Illness name: ไตรกลีเซอไรด์สูง
Description: ไตรกลีเซอไรด์สูง (High Triglycerides) เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งเป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้น หรืออาจมาจากการรับประทานอาหารบางประเภท เช่น น้ำมัน เนย หรือไขมันต่าง ๆ เป็นต้น หากมีไตรกลีเซอไรด์สูงและไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคหัวใจขาดเลือดได้
โดยทั่วไปผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการใด ๆ อย่างชัดเจน แต่อาจมีอาการผิดปกติปรากฏให้เห็นได้เมื่อระดับไตรกลีเซอไรด์สูงจนเกิดโรคหรือภาวะที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ผู้ป่วยอาจมีอาการของโรคหัวใจอย่างเจ็บหน้าอก คลื่นไส้ และอ่อนเพลีย เป็นต้น สาเหตุของภาวะไตรกลีเซอไรด์สูงยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น แพทย์จะวินิจฉัยไตรกลีเซอไรด์สูงด้วยการซักประวัติและการตรวจเลือดเป็นหลัก โดยการตรวจเลือดจะถูกรวมอยู่ในการตรวจระดับไขมันในเลือด (Lipid Profile) ซึ่งจะทำให้ทราบถึงระดับไขมันคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ได้ในคราวเดียวกัน แต่บางกรณีอาจมีการทดสอบอื่น ๆ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยเพิ่มเติม เช่น การตรวจยีน Apolipoprotein E (APOE) ในผู้ป่วยที่แพทย์สงสัยว่าอาจมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงจากกรรมพันธุ์ เป็นต้น ทั้งนี้ ผลการตรวจเลือดที่ได้จะถูกนำไปเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้ ทั้งนี้ โดยทั่วไปแพทย์จะตรวจระดับไตรกลีเซอไรด์อยู่เสมอเมื่อผู้ป่วยเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีหรือเมื่อไปพบแพทย์ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ เช่น สูบบุหรี่ น้ำหนักตัวมาก ขาดการออกกำลังกาย ความดันโลหิตสูง เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดหรือโรคหัวใจชนิดอื่น ๆ โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ หรือโรคไต ก็ควรได้รับการตรวจวัดระดับไตรกลีเซอไรด์เป็นประจำด้วย การรักษาภาวะไตรกลีเซอไรด์สูงอาจทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการใช้ยารักษา ดังนี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลดลง โดยแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยลองปรับพฤติกรรมตามคําแนะนํา ดังนี้ หากผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตแล้วอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจต้องรักษาด้วยการใช้ยาควบคู่ไปด้วย โดยยาที่ใช้แบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม เช่น หากมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูง อาจทำให้ผนังของหลอดเลือดแดงหนาขึ้นหรือหลอดเลือดแดงเกิดการแข็งตัว ซึ่งผู้ที่มีภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงโดยเฉพาะตั้งแต่ 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป อาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะ โรคอ้วน และภาวะตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ภาวะไตรกลีเซอไรด์สูงสามารถป้องกันได้โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางส่วนตามคำแนะนำ ดังนี้ความหมาย ไตรกลีเซอไรด์สูง
อาการของไตรกลีเซอไรด์สูง
สาเหตุของไตรกลีเซอไรด์สูง
การวินิจฉัยไตรกลีเซอไรด์สูง
การรักษาไตรกลีเซอไรด์สูง
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต
การใช้ยา
ภาวะแทรกซ้อนของไตรกลีเซอไรด์สูง
การป้องกันไตรกลีเซอไรด์สูง