Illness name: ปวดตา
Description: ปวดตา เป็นอาการเจ็บปวดในดวงตาที่ผู้ป่วยอาจรู้สึกแสบร้อน ปวดตุบ ๆ รอบดวงตา รู้สึกคล้ายโดนทิ่มแทงบริเวณดวงตา หรือรู้สึกเหมือนมีวัตถุแปลกปลอมอยู่ในดวงตา ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติบนพื้นผิวของดวงตาหรือโครงสร้างภายในดวงตา อาการปวดตาเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ตาแห้ง ปวดศีรษะ ตาอักเสบ และเป็นไข้หวัด อาการส่วนใหญ่อาจหายได้เอง แต่หากอาการรุนแรงหรือเกิดภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์ตามแต่กรณี อาการปวดตาอาจครอบคลุมถึงอาการเจ็บเหมือนโดนทิ่มแทง แสบร้อน ปวดตุบ ๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของดวงตา เช่น กระจกตา เยื่อตา ม่านตา กล้ามเนื้อดวงตา เส้นประสาทในตา เบ้าตา ลูกตา และหนังตา นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่น ๆ ปรากฏขึ้นร่วมกับอาการปวดตาได้ เช่น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์ทันทีหากปวดตาอย่างรุนแรงโดยเฉพาะเมื่อขยับลูกตา ปวดตานานเกิน 2 วัน มีปัญหาในการกลอกตา ลืมตา หรือหลับตา รอบดวงตาหรือดวงตาบวมแดง มองเห็นแสงกระจายเป็นรัศมี มองเห็นไม่ชัด ปวดตาจากสารเคมีหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าตา ปวดตาร่วมกับคลื่นไส้หรืออาเจียน หรือมีโรคประจำตัวเรื้อรังอยู่ก่อน เช่น โรคข้ออักเสบ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน อาการปวดตาอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาทิ อาการเจ็บป่วยหรือสาเหตุอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามถึงระยะเวลาที่เริ่มปวดตา และอาการอื่น ๆ ที่เป็นร่วมกับอาการปวดตา เช่น อาการไวต่อแสง คลื่นไส้ หรืออาเจียน ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากสวมแว่นหรือคอนแทคเลนส์ เคยผ่าตัดดวงตา หรือเคยได้รับบาดเจ็บบริเวณดวงตา และควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงยาที่ใช้ และอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ก่อนเริ่มรับการวินิจฉัย หลังจากนั้นแพทย์อาจวัดสายตา โดยให้ผู้ป่วยอ่านตัวเลขและตัวหนังสือบนแผ่นตรวจตา เพื่อตรวจการมองเห็นของสายตาทั้ง 2 ข้าง หากแพทย์วินิจฉัยว่าอาการของผู้ป่วยรุนแรงมากกว่าอาการตาแดงหรือตาอักเสบ ผู้ป่วยอาจถูกส่งตัวไปพบจักษุแพทย์ต่อไป เพื่อรับการวินิจฉัยด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น วิธีรักษาอาการปวดตาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ หากอาการไม่รุนแรงมาก ผู้ป่วยอาจดูแลตนเองได้ด้วยวิธีต่อไปนี้ หากดูแลตนเองในเบื้องต้นแล้วอาการไม่ทุเลาลงหรือรุนแรงยิ่งขึ้น ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยสาเหตุ และรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น ใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาสเตียรอยด์ และผ่าตัดเพื่อรักษาแผลไหม้ แผลที่เกิดจากความเสียหายของดวงตาจากวัตถุหรือมีสิ่งแปลกปลอมในดวงตา ซึ่งเป็นกรณีที่พบได้ไม่บ่อยนัก โดยปกติ อาการปวดตามักไม่รุนแรง อาการอาจหายได้เองหรือบรรเทาอาการได้เองที่บ้าน แต่หากอาการรุนแรงขึ้นแล้วไม่ได้รับการตรวจรักษาอย่างเหมาะสม อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น หรืออาจตาบอดได้ เนื่องจากอาการปวดตาเกิดได้จากหลายสาเหตุ บางสาเหตุไม่สามารถป้องกันได้ แต่บางสาเหตุอาจลดความเสี่ยงได้ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้ พักสายตาจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ หรือคอมพิวเตอร์ทุก 20 นาทีด้วยการมองไปที่ไกล ๆ ในระยะ 6 เมตรนาน 20 วินาทีก่อนกลับมาใช้จออีกครั้ง เพราะการมองหน้าจอเป็นเวลานานจะทำให้เรากะพริบตาน้อยลง และทำให้ตาล้าและตาแห้ง และเลือกใช้จอที่ป้องกันแสงสะท้อน ควรสวมแว่นตาป้องกันดวงตาถลอก ไหม้ และป้องกันวัตถุแปลกปลอมหรือสารเคมีต่าง ๆ เข้าตา โดยเลือกประเภทของแว่นตาให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ใช้แว่นนิรภัยเมื่อต้องตัดหญ้า ทำความสะอาดของใช้ในครัวเรือน หรือขณะใช้ผงซักฟอก ส่วนผู้ที่ทำงานก่อสร้าง เชื่อมโลหะ ทำงานเกี่ยวกับยานยนต์ หรือสารเคมีอันตรายอย่างยากำจัดแมลง ควรสวมแว่นตานิรภัยที่ออกแบบโดยเฉพาะ ควรทำความสะอาดคอนแทคเลนส์อย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์นานเกินไป และควรสลับใส่แว่นตาบ้างบางครั้งเพื่อพักสายตา ผู้ที่เป็นภูมิแพ้ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือเข้าใกล้สารที่ก่ออาการแพ้ เพราะอาจกระตุ้นให้เกิดการระคายเคืองและปวดตาได้ สารเคมีในบุหรี่อาจสร้างความเสียหายต่อเส้นประสาทตา ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดต้อกระจกและจอประสาทตาเสื่อมในระยะยาว รับประทานอาหารให้หลากหลายและมีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินที่ดีต่อดวงตา เช่น หากรับประทานอาหารที่ประกอบด้วยสารอาหารบำรุงสายตาไม่เพียงพอ อาจพิจารณาเสริมด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสารอาหารเหล่านี้ โดยปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนรับประทานเสมอ โรคที่เกี่ยวข้องกับดวงตาบางโรค เช่น โรคต้อหิน อาจไม่ปรากฏอาการใด ๆ เลยในช่วงแรก การตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำอาจช่วยให้แพทย์ตรวจพบและรักษาโรคดังกล่าวได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นความหมาย ปวดตา
อาการปวดตา
สาเหตุของอาการปวดตา
การวินิจฉัยอาการปวดตา
การรักษาอาการปวดตา
ภาวะแทรกซ้อนจากอาการปวดตา
การป้องกันอาการปวดตา
พักสายตา
สวมแว่นตาป้องกัน
ทำความสะอาดคอนแทคเลนส์
หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้
เลิกบุหรี่
เสริมสารอาหารที่มีประโยชน์
พบจักษุแพทย์เป็นระยะ