Illness name: ภาวะเลือดออกในข้อ hemarthrosis
Description: Hemarthrosis หรือภาวะเลือดออกในข้อ เป็นภาวะที่หลอดเลือดภายในข้อต่อได้รับความเสียหายทำให้มีเลือดออกหรือมีเลือดคั่งบริเวณข้อ มักเกิดที่ข้อต่อบริเวณหัวไหล่หรือหัวเข่า ผู้ที่มีภาวะ Hemarthrosis จะมีอาการเจ็บปวด บวม และช้ำบริเวณข้อ รวมถึงอาจส่งผลต่อการเคลื่อนไหวร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ภาวะ Hemarthrosis มักเกิดขึ้นหลังจากได้รับการบาดเจ็บหรือเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงเป็นอาการแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ (Bleeding Disorders) เช่น ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) หรือโรคเลือดไหลไม่หยุดด้วย ระดับความรุนแรงของภาวะ Hemarthrosis มีตั้งแต่ระดับปานกลางไปจนถึงรุนแรง โดยอาการจะยิ่งรุนแรงขึ้นถ้ามีเลือดออกในปริมาณมาก อาการที่พบได้บ่อยมีดังนี้ ภาวะ Hemarthrosis จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม หากมีอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์ โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ Hemarthrosis ได้ง่าย ภาวะ Hemarthrosis สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย โดยเฉพาะภาวะที่ทำให้การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เช่น ภาวะสุขภาพอื่น ๆ ที่อาจนำไปสู่การเกิดภาวะ Hemarthrosis การวินิจฉัย Hemarthrosis การวินิจฉัย Hemarthrosis ในเบื้องต้น แพทย์จะถามประวัติทางการแพทย์ อาการบาดเจ็บล่าสุด ประวัติการเป็นโรคฮีโมฟีเลียของคนในครอบครัว และตรวจบริเวณข้อที่มีอาการเจ็บปวด บวม หรือฟกช้ำ รวมถึงมีการวินิจฉัยด้วยวิธีอื่น ๆ เพื่อหาสาเหตุของการเกิดภาวะ Hemarthrosis และวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม เช่น วิธีการรักษา Hemarthrosis ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ด้วย ในกรณีที่สาเหตุการเกิดภาวะนี้มาจากอาการบาดเจ็บทั่วไป แพทย์จะเน้นการรักษาไปที่การบรรเทาความเจ็บปวดและลดอาการบวม ในกรณีที่เป็นภาวะแทรกซ้อนของผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ การรักษาจะเน้นไปที่การหยุดการไหลของเลือดเป็นหลัก การรักษาเบื้องต้นสามารถทำได้โดยการปฐมพยาบาลเพื่อลดอาการบาดเจ็บและอาการบวมตามหลักการ RICE ซึ่งย่อมาจาก แพทย์อาจจะจ่ายยาที่ออกฤทธิ์ช่วยให้เลือดแข็งตัวในผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ เช่น กรดทรานเอกซามิก (Tranexamic Acid) จะช่วยยับยั้งการสลายตัวของลิ่มเลือด แต่ยากลุ่มที่ช่วยให้เลือดแข็งตัวยาอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ปัจจุบันมีการรักษาเชิงป้องกันโดยฉีดโปรตีนแฟคเตอร์ที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว (Prophylactic factor replacement therapy) โดยจะให้ในผู้ป่วยฮีโมฟีเลียชนิดรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก ผู้ที่มีภาวะ Hemarthrosis ไม่ควรซื้อยาแก้ปวดรับประทานเอง เพราะยาแก้ปวดที่หาซื้อได้เองหลายชนิดเป็นยาที่ออกฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดหยุดไหลได้ยากขึ้น เช่น ยาแอสไพริน (Aspirin) ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ยานาพรอกเซน (Naproxen) ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น การรักษาด้วยการผ่าตัดจะใช้ในกรณีที่มีภาวะ Hemarthrosis รุนแรง หรือใช้เมื่อวิธีการรักษาอื่นไม่ได้ผล โดยอาจเป็นการผ่าตัดเยื่อหุ้มข้อ (Synovectomy) หรือการผ่าตัดใส่ข้อเทียมเพื่อช่วยลดความเจ็บปวด ทำให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวก และสามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น การทำกายภาพบำบัดเป็นการช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นฟูร่างกายและเคลื่อนไหวอย่างถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อข้อ การทำกายภาพบำบัดอาจใช้เป็นวิธีรักษาเดี่ยว หรือใช้เป็นวิธีรักษาร่วมหลังจากการเจาะระบายน้ำในข้อหรือการผ่าตัดก็ได้ นอกจากนี้ยังมีวิธีบำบัดเพื่อลดความเจ็บปวดด้วยการใช้เครื่องกระตุ้นเส้นประสาทด้วยไฟฟ้าผ่านผิวหนัง (Transcutaneous Electrical Nerve Stimulation: TENS) แต่ไม่นิยมใช้ในการรักษาภาวะนี้ ผู้ป่วยที่มีภาวะ Hemarthrosis เกิดซ้ำหรือรุนแรงอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นกับข้อในระยะยาวได้ เพราะเมื่อมีเลือดออกในข้อจะส่งผลให้เนื้อเยื่อ เส้นเอ็น กล้ามเนื้อเอ็น และกระดูกอ่อนในข้อเกิดความเสียหาย เนื้อเยื่อภายในข้ออาจกลายเป็นพังผืดซึ่งจะส่งผลในระยะยาวทำให้เคลื่อนไหวบริเวณข้อไม่สะดวก อีกทั้งถ้าเกิดภาวะเลือดออกในข้อขึ้นหนึ่งครั้งแล้วจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเลือดออกในข้อซ้ำบริเวณเดิมได้ ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณข้อไม่แข็งแรง ปวดเมื่อยตามข้อแม้แต่ตอนอยู่นิ่ง ๆ ไม่สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้สะดวก และอาจนำไปสู่การเป็นโรคข้อเสื่อมที่มีสาเหตุมาจากกระดูกอ่อนถูกทำลายด้วย เนื่องจากปัจจัยที่ทำให้เกิด Hemarthrosis มักมาจากการบาดเจ็บ การเกิดอุบัติเหตุ หรือจากภาวะแทรกซ้อนของโรคฮีโมฟีเลีย การป้องกันจึงเน้นไปที่การระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บบริเวณข้อ และการลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดเลือดออกในผู้ที่เป็นโรคฮีโมฟีเลีย เช่นความหมาย ภาวะเลือดออกในข้อ (Hemarthrosis)
อาการ Hemarthrosis
สาเหตุของ Hemarthrosis
การรักษา Hemarthrosis
การรักษาเบื้องต้น
การรักษาด้วยยา
การรักษาด้วยการผ่าตัด
การทำกายภาพบำบัด
ภาวะแทรกซ้อนของ Hemarthrosis
การป้องกัน Hemarthrosis
สวมอุปกรณ์ป้องกันและจัดระเบียบร่างกายให้อยู่ในลักษณะที่ถูกต้องเมื่อเล่นกีฬา เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ