด้วย ผู้ป่วย Hydrocephalus อาจมีภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวที่ยากต่อการระบุอาการได้ โดยอาการที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ ส่วนผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ที่เคยมีปัญหาด้านการจำหรือทักษะการคิด โดยทั่วไปมักจะฟื้นฟูให้หายเป็นปกติได้ยาก และอาการเหล่านั้นอาจยังคงอยู่ แม้หลังรับการรักษา Hydrocephalus ไปแล้วก็ตาม นอกจากนี้ การผ่าตัดรักษาภาวะ Hydrocephalus ก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ เช่น หากรักษาด้วยการผ่าตัดไม่ได้ผล ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจต้องผ่าตัดแก้ไขหรือรักษาด้วยวิธีอื่นตามดุลยพินิจของแพทย์ โดยอาการที่เป็นสัญญาณของภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ได้แก่ Hydrocephalus เป็นอาการป่วยที่ป้องกันได้ยาก เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด อย่างไรก็ตาม วิธีต่อไปนี้อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้ได้ ความหมาย ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ (Hydrocephalus)
อาการภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ
Hydrocephalus ในเด็กหรือผู้ใหญ่มักทำให้ผู้ป่วยปวดศีรษะ และมีอาการปวดที่รุนแรงขึ้นหลังตื่นนอน เนื่องจากน้ำในสมองระบายได้ไม่ดีในท่านอน และอาจมีการคั่งน้ำเพิ่มมากขึ้นขณะนอนหลับ แม้การลุกขึ้นนั่งครู่หนึ่งหลังตื่นนอนอาจช่วยให้อาการปวดดีขึ้น แต่ต่อมาผู้ป่วยอาจปวดศีรษะอย่างต่อเนื่องได้
ภาวะนี้มักเกิดในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี โดยมีอาการที่ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย ดังนี้
สาเหตุของภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ
การวินิจฉัยภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ
แพทย์มักตรวจวินิจฉัยด้วย ซีที สแกน (CT Scan) ซึ่งเป็นการเอกซเรย์และสร้างภาพสมองด้วยคอมพิวเตอร์ หรือเอ็มอาร์ไอ สแกน (MRI Scan) ซึ่งเป็นการใช้คลื่นวิทยุร่วมกับคลื่นสนามแม่เหล็กแรงสูงฉายภาพอวัยวะภายในร่างกาย การสแกนสมองจะแสดงภาพของเหลวที่ก่อตัวขึ้นในสมอง แรงกดที่เพิ่มขึ้น และโครงสร้างของสมองที่บกพร่อง
ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำที่เกิดในผู้สูงอายุอาจวินิจฉัยได้ยาก เนื่องจากมีอาการเปลี่ยนแปลงทีละน้อย และมีอาการคล้ายกับโรคอื่น ๆ เช่น โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's Disease) ซึ่งเป็นโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่ง อย่างไรก็ตาม แพทย์จะประเมินอาการของผู้ป่วยโดยวิเคราะห์จากหลายปัจจัย เช่น ผลการสแกนสมอง ลักษณะท่าทางในการเดิน การควบคุมระบบขับถ่ายปัสสาวะ และความสามารถทางปัญญาการรักษาภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ
ภาวะแทรกซ้อนของภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ
การป้องกันภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ